เนตร พูนวิวัฒน์

ร้อยตรี เนตร พูนวิวัฒน์ เป็นอดีตหัวหน้าพรรคชาตินิยม (2499-2501)[1] และเป็นนักเขียนเจ้าของผลงานหนังสือ กบฏ ร.ศ. 130 ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน[2][3]

เนตร พูนวิวัฒน์
หัวหน้าพรรคชาตินิยม
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 ธันวาคม พ.ศ. 2434
เสียชีวิต18 ธันวาคม พ.ศ. 2523 (89 ปี)
พรรคการเมืองชาตินิยม

ประวัติ แก้

เนตร พูนวิวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2434 และเขาเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2523 โดยมีงานพระราชทานเพลิงศพ ณ ฌาปนสถานวัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2523[4]

งานการเมือง แก้

เนตร เป็น 1 ใน 7 คณะผู้ก่อการกบฏ ร.ศ. 130 ซึ่งเป็นการกบฏที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2455 วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์พระราชทานรัฐธรรมนูญให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน[5]

เนตร ได้ก่อตั้งพรรคการเมืองโดยจดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 เป็นลำดับที่ 1/2499 ในชื่อ "พรรคชาตินิยม" เขานำทีมสมาชิกลงสมัคร ส.ส. ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 แต่ได้รับเลือกตั้งเพียง 3 คน คือ พึ่ง ศรีจันทร์ จากจังหวัดอุตรดิตถ์ ร้อยตำรวจตรี ชัยชาญ งามสง่า จากจังหวัดเพชรบูรณ์ และ ทอง กันทาธรรม จากจังหวัดแพร่ ส่วนในการเลือกตั้งครั้งต่อมาได้รับเลือกเพียง 1 ที่นั่ง และพรรการเมืองของเขาได้ยุติบทบาทลงเนื่องจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมืองชาตินิยม เก็บถาวร 2018-03-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 73 ตอน 17 ง หน้า 738 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499
  2. หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน บทสรุปโครงการวิจัย
  3. ธนาพล ลิ่มอภิชาต และวริศา กิตติคุณเสรี. (2551, ต.ค.-ธ.ค.). ประวัติศาสตร์และการเมืองของวาทกรรม “หนังสือดี”. อ่าน. 1(3): 38-60.
  4. เผยบันทึกผู้วางแผน “กบฏ ร.ศ.130” เมื่อทหารหนุ่มประชุมลับถามหาอนาคตของประเทศ!
  5. ณัฐนันท์ สอนพรินทร์. เจาะลึก สมาคมลับ กับการปฏิวัติโลก. กรุงเทพ : อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์, พ.ศ. 2550. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7489-88-0
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๕, ๑๖ กันยายน ๒๔๘๔