หลวงศรีประกาศ (ฉันท์ วิชยาภัย)

หลวงศรีประกาศ นามเดิม ฉันท์ วิชยาภัย เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2476[1][2] และเป็นนักธุรกิจชาวเชียงใหม่ เจ้าของกิจการโรงแรมศรีประกาศ[3]

หลวงศรีประกาศ (ฉันท์ วิชยาภัย)
นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2483 – พ.ศ. 2485
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2486 – พ.ศ. 2487
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2428
จังหวัดจันทบุรี
เสียชีวิตพ.ศ. 2512 (83 ปี)
ศาสนาพุทธ

ประวัติ แก้

หลวงศรีประกาศ เดิมชื่อ ฉันท์ เกิดที่จังหวัดจันทบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2428[4] เป็นเหลนพระยาวิชยาธิบดี (โต)

ฉันท์ได้ติดตามพระยามโหสถศรีพิพัฒน์ (เชิญ ปริชญานนท์) มาอยู่จังหวัดเชียงใหม่ ทำงานเป็นเสมียนศาลมณฑลพายัพ พบกับเรือนแก้ว ไชยวัณณ์ ได้สมรสกันแต่ไม่มีบุตรธิดา[5] ได้รับพระราชทานนามสกุลวิชยาภัย[6]

หลวงศรีประกาศ ประกอบอาชีพทนายความ และต่อมาได้เป็นกรรมการสุขาภิบาล โดยได้วางแผนผังสุขาภิบาลสร้างอาคารชั้นเดียวสุขาภิบาล ริเริ่มให้มีการสร้างสะพาน ถนน ตรอกซอยอีกหลายแห่ง ในปี พ.ศ. 2476 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ กระทั่งได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ รวม 6 สมัย[7] ระหว่างปี พ.ศ. 2483 - 2487 ยกเว้นในปี พ.ศ. 2486[8]

หลวงศรีประกาศ (ฉันท์ วิชยาภัย) เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2512 อายุ 83 ปี[9]

ผลงาน แก้

หลวงศรีประกาศ มีแนวความคิดที่จะขยายเขตไฟฟ้าไปยังวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร จึงได้นำเรื่องไปปรึกษากับครูบาศรีวิชัย และเป็นที่มาของการร่วมกันในการก่อสร้างถนนศรีวิชัยจากบ้านห้วยแก้วขึ้นสู่พระธาตุดอยสุเทพ[10] ใช้เวลาสร้าง 5 เดือน 22 วัน โดยไม่ได้ใช้งบของทางราชการ และในการทนุบำรุงศาสนา ก็ได้มีส่วนในการจัดตั้งพุทธสถานเชียงใหม่[9] และมีผลงานในการริเริ่มโครงการสำคัญหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่

เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ มีผลงานในการพัฒนาระบบสุขาภิบาลทั่วเมืองรวม ทั้งได้ก่อสร้างโรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่ และสนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่[11]

อ้างอิง แก้

  1. อาร์วายทีไนน์,สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้งครั้งแรก
  2. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปรเภทที่ 1
  3. ศรีประกาศ : เมื่อคนเชียงใหม่ใช้น้ำใจเปลี่ยนโรงแรมอายุร้อยปีให้ชิคขนาด
  4. ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (1 กันยายน 2561). "รู้จัก 'หลวงศรีประกาศ' ผู้สร้างประวัติศาสตร์ให้ 'เชียงใหม่'". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. konlanna (29 พฤศจิกายน 2562). "ผู้ช่วยเหลือ ครูบาศรีวิชัย สร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ". คนล้านนา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-11. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๘๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 37 (0): 256. 2 พฤษภาคม 2463. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 26 ธันวาคม 2557 - 1 มกราคม 2558 "ปริศนาโบราณคดี" เพ็ญสุภา สุขคตะ.[1]
  8. นักการเมืองถิ่นจังหวัดเชียงใหม่
  9. 9.0 9.1 หลวงศรีประกาศ[ลิงก์เสีย]จากเว็บไซต์ เชียงใหม่ มรดกโลก
  10. บุญเสริม ศาสตราภัย และสังคีต จันทนะโพธิ. (2520) อดีตลานนา กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์
  11. มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 24 - 30 สิงหาคม 2561ออนไลน์ สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562