หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี)

อำมาตย์ตรี หลวงสิริราชไมตรี นามเดิม จรูญ สิงหเสนี (7 ตุลาคม พ.ศ. 2441 - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2534) เป็นอดีตอัครราชทูตไทยประจำกรุงโรม ประเทศอิตาลี และ สมาชิกคณะราษฎร

หลวงสิริราชไมตรี
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
10 ธันวาคม 2475 – 1 เมษายน 2476
นายกรัฐมนตรีพระยามโนปกรณนิติธาดา
เจ้ากรมกระทรวงต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน – 10 ธันวาคม 2475
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
จรูญ สิงหเสนี

7 ตุลาคม พ.ศ. 2441
จังหวัดนครราชสีมา ประเทศสยาม
เสียชีวิต20 ธันวาคม พ.ศ. 2534 (93 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
เชื้อชาติไทย
ศาสนาพุทธ
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คณะราษฎร
คู่สมรสคุณหญิงอนงค์
บุตร5 คน
อาชีพนักการทูต
เป็นที่รู้จักจากการเมือง

ประวัติ แก้

หลวงสิริราชไมตรี มีนามเดิมว่า จรูญ สิงหเสนี เกิดที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2441 เป็นบุตรคนที่ 3 ของพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี) กับคุณหญิงตุ่ม (บุตรสาวของนายเดช-นางใย สิงหเสนี)

เมื่อายุได้ 7 ปี ได้ย้ายมาอยู่กรุงเทพมหานคร และเข้าศึกษาที่โรงเรียนบพิตรพิมุข โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนราชวิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญ (อสช 2654) และโรงเรียนกฎหมาย ตามลำดับ ได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2457-2461) เมื่อสงครามสิ้นสุดจึงได้ยศสิบตรี (ส.ต.) เคยเป็นนักเรียนวิชากฎหมายในประเทศฝรั่งเศส ด้วยทุนกระทรวงยุติธรรม ต่อมาได้เป็นผู้ช่วยราชการสถานทูตสยามประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในตำแหน่งเลขานุการเอกอัครราชทูต

นายจรูญได้เข้าร่วมกับคณะราษฎร เพื่อร่วมในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากการชักชวนของนายปรีดี พนมยงค์ นักเรียนวิชากฎหมาย ทุนกระทรวงยุติธรรมเช่นเดียวกัน จัดเป็นคณะราษฎรชุดแรกที่มีการก่อตัวขึ้น 7 คน และถือเป็นเพียงคนเดียวที่มิได้มีสถานภาพเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา อีกทั้งเมื่อสมาชิกคนอื่น ๆ ได้ศึกษาจบแล้ว ก็ได้เดินทางกลับสู่ประเทศสยาม แต่นายจรูญไม่ได้กลับมาด้วย[1] [2]

เมื่อเดินทางกลับมายังประเทศสยาม ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้มีบรรดาศักดิ์และราชทินนามเป็น หลวงสิริราชไมตรี ถือศักดินา ๖๐๐ เมื่อวันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2468[3]

ต่อมาหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จแล้ว หลวงสิริราชไมตรีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีแทนที่ไม่ได้สังกัดกระทรวง (รัฐมนตรีลอย) และต่อมาได้เป็นราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

ปี พ.ศ. 2481 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตประจำกรุงโรม ประเทศอิตาลี จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ครอบครัวได้อพยพไปอยู่ ณ เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ จนสงครามสงบในปี พ.ศ. 2488 จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตประจำกระทรวง และในปี พ.ศ.2490 ได้โอนไปรับราชการที่กระทรวงการคลังและออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเมื่อต้นปี พ.ศ. 2492

เมื่อออกจากราชการได้เป็นกรรมการในสมาคมสหายสงครามในพระบรมราชูปถัมภ์และได้ร่วมบุกเบิกการทำป่าไม้ และเหมืองแร่ ซึ่งเป็นสัมปทาน ที่รัฐบาลให้แก่ทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่ 1

ถึงแก่อสัญกรรม แก้

นาย จรูญ สิงหเสนี ถึงแก่อสัญกรรม ที่บ้านพัก อย่างสงบ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ในย่านเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร งานศพถูกจัดขึ้น ณ ที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร สิริอายุรวม 93 ปี

ครอบครัว แก้

หลวงสิริราชไมตรี สมรสกับคุณหญิงอนงค์ (บุตรีพระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) กับนางน้อม) มีบุตรด้วยกัน 5 คน ดังนี้

  1. นายอุดมพร สิงหเสนี (Pietro)
  2. นายพสุพร สิงหเสนี (Nickie)
  3. นายสิงพร สิงหเสนี (Georgie)
  4. นางสาวพรพงา สิงหเสนี (Suzanne)
  5. นางสาวพรระพี สิงหเสนี (Angela)

การศึกษา แก้

  • พ.ศ. 2450 โรงเรียนบพิตรพิมุข
  • พ.ศ. 2453 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2454 โรงเรียนราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2460 โรงเรียนกฏหมาย
  • พ.ศ. 2468 Ecole Libre des Sciences Politiques, Paris

ยศ แก้

  • พ.ศ. 2459 – มหาดเล็กวิเศษ
  • 28 สิงหาคม พ.ศ. 2468 – รองอำมาตย์ตรี [4]
  • 28 สิงหาคม พ.ศ.2468 – หลวงสิริราชไมตรี [5]

ตำแหน่งหน้าที่ แก้

  • พ.ศ. 2459 นักเรียนล่ามกระทรวงยุติธรรม
  • พ.ศ. 2460 พลทหารรถยนต์กระทรวงกลาโหม
  • พ.ศ. 2461 นายสิบตรี
  • พ.ศ. 2462 เสมียนฝึกหัดกระทรวงการต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2463 นักเรียนผู้ช่วยสถานทูต
  • พ.ศ. 2466 ผู้ช่วยชั้นหนึ่ง
  • พ.ศ. 2469 เลขานุการตรี
  • พ.ศ. 2475 เจ้ากรม
  • พ.ศ. 2476 รัฐมนตรีแทนเลขานุการคณะรัฐมนตรี
  • พ.ศ. 2476 รัฐมนตรีหัวหน้ากองการโฆษณา
  • พ.ศ. 2476 เจ้ากรมกระทรวงการต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2477 เลขานุการเอก กระทรวงการต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2477 เลขานุการเอกสถานทูต ณ กรุงลอนดอน
  • พ.ศ. 2477 ราชเลขานุการในพระองค์ ณ เมืองโลซานน์
  • พ.ศ. 2481 อัครราชทูตประจำประเทศอิตาลี
  • พ.ศ. 2489 อัครราชทูตประจำกระทรวง
  • พ.ศ. 2490 กระทรวงการคลัง
  • พ.ศ. 2492 ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  • สายสกุลสิงหเสนี, บรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพนางสาวจวงจันทร์ สิงหเสนี ป.ภ., ท.ช., 3 พฤศจิกายน 2541, หน้า 181