รองอำมาตย์โท จรูญ สืบแสง อดีตนักการเมืองชาวไทย และหนึ่งในคณะราษฎร ผู้กระทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นายจรูญ เกิดเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 ที่ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นบุตรของขุนวรเวชวิชกิจ (ซุ้ย สืบเแสง) และนางอุ่น สืบแสง มีศักดิ์เป็นน้องชายของนายเจริญ สืบแสง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดปัตตานี[1]

จรูญ สืบแสง
อธิบดี กรมศุลกากร
ดำรงตำแหน่ง
25 มีนาคม พ.ศ. 2485 – 17 กันยายน พ.ศ. 2486
ก่อนหน้าหลวงกาจสงคราม (กาจ กาจสงคราม)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 กรกฎาคม พ.ศ. 2447
เมืองปัตตานี ประเทศสยาม
เสียชีวิต23 มีนาคม พ.ศ. 2528 (80 ปี)
คู่สมรสเกล็ดมณี สืบแสง (สกุลเดิม บุนนาค)
บุตร5 คน
บุพการี
  • ขุนวรเวชวิชกิจ (ซุ้ย สืบแสง) (บิดา)
  • อุ่น สืบแสง (มารดา)
ศิษย์เก่าโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี
โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
โรงเรียนเทพศิรินทร์

จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี, มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากโรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2466 และสำเร็จการศึกษาได้รับเกษตรศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์แห่งลอส บานอส ประเทศฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2470

นายจรูญ เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการเพาะปลูก กรมเพาะปลูก กระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงเกษตราธิการ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2482 โอนไปรับราชการเป็นสารวัตรใหญ่ กรมศุลกากร ได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศุลกากร เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2485 [2]ถึงวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2486

ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิบดี กรมชลประทาน เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2486 ถึงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2486 และเป็นอธิบดีกรมรถไฟ ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 ได้พ้นจากตำแหน่งประจำกระทรวง และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2488 และเคยเป็น ส.ส.จังหวัดปัตตานี แทนที่นายเจริญ ซึ่งเป็นพี่ชายด้วย

ในทางการเมือง นายจรูญ เป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน เข้าร่วมจากการชักชวนผ่านทาง นายทวี บุณยเกตุ เพื่อนข้าราชการกระทรวงเกษตราธิการ เช่นเดียวกัน โดยในวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง นายจรูญได้นั่งรถที่นายทวีเป็นคนขับ ตระเวนตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วพระนครตั้งแต่เวลา 01.00 น. เพื่อสังเกตการณ์และตรวจตราว่าจะมีอะไรที่เป็นอุปสรรคเกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติการจริงหรือไม่ [3] ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี (ลอย)[4] ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่นาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 ในคณะรัฐมนตรีชุดที่ 17 อันมี พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปด้วยโดยตำแหน่ง

ด้านชีวิตครอบครัว นายจรูญ สืบแสง สมรสกับ นางเกล็ดมณี สืบแสง (นามสกุลเดิม: บุนนาค) มีบุตร 5 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 2 คน และได้ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2528[5]

อ้างอิง แก้

  1. "ขุนเจริญวรเวช (เจริญ สืบแสง) ผู้แทนฯ ของชาวปัตตานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-29. สืบค้นเมื่อ 2012-08-01.
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิบดีกรมศุลกากร
  3. หน้า 100-102, ตรัง โดย ยืนหยัด ใจสมุทร. (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 กรุงเทพมหานคร, สำนักพิมพ์มติชน) ISBN 974-7115-60-3
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
  5. "จากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-25. สืบค้นเมื่อ 2012-08-01.
ก่อนหน้า จรูญ สืบแสง ถัดไป
พระอุดมโยธาธิยุต    
อธิบดีกรมรถไฟ
(2 พฤศจิกายน 2486 – 15 กุมภาพันธ์ 2488)
  ปุ่น ศกุนตนาค