คณะกรรมการราษฎร (ประเทศสยาม)

คณะรัฐมนตรีสยาม

คณะกรรมการราษฎร (28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475) นับเป็นคณะรัฐมนตรีคณะแรกของประเทศสยาม

คณะกรรมการราษฎร
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 1 แห่งราชอาณาจักรสยาม
มิถุนายน - ธันวาคม พ.ศ. 2475
วันแต่งตั้ง28 มิถุนายน พ.ศ. 2475
วันสิ้นสุด10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
(0 ปี 165 วัน)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประธานกรรมการราษฎรพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
จำนวนรัฐมนตรีทั้งหมด15
ประวัติ
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี28 มิถุนายน พ.ศ. 2475
สภานิติบัญญัติผู้แทนราษฎรชั่วคราว
วาระสภานิติบัญญัติ28 มิถุนายน – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2475
ถัดไปคณะรัฐมนตรีสยาม คณะที่ 2

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชานุมัติ ให้ใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 สภาผู้แทนราษฎรอันประกอบด้วย สมาชิกซึ่งคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารได้ตั้งขึ้น จำนวน 70 นาย ได้ประชุมกันเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม

โดยที่ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน มาตรา 33 บัญญัติว่า "ให้สภาเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้หนึ่งเป็นประธานกรรมการ และให้ผู้เป็นประธานนั้นเลือกสมาชิกในสภาอีก 14 นาย เพื่อเป็นกรรมการ การเลือกนี้เมื่อได้รับความเห็นชอบของสภาแล้ว ให้ถือว่าผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการของสภา"

ในการนี้ ได้มีสมาชิกเสนอให้มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร โดยสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เลือก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ประธานคณะกรรมการราษฎรได้เสนอชื่อคณะกรรมการราษฎรและสภาได้อนุมัติ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ดังมีรายชื่อต่อไปนี้

รายชื่อในคณะกรรมการราษฎร

แก้
  ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี   ดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี
  แต่งตั้งเพิ่ม   เปลี่ยนแปลง/โยกย้ายไปตำแหน่งอื่น
  ย้ายมาจากตำแหน่งอื่น   ออกจากตำแหน่ง
  กรรมการราษฎร
สีแสดง คณะราษฎร
อิสระ
คณะกรรมการราษฎร
ตำแหน่ง ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
ประธานกรรมการราษฎร * มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)   28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475  
  1 นายพลเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ (วัน จารุภา)   28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475  
  2 มหาอำมาตย์ตรี พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)   28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475  
  3 นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)   28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475  
  4 นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)   28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475  
  5 นายพันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)   28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475  
  6 อำมาตย์เอก พระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญหลง)   28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475  
  7 นายพันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น)   28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475  
  8 นายพันตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ)   28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475  
  9 นายนาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)   28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475  
  10 อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)   28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475  
  11 รองอำมาตย์เอก หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์)   28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475  
  12 รองอำมาตย์เอก ตั้ว ลพานุกรม   28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475  
  13 รองอำมาตย์เอก ประยูร ภมรมนตรี   28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475  
  14 นายแนบ พหลโยธิน   28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475  


หมายเหตุ

แก้
  • ในปัจจุบันคณะกรรมการราษฎรเทียบเท่ากับ คณะรัฐมนตรี ในปัจจุบัน
  • ประธานคณะกรรมการราษฎรเทียบเท่ากับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี
  • กรรมการราษฎรเทียบเท่ากับตำแหน่ง รัฐมนตรี ในปัจจุบัน

การแถลงนโยบายของรัฐบาล

แก้

คณะกรรมการราษฎรคณะนี้ ไม่มีการแถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภา แต่ได้ถือเอา หลัก 6 ประการของคณะราษฎรที่ได้ให้สมาชิกสภาปฏิญาณตนต่อสภาก่อนเข้ารับหน้าที่นั้น เป็นนโยบายของรัฐบาล

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี

แก้

คณะรัฐมนตรีคณะเริ่มแรกนี้สิ้นสุดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เพราะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร

อ้างอิง

แก้