เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์

เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ หรือ เจ้าโว้ง แสนศิริพันธุ์[1] เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดแพร่[2] และเป็นอดีตสมาชิกขบวนการเสรีไทย[3]

เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่
ดำรงตำแหน่ง
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2480
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 เมษายน พ.ศ. 2441
จังหวัดแพร่ ประเทศสยาม
เสียชีวิต6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 (72 ปี)
ประเทศลาว
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสเจ้าน้อย แสนศิริพันธุ์ (สกุลเดิม บุตรรัตน์)
เจ้านายฝ่ายเหนือ

ประวัติ แก้

เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ เป็นบุตรชายคนเล็กของพระวิไชยราชา (เจ้าหนานขัติ แสนศิริพันธุ์) พระวิไชยราชานครแพร่ และอดีตเสนาคลังเมืองนครแพร่ (บุตรแสนเสมอใจ ขุนนางเค้าสนามหลวงนครแพร่ กับเจ้าพิมพา (สืบเชื้อสายมาจากเจ้าหลวงเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์แสนซ้าย)) และเจ้าคำป้อ (ธิดาพญาประเสริฐชนะสงครามราชภักดี) มีเจ้าพี่ร่วมมารดา 1 คน คือเจ้าสุคันธา ไชยประวัติ และต่างมารดาอีก 4 คน สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ ท่านเป็นศิษย์เอกของภราดา ฟ.ฮีแลร์ และมีความสามารถในการพูด อ่านภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว

เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 สิริอายุรวม 72 ปี

ครอบครัว แก้

เจ้าวงศ์ สมรสกับเจ้าน้อย แสนศิริพันธุ์ (สกุลเดิม บุตรรัตน์) (ธิดาเจ้าน้อยจุ๋งแก้ว และแม่นายมา บุตรรัตน์) มีบุตรชาย 1 คนคือ เจ้าสุนทร แสนศิริพันธุ์ สมรสกับนางจิรศักดิ์ และนางสุเนตรา มีบุตร-ธิดา คือ

1.นายอมรพล แสนศิริพันธุ์
2.นางอุบลพรรณ แสนศิริพันธุ์
3.นายภูมิ แสนศิริพันธุ์ (เกิดจากนางสุเนตรา)
4.นายโก้ แสนศิริพันธุ์ (เกิดจากนางสุเนตรา)
5.นางกิ๊ก แสนศิริพันธุ์ (เกิดจากนางสุเนตรา)
6.นายก้อย แสนศิริพันธุ์ (เกิดจากนางสุเนตรา)

และนอกจากนี้เจ้าวงศ์ ยังมีบุตร-ธิดา กับภรรยาอื่นๆอีกหลายคน ได้แก่

  • เจ้าน้อยบุญนัก แสนศิริพันธุ์ (เกิดจากเจ้าเป็ง (ธิดาเจ้าหนานโต้ง เชื้อสายเจ้าหลวงนครลำปาง)) สมรสกับนางจันทร์แดง แสนศิริพันธุ์ มีบุตร คือ
1.นายวันชัย ศิริพันธุ์ (ใช้นามสกุล "ศิริพันธุ์") สมรสกับนางอำพรรณ วงศ์ลือโลก และภรรยาคนที่ 2 มีบุตร คือ
1.1.นายวิบูลศักดิ์ ศิริพันธุ์
1.2.ดร.อนุกูล ศิริพันธุ์
1.3.นายดนัย ศิริพันธุ์ (เกิดจากภรรยาคนที่ 2)
  • นางศรีทอง อารีย์วงศ์ สมรสกับนายแพทย์บุญชม อารีย์วงศ์
  • นายสุทิน แสนศิริพันธุ์
  • นางทิพยวรรณ สุวรรณช่าง
  • นายสุเทพ แสนศิริพันธุ์
  • นายสุทัศน์ แสนศิริพันธุ์
  • นายสุวิทย์ แสนศิริพันธุ์ สมรสกับนางเฝื่อ แสนศิริพันธุ์ ภรรยาเชื้อสายลาว สัญชาติไทย
  • นายสมคิด แสนศิริพันธุ์
  • นายทวีศักดิ์ แสนศิริพันธุ์
  • นายสุภาพ แสนศิริพันธุ์
  • นายสุพจน์ แสนศิริพันธุ์
  • นางวงศ์สวาท แสนศิริพันธุ์
  • นางศริวัฒนา แสนศิริพันธุ์
  • นายสุทีพ แสนศิริพันธุ์
  • นางถนอมศรี แสนศิริพันธุ์

การทำงาน แก้

กิจการไม้สัก แก้

เจ้าวงศ์ เริ่มทำงานเป็นสมุหบัญชีที่ห้างอิสต์เอเชียทีค บริษัทที่ได้รับสัมปทานป่าไม้เขตภาคเหนือ เมื่อศึกษาวิธีการทำงานและบริหารงานจนชำนาญแล้วจึงได้ลาออกมาประกอบอาชีพค้าไม้สัก เป็นผู้รับเหมางานจากห้างอิสต์เอเชียทีค และห้างบอมเบย์เบอร์มา อาชีพทำสัปทานไม้ท่านทำให้มีช้างใช้ในงานถึง 100 เชือก และรถลากไม้ไม่น้อยกวา 40 คัน ทำสัปทานไม้สักทั้งในจังหวัดแพร่และจังหวัดใกล้ จนร่ำรวยมหาศาล

ต่อมาท่านได้เลิกกิจการค้าไม้สักแล้วหันมาทำธุรกิจโรงบ่มใบยาสูบและไร่ยาสูบ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จจึงได้เลิกกิจการ แล้วหันมาประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ เช่น ปลูกทุเรียน เงาะ มังคุด ซึ่งเป็นสวนผลไม้รสดีแห่งเดียวในจังหวัดแพร่

งานการเมือง แก้

ในปี พ.ศ. 2476 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476 ซึ่งให้ราษฎรเลือกตัวแทนตำบลละ 1 คน จากนั้นก็ให้ตัวแทนตำบลมาเลือกกันเอง ปรากฏว่าเจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดแพร่[4][5][1] ขณะอายุได้ 32 ปี

กิจการสาธารณะ แก้

เจ้าวงศ์ มิได้แตกต่างจากบิดาของท่านในเรื่องการศาสนา ท่านได้บริจาครถยนต์ให้วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร บริจาคไม้สัก เงินทอง สร้างวัด โรงเรียน ศาลาการเปรียญ โบสถ์ วิหาร อยู่อย่างสม่ำเสมอ ท่านเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงสนับสนุนลูกหลานให้เรียนชั้นสูงสุดถึงมหาวิทยาลัยทั้งในและนอกประเทศ รวมทั้งให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนโรงเรียนวนศาสตร์ (โรงเรียนป่าไม้) เป็นจำนวนมาก

บั้นปลายชีวิต แก้

เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ และครอบครัวต้องประสบชะตากรรม สูญสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งคุ้มวิชัยราชาเพราะถูกรัฐยึด เนื่องจากมาตรการชำระภาษีในยุคนั้นจากการศึกษาวิเคราะห์หาสาเหตุที่เจ้าวงค์ต้องมีอันเป็นไปนี้ เป็นไปได้ว่า คงเป็นเพราะความสัมพันธ์แนบแน่นกับท่านปรีดี พนมยงค์ จึงทำให้ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกับแกนทำขบวนการเสรีไทยคนอื่นๆ ที่ใกล้ชิดกับหัวหน้าที่ผิดเพี้ยนไปคือไม่ได้โดนฆ่าแบบนายเลียง ไชยกาล นายเตียง ศิริขันธ์ หรือนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ฯลฯ ชีวิตในช่วงที่เหลือของท่านค่อนข้างอับเฉา ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในประเทศลาว จนวาระสุดท้ายที่เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2513 จนมีบางคนกล่าวว่า ถ้าโดนฆ่าตายแบบคนอื่นจะดีกว่า เพราะไม่ต้องทนทุกข์ทรมาน

สถานที่อันเนื่องชื่อ แก้

โรงเรียนบ้านพันเชิง (วงศ์หล้าราษฎร์บำรุง)

ลำดับสาแหรก แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่. ประวัติศาสตร์เมืองแพร่ 2550. แพร่ : เมืองแพร่การพิมพ์. 2550
  2. สถาบันพระปกเกล้า. นักการเมืองถิ่นจังหวัดแพร่ กรุงเทพ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
  3. คุ้มวิชัยราชา[ลิงก์เสีย]
  4. อาร์วายทีไนน์,สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้งครั้งแรก
  5. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปรเภทที่ 1