สงวน ตุลารักษ์ (18 มิถุนายน พ.ศ. 2445 — 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2538) หรือ เตียวเลี่ยงซิม เป็นนักการเมืองไทยและสมาชิกผู้นำของเสรีไทย นายสงวนสืบเชื้อสายมาจากชาวจีน โดยมีเทือกเถาเหล่ากอเป็นชาวแต้จิ๋ว[1]

สงวน ตุลารักษ์
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีทวี บุณยเกตุ
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 มิถุนายน พ.ศ. 2445
เสียชีวิต15 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 (92 ปี)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คณะราษฎร
ขบวนการเสรีไทย
อาชีพนักการเมือง นักการทูต

นายสงวนเป็นผู้ติดตาม นายปรีดี พนมยงค์ มาเป็นเวลานาน และเข้าร่วมกับกลุ่มการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 หลังจากนั้น ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและประธานสำนักงานโรงงานยาสูบในกระทรวงการคลัง

ในปี พ.ศ. 2486 นายสงวนได้เป็นผู้นำคณะผู้แทนที่ถูกส่งโดยผู้นำเสรีไทยเพื่อติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรที่ฉงชิ่ง ความพยายามของนายสงวนพิสูจน์แล้วว่ามีความสำคัญยิ่งในการรับเอาความช่วยเหลือของอังกฤษและสหรัฐอเมริกามาให้กับขบวนการเคลื่อนไหวใต้ดินดังกล่าว ซึ่งในไม่ช้า เสรีไทยก็มีอาวุธและยุทโธปกรณ์มากพอสำหรับปฏิบัติการกองโจรอย่างมีประสิทธิภาพ

ในปี พ.ศ. 2488 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายทวี บุญยเกตุ[2] และในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[3]

ในปี พ.ศ. 2489 ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐจีน และปฏิเสธที่จะเดินทางกลับประเทศไทยหลังจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 โดยประกาศว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายสงวนใช้เวลาอีกสิบปีถัดมาอาศัยอยู่ในจีน จึงเดินทางกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2500 และถูกสั่งจำคุกโดยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2508

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. E. Bruce Reynolds. Thailand's Secret War: The Free Thai, OSS, and SOE. Cambridge University Press. pp. 122–3. ISBN 0521836018.[ลิงก์เสีย]
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 64 ตอนที่ 30 หน้า 1755, 8 กรกฏาคม 2490