หลวงคหกรรมบดี (ชม จารุรัตน์)
อำมาตย์ตรี หลวงคหกรรมบดี (ชม จารุรัตน์) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราว พ.ศ. 2475, คณะกรรมานุการพิจารณาร่างเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (สมุดปกเหลือง), เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร[1] [2], เลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ปลัดกระทรวงคมนาคม,รัฐมนตรี , รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
หลวงคหกรรมบดี (ชม จารุรัตน์) | |
---|---|
รัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 | |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ |
ก่อนหน้า | หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ |
ถัดไป | นาวาเอก หลวงประสิทธิ์จักรการ (พ้วน โหตรภวานนท์) |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 – 8 เมษายน พ.ศ. 2491 | |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ |
ก่อนหน้า | หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ |
ถัดไป | พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิรณชัย สวัสดิเกียรติ |
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 10 ธันวาคม พ.ศ. 2476 – 10 สิงหาคม พ.ศ. 2484 (7 ปี 244 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก พจน์ พหลโยธิน จอมพล ป. พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) |
ถัดไป | ทองเปลว ชลภูมิ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่สมรส | นางภัทรา (สุนทรเวช) |
บุตร | 5 คน |
บุพการี |
|
ประวัติ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หลวงคหกรรมบดี (ชม จารุรัตน์) เป็นบุตรชายคนโตของพระยาศรีสังกร (ตาด จารุรัตน์) ประธานศาลฎีกากับคุณหญิงตาบ (วัชราภัย) ศรีสังกร ธิดาหลวงอุปการโกษากร (เวท วัชราภัย) มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา 3 คน ได้แก่[3]
- หลวงคหกรรมบดี (ชม จารุรัตน์)
- นางทวี (จารุรัตน์) สมรสกับ พระสนิทวงศ์อนุวรรต (ม.ร.ว.พร้อมใจ สนิทวงศ์)
- นายอาณัติ จารุรัตน์ สมรสกับ นางเสงี่ยม (สุนทรธรรม)
การศึกษา
แก้หลวงคหกรรมบดีศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนวัดสุทธิวราราม (เลขประจำตัว ส.ธ. 303) และโรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นสำเร็จวิชารัฐศาสตร์ จากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[4]
การทำงาน
แก้- ดำรงตำแหน่งผู้แทนราษฎรชั่วคราวชุดแรก ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร
- ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2476 [5] - 10 สิงหาคม พ.ศ. 2484 และเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ชุดแรกก่อนมีการจัดตั้งกรมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขึ้นตามกฎหมาย
- ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงคมนาคม ในสมัยนายพันตรีหลวงโกวิทอภัยวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม[6]
- ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ระหว่าง 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 - 27 มีนาคม พ.ศ. 2489
- ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรี ในพ.ศ. 2489 ในคณะรัฐมนตรี คณะที่ 14 สมัยนายควง อภัยวงศ์[7]
- ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2490 ในรัฐบาลของนายพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์[8]
- ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ระหว่างปี พ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2491 ใน คณะรัฐมนตรี คณะที่ 19 สมัยนายควง อภัยวงศ์
- ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ระหว่างปี พ.ศ. 2491 ใน คณะรัฐมนตรี คณะที่ 20 สมัยนายควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรี
กรรมานุการพิจารณาเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ
แก้ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2476 เวลา 08.20 นาฬิกา ที่ห้องประชุมวังปารุสกวัน ซึ่งขณะนั้นคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองใช้เป็นสถานที่ทำงานหลายอย่างของกลุ่มผู้ก่อการ ได้มีการประชุม ‘กรรมานุการ พิจารณาเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ’ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 14 คน ดังมีรายนามต่อไปนี้[9]
- หลวงคหกรรมบดี
- หลวงเดชสหกรณ์
- หลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์
- พันเอกพระยาทรงสุรเดช
- นายทวี บุณยเกตุ
- นายแนบ พหลโยธิน
- หลวงประดิษฐมนูธรรม
- นายประยูร ภมรมนตรี
- พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
- พลเรือโทพระยาราชวังสัน
- นายวิลาศ โอสถานนท์
- พระยาศรีวิศาลวาจา
- หม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ
- หลวงอรรถสารประสิทธิ์
ตำแหน่งพิเศษ
แก้- นายกสมาคมนักเรียนเก่าสุทธิวราราม พ.ศ. 2484 - 2484
งานเขียน
แก้- หน้าที่ในทางเศรษฐกิจแห่งตั๋วแลกเงิน - หลวงคหกรรมบดี (ชม จารุรัตน์) ในวารสารนิติสาส์น (แผนกสามัญ) ปี 2472
- เรื่องราวของพันตรีควง อภัยวงศ์
ครอบครัว
แก้ด้านครอบครัว หลวงคหกรรมบดี ได้สมรสกับ นางสาวภัทรา สุนทรเวช มีบุตรธิดารวม 5 คน ดังนี้[3]
- นางพงษ์ศิริ (จารุรัตน์) สมรสกับ นายผลึก สิงหผลิน
- พล.ต.อ.เสริม จารุรัตน์ อดีตหัวหน้านายตำรวจราชสำนักและสมาชิกวง อ.ส. วันศุกร์ สมรสกับหม่อมเจ้าหญิงวุฒิสวาท วุฒิไชย พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ต่อมาหย่าร้างและสมรสใหม่กับคุณหญิงชโลบล (จุลละรัต)
- นางทวี สนิทวงศ์
- นายกุศล ตีรณสาร
- นายอาณัติ จารุรัตน์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2483 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[10]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ทำเนียบเลขาธิการ - สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- ↑ ประกาศ ตั้งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- ↑ 3.0 3.1 ทำเนียบสายสกุล ณ สงขลา สายเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) - ชมรมสายสกุล ณ สงขลา
- ↑ นรนิติ เศรษฐบุตร. เอกสารการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕.--นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า, ๒๕๕๒[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศ ตั้งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- ↑ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ คอลัมน์: สยามอัศจรรย์: กระทรวงคมนาคมเส้นเลือดใหญ่ด้านขนส่งของไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๑ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ "พระปกเกล้ากษัตริย์นักประชาธิปไตย - จุลสารสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-01-14.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, (ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา รัชกาลที่ 8) เล่ม 57, 1 ตุลาคม พ.ศ. 2483, หน้า 1897.
ก่อนหน้า | หลวงคหกรรมบดี (ชม จารุรัตน์) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) | เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (10 ธันวาคม พ.ศ. 2476 - 10 สิงหาคม พ.ศ. 2484) |
ทองเปลว ชลภูมิ | ||
พลตรีไชย ประทีปะเสน | เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 - 27 มีนาคม พ.ศ. 2489) |
หลวงชำนาญอักษร (ศิริ เพชรบุล) | ||
หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ | รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491) |
นาวาเอก หลวงประสิทธิ์จักรการ (พ้วน โหตรภวานนท์) | ||
หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ | รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 - 8 เมษายน พ.ศ. 2491) |
พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิรณชัย สวัสดิเกียรติ |