พระวิไชยราชา (หนานขัติ แสนศิริพันธุ์)
พระวิไชยราชา (หนานขัติ แสนศิริพันธุ์) หรือ เจ้าหนานขัติ พระวิไชยราชาแห่งนครแพร่ อดีตเสนาคลังจังหวัดแพร่ เป็นบุตรของแสนเสมอใจ ขุนนางเค้าสนามหลวงนครแพร่ กับเจ้าพิมพา (สืบเชื้อสายมาจากเจ้าหลวงเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์แสนซ้าย) และเป็นต้นสกุล แสนศิริพันธุ์
พระวิไชยราชา (หนานขัติ แสนศิริพันธุ์) | |
---|---|
เจ้าหนานขัติ แสนศิริพันธุ์ | |
พระวิไชยราชานครแพร่ | |
พิราลัย | พ.ศ. 2465 |
ชายา | เจ้าคำใย้ แสนศิริพันธุ์ เจ้าคำป้อ แสนศิริพันธุ์ |
พระบุตร | 6 คน |
ราชวงศ์ | แสนซ้าย |
พระบิดา | แสนเสมอใจ |
พระมารดา | เจ้าพิมพา |
ประวัติ
แก้พระวิไชยราชา (หนานขัติ แสนศิริพันธุ์) หรือ เจ้าหนานขัติ แสนศิริพันธุ์ เป็นบุตรของแสนเสมอใจ (แสนศรีซ้าย) ขุนนางเค้าสนามหลวงนครแพร่ กับเจ้าพิมพา (สืบเชื้อสายมาจากเจ้าหลวงเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ แห่งราชวงศ์แสนซ้าย) มีน้องชาย 1 คน คือเจ้าเทพวงศ์ ผาทอง (ต้นสกุล ผาทอง) เจ้าหนานขัติ ดำรงตำแหน่งเป็น พระวิไชยราชา พระวิไชยราชานครแพร่ และเสนาฝ่ายคลัง ในสมัยเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์สุดท้าย ถือศักดินา 1,000 ไร่[1]
บุตร-ธิดา
แก้เจ้าพระวิไชยราชา (หนานขัติ แสนศิริพันธุ์) มีชายา 2 คน คือ
- เจ้าคำใย้ (บัวคำ) แสนศิริพันธุ์ มีบุตร-ธิดา 4 คน คือ
- เจ้าน้อยทอง สมรสกับเจ้าจันจิรา มหายศปัญญา (ธิดาพระเมืองชัย(เจ้าน้อยชัยลังกา) กับเจ้าคำป้อ มหายศปัญญา) และเจ้าบัวระพา มหายศปัญญา (ธิดาเจ้าหนานชื่น มหายศปัญญา) มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ
- เจ้าอุ๊ แสนศิริพันธุ์ (เกิดจากเจ้าจันจิรา)
- เจ้าอินป๋อน แสนศิริพันธุ์ (เกิดจากเจ้าบัวระพา)
- เจ้าน้อยนุต แสนศิริพันธุ์ สมรสกับนางบัวผัน แสนศิริพันธุ์ ไม่มีบุตร
- เจ้าน้อยคำแสน สมรสกับเจ้าบัวจีน อุตรพงศ์ (ธิดาขุนสมรังษี (เจ้าน้อยสม อุตรพงศ์) กับเจ้าสุกันทา อุตรพงศ์) และนางนุ่น แสนศิริพันธุ์ มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ
- นางคำแฮ อุตรพงศ์ (แสนศิริพันธุ์)
- นางศรีรัตนา คล่องตรวจโรค
- เจ้าคำปัน แสนศิริพันธุ์
- เจ้าคำป้อ แสนศิริพันธุ์ (ธิดาพระญาประเสริฐชนะสงครามราชภักดี ขุนนางนครแพร่) มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ
- เจ้าสุคันธา ไชยประวัติ สมรสกับรองอำมาตย์ตรีเผือก (เจ้าเผือก ไชยประวัติ) มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ
- คุณหญิงบัวเขียว รังคสิริ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงคนแรกของจังหวัดแพร่ และอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
- นางสาวจันทร์ฟอง ไชยประวัติ
- นางจันทรา คนบุญ
- เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดแพร่ และอดีตสมาชิกขบวนการเสรีไทย[2] สมรสกับเจ้าน้อย บุตรรัตน์ (ธิดาเจ้าน้อยจุ๋งแก้ว กับแม่นายมา บุตรรัตน์) มีบุตรชาย 1 คน คือ
- เจ้าสุนทร แสนศิริพันธุ์
การทำงาน
แก้ด้านการทหาร
แก้- เจ้าพระวิไชยราชา ได้เป็นแม่ทัพคุมรี้พลจากเมืองนครแพร่ไปสมทบกับทัพหลวงของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีที่หัวพันทั้งห้าทั้งหก และทำศึกปราบฮ่ออยู่ที่เมืองหลวงพระบาง
- เจ้าพระวิไชยราชา ยังเป็นผู้ที่ยืนขนาบเคียงข้างเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ เพื่อนำพาออกไปรับเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีที่ยกทัพหลวงมาปราบพวกเงี้ยว และเชื้อเชิญให้เข้าสู่เมืองแพร่ วีรกรรมของพระวิไชยราชา ได้ทำให้ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด หวาดระแวงจากส่วนกลางที่มีต่อเมืองแพร่ จนสถานการณ์ดีขึ้น
ด้านการศาสนา
แก้จากประวัติวัดศรีบุญเรืองได้กล่าวถึงพ่อเจ้าพระวิไชยราชา และแม่เจ้าคำป้อ ว่าทั้งสองท่านนี้นอกจากจะเป็นผู้มีประวัติอันดีเด่น กอปรด้วยความซื่อสัตว์สุจริตต่อแผ่นดิน มีจิตใจที่มันคงในการกุศลและมีวิริยะศรัทธาแรงกล้า ที่จะเสริมสร้างความเจริญให้แก่พระบวรพุทธศาสนาได้พยายามทุ่มเทสติปัญญา ความสารถ และกำลังทุนทรัพย์ด้วยความเมตตาจิต เข้ามาช่วยเหลือบำเพ็ญกรณียกิจให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะกุศลทุกวิถีทาง และทุกๆปีที่คุ้มวิชัยราชาของท่านจะบวชเณรให้กับเด็กเมืองแพร่จำนวนมาก เล่ากันว่าในขณะที่พ่อเจ้าพระวิไชยราชาได้ป่วยหนักจนไม่สามารถลุกเดินได้นั้น ท่านยังมีความกังวลต่อการก่อสร้างวัตถุของวัดที่ยังไม่แล้วเสร็จในขณะนั้น ได้สั่งให้คนรับใช้หามท่านทั้งเก้าอี้นอนเพื่อไปดูการก่อสร้างที่วัด พร้อมทั้งเร่งรัดให้ช่างดำเนินการก่อสร้างวิหารให้เสร็จภายในเร็ววัน และหลังจากที่การก่อสร้างแล้วเสร็จ ท่านถึงได้อสัญกรรมในปีพ.ศ. 2465[3]
เหตุการณ์กบฎเงี้ยวปล้นเมืองแพร่
แก้ในปีพ.ศ. 2445 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองแพร่ โดยพวกไทใหญ่หรือเงี้ยวที่ได้เข้ามาอยู่อาศัยในเมืองแพร่ และทำมาหากินในการขุดพลอย ประเภทพลอยไพลินที่ตำบลบ่อแก้ว อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ในปัจจุบัน ได้ทำการก่อจลาจลในเมืองแพร่เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เจ้าหลวงนครแพร่ถูกกล่าวหาว่าคบกับพวกเงี้ยว เจ้าพิริยเทพวงษ์จึงต้องเสด็จหลีภัยการเมืองไปประทับเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว[4] และได้พำนักอยู่ที่นั่นจนกระทั่งพิราลัยในปี พ.ศ. 2455 ส่วนเจ้านายองค์อื่นๆถูกถอดยศศักดิ์ ถูกควบคุมลงไปกักตัวไว้ที่กรุงเทพฯ และให้ชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ ร่วมถึงพระวิไชยราชา (เจ้าขัติ แสนศิริพันธุ์) ซึ่งมีส่วนรู้เห็นแต่ไม่ได้รับโทษหนัก เพราะเป็นเจ้านายระดับรองลงมาที่ไม่ได้เป็นเจ้าชั้นใกล้ชิดกับเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ เพียงแต่ถูกสยามควบคุมดูความประพฤติ ต่อมาได้ร่วมกับพระวังซ้าย (เจ้าหนานมหาจักร) พระสุริยะ (เจ้าน้อยมหาอินทร์) พระคำลือ ฯลฯ เจ้านายอื่นๆพร้อมกับบุตรหลานรวมจนถึงขุนนางในนครแพร่ พากันบริจาคเงินก้อนใหญ่รายละ 50 – 100 บาท เพื่อสร้างโรงพยาบาลทหารที่นครแพร่ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2445 ตามความคิดของคุณหญิงเลี่ยม ภริยาของพลโท เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี แม่ทัพใหญ่ปราบกบฏเงี้ยว[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ ภูเดช แสนสา. ศักดินาเจ้านายประเทศราชสมัยราชวงศ์ทิพจักร
- ↑ คุ้มวิชัยราชา[ลิงก์เสีย]
- ↑ หมู่บ้าน วังฟ่อน คุ้มวิชัยราชา
- ↑ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ประวัติเจ้าพิริยเทพวงศ์ (เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของเมืองแพร่) เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูเมื่อ 7 มิถุนายน 2556
- ↑ ภูเดช แสนสา กบฏเงี้ยว พ.ศ. ๒๔๔๕” การต่อต้านสยามของประเทศราชล้านนา เริ่มที่เมืองลอง
ก่อนหน้า | พระวิไชยราชา (หนานขัติ แสนศิริพันธุ์) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระวิไชยราชา (น้อยอินทะ) | พระวิไชยราชาแห่งนครแพร่ (? - พ.ศ. 2465) |
รัฐบาลสยามยกเลิกตำแหน่ง |
{{ตายปี|2465}