จังหวัดลานช้าง
จังหวัดลานช้าง (บางทีก็เรียกว่า จังหวัดล้านช้าง) เป็น 1 ใน 4 จังหวัดที่ประเทศไทยได้ดินแดนคืนจากฝรั่งเศสในช่วง พ.ศ. 2484 โดยยกท้องที่ดินแดนลาวฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามกับเมืองหลวงพระบาง ขึ้นเป็นจังหวัด เดิมพื้นที่นี้ขึ้นอยู่กับมณฑลพายัพในสมัยรัชกาลที่ 5 และตกอยู่ภายใต้ความปกครองของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2447 พร้อมกันกับเมืองจำปาศักดิ์ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยต้องส่งดินแดนนี้คืนให้แก่ฝรั่งเศส ซึ่งผู้ปกครองประเทศลาวในขณะนั้น ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวนี้คือ แขวงไชยบุรี และเมืองจอมเพ็ด แขวงหลวงพระบาง ของประเทศลาว
จังหวัดลานช้าง | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จังหวัด | |||||||||
พ.ศ. 2484 – 2489 | |||||||||
จังหวัดลานช้าง (สีเขียวอ่อน ด้านบน) | |||||||||
ยุคทางประวัติศาสตร์ | สงครามโลกครั้งที่ 2 | ||||||||
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 | |||||||||
• ความตกลงวอชิงตัน | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ลาว |
กรมศิลปากรได้กำหนดให้จังหวัดลานช้างใช้ตราประจำจังหวัดเป็นรูปช้างหลายเชือกยืนอยู่กลางลานกว้าง โดยคิดรูปตราจากความหมายของชื่อจังหวัดที่แปลว่า “ดินแดนที่มีช้างจำนวนมาก”
การจัดการปกครอง
แก้จังหวัดลานช้าง ได้แบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ ตามประกาศเรื่องตั้งอำเภอ ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พุทธศักราช 2484 ดังนี้
- อำเภอสมาบุรี ตามเขตอำเภอสมาบุรีเดิม (ปัจจุบันคือ เมืองไชยบุรี แขวงไชยบุรี ประเทศลาว)
- อำเภออดุลเดชจรัส ตามเขตอำเภอปากลายเดิม ตั้งตามนามของ พลตำรวจเอกหลวงอดุลเดชจรัส (บัตร พึ่งพระคุณ หรือ อดุล อดุลเดชจรัส) อธิบดีกรมตำรวจและผู้บังคับการตำรวจสนามในกรณีพิพาทอินโดจีน (ปัจจุบันคือเมืองปากลาย แขวงไชยบุรี ประเทศลาว)
- อำเภอแก่นท้าว ตามเขตอำเภอแก่นท้าวเดิม (ปัจจุบันคือ เมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี ประเทศลาว)
- อำเภอเชียงฮ่อน ตามเขตอำเภอเชียงฮ่อนเดิม (ปัจจุบันคือ เมืองเซียงฮ่อน แขวงไชยบุรี ประเทศลาว)
- อำเภอหาญสงคราม ตามเขตอำเภอหงษาเดิม ตั้งตามนามของ พันเอก หลวงหาญสงคราม (พิชัย หาญสงคราม) ผู้บัญชาการกองพลพายัพในกรณีพิพาทอินโดจีน (ปัจจุบันคือ เมืองหงษา แขวงไชยบุรี ประเทศลาว)
- อำเภอเชียงแมน แยกจากอำเภอสมาบุรี เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2486[1] (ปัจจุบันคือ เมืองจอมเพชร แขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว)
เขตการปกครองที่ได้จัดไว้นี้ได้ใช้เรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2489 โดยไม่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมแต่อย่างใด ในระหว่างที่จังหวัดนี้อยู่ในการปกครองของประเทศไทย ได้มีการจัดการเลือกตั้งขึ้น เมื่อ 6 มกราคม พ.ศ. 2489 นายสังคม ริมทองได้เป็นส.ส. ของจังหวัดลานช้าง ก่อนจะคืนดินแดนดังกล่าวให้ฝรั่งเศส[2]
ระเบียงภาพ
แก้-
อาคารแห่งหนึ่งในอำเภออดุลเดชจรัส พ.ศ. 2486
-
ถนนเส้นหนึ่งในอำเภออดุลเดชจรัส พ.ศ. 2486
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่องจัดตั้งอำเพอเชียงแมน จังหวัดลานช้าง" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา. 60 (51ง): 3054. 28 กันยายน พ.ศ. 2486. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-09-03. สืบค้นเมื่อ 2014-07-21.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ลัทธิชาตินิยมไทย/สยามกับกัมพูชาและกรณีศึกษาปราสาทพระวิหาร. กรุงเทพฯ : โครงการตำราสังคมศาสตร์ฯ.2552