คณะรัฐมนตรีสยาม คณะที่ 4

คณะรัฐมนตรีคณะที่ 4 (21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476)

คณะรัฐมนตรีพหลพลพยุหเสนา
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 4 แห่งราชอาณาจักรสยาม
มิถุนายน - ธันวาคม พ.ศ. 2476
วันแต่งตั้ง21 มิถุนายน พ.ศ. 2476
วันสิ้นสุด16 ธันวาคม พ.ศ. 2476
(0 ปี 178 วัน)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายกรัฐมนตรีนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
จำนวนรัฐมนตรี17
จำนวนอดีตรัฐมนตรี2
จำนวนรัฐมนตรีทั้งหมด19
พรรคร่วมรัฐบาลคณะราษฎร
ประวัติ
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี21 มิถุนายน พ.ศ. 2476
สิ้นสุดจากการเลือกตั้ง15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476
สภานิติบัญญัติผู้แทนราษฎรชั่วคราว
วาระสภานิติบัญญัติ28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2476
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีสยาม คณะที่ 3
ถัดไปคณะรัฐมนตรีสยาม คณะที่ 5

นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

แก้
  รัฐมนตรีว่าการกระทรวง   ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี   ดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี
  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง   แต่งตั้งเพิ่ม   เปลี่ยนแปลง/โยกย้ายไปตำแหน่งอื่น
  รัฐมนตรีลอย   ย้ายมาจากตำแหน่งอื่น   ออกจากตำแหน่ง
      คณะราษฎร
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 4 ของไทย
ตำแหน่ง ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ ที่มา
นายกรัฐมนตรี * นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)   21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
กลาโหม   1 นายพลตรี พระยาประเสริฐสงคราม (เทียบ คมกฤส)   21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
ต่างประเทศ   2 พระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค)   1 กันยายน พ.ศ. 2476 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
มหาดไทย   3 พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์)   21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476  
เศรษฐการ   4 พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร)   21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
การคลัง   5 เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา)   21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
ธรรมการ   6 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)   21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
ยุติธรรม   7 พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน จามรมาน)   21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 1 กันยายน พ.ศ. 2476   ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะรัฐมนตรีทำการแทน สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  1 กันยายน พ.ศ. 2476 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476   แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  8 พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค)   21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476  
  นายพลเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ (วัน จารุภา)   21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 8 สิงหาคม พ.ศ. 2476   ลาออก
  9 นายพันเอก พระสิทธิเรืองเดชพล (แสง พันธุประภาส)   21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  10 นายพันโท หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ)   21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  11 นายนาวาโท หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย)   21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  12 นายนาวาโท หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)   21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  13 หลวงนฤเบศร์มานิต (สงวน จูฑะเตมีย์)   21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  14 หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี)   21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  นายนาวาเอก พระยาวิชิตชลธี (ทองดี สุวรรณพฤกษ์)   8 สิงหาคม พ.ศ. 2476 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476   ลาออก
  15 นายเรือเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์)   8 สิงหาคม พ.ศ. 2476 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2
  16 หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)   1 ตุลาคม พ.ศ. 2476 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476   สภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2

การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี

แก้

8 สิงหาคม

แก้

1 กันยายน

แก้

1 ตุลาคม

แก้

9 ธันวาคม

แก้

การแถลงนโยบายของรัฐบาล

แก้

คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2476

เหตุการณ์สำคัญ

แก้

กบฏบวรเดช

แก้

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหมในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้นำกำลังทหารจากหัวเมืองภาคอีสานเข้ามาเพื่อล้มล้างการปกครองของรัฐบาล แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

หมายเหตุ

แก้

นายกรัฐมนตรีได้กราบถวายบังคมลาออก 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2476 โดยอ้างเหตุผลว่า หย่อนความรู้ในทางกฎหมายและการเมือง แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขอร้องให้รับตำแหน่งต่อไปและทรงแจ้งไปยังสภาขอให้สนับสนุนคำขอร้องของพระองค์ท่านด้วย ที่ประชุมสภาได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้พระยาพหลพลพยุหเสนา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี

แก้

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะได้มีการเลือกตั้งทั่วไป โดยเลือกสมาชิกประเภทที่ 1 ขึ้นและสมาชิกประเภทที่ 2 เดิมที่ให้ความไว้วางใจแก่คณะรัฐมนตรีก็สิ้นสุด

อ้างอิง

แก้