พระยาอนุรักษ์โกษา (ประเวศ อมาตยกุล)

มหาอำมาตย์ตรี พระยาอนุรักษ์โกษา (ประเวศ อมาตยกุล) (18 เมษายน 2430 – 17 พฤษภาคม 2469)[1] เป็นขุนนางชาวไทย เป็นอดีตอธิบดีกรมบัญชีกลาง คนที่ 7 ระหว่างปี 2464–2469 และอดีตองคมนตรีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติ แก้

พระยาอนุรักษ์โกษา เกิดเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2430 เป็นบุตรชายของ พระอินทราธิบาล ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2469 เนื่องจากอหิวาตกโรค ขณะมีอายุได้เพียง 39 ปี

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงแถม มีธิดาคือ คุณหญิงเยาวมาลย์ บุนนาค ภรรยาของศาสตราจารย์เดือน บุนนาค อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา[2]

รับราชการ แก้

พระยาอนุรักษ์โกษา เริ่มต้นรับราชการเป็นเสมียนกรมบัญชีกลาง กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อปี 2447 ถึงปีถัดมาคือปี 2448 เป็น รองผู้ตรวจบัญชีเงิน ในปี 2450 ท่านไปศึกษาต่อด้านวิชาบัญชีที่ยุโรป ก่อนจะเดินทางกลับในปี 2455 และได้เข้ารับราชการเป็นนายเวรกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ จากนั้นในวันที่ 11 สิงหาคม 2456 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอนุรักษ์โกษา ถือศักดินา 600[3] ต่อมาในวันที่ 3 ตุลาคม ศกเดียวกัน ท่านได้รับพระราชทานยศเป็น รองอำมาตย์เอก หลวงอนุรักษ์โกษา[4]

ในวันที่ 30 ธันวาคม 2457 ท่านได้เลื่อนยศเป็น อำมาตย์โท หลวงอนุรักษ์โกษา[5] ในปีถัดมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็น ผู้ช่วยอธิบดีกรมตรวจเงินแผ่นดิน ต่อมาในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2459 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระในนามเดิม ถือศักดินา 800[6] ในวันที่ 8 ธันวาคม ศกเดียวกัน ท่านได้เลื่อนยศเป็น อำมาตย์เอก พระอนุรักษ์โกษา[7] และได้เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2460[8]

ปี 2462 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาในนามเดิม ถือศักดินา 1000 และได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2462 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา[9] ต่อมาในวันที่ 27 สิงหาคม 2463 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรักษาราชการแทนอธิบดีกรมบัญชีกลาง แทนที่ พระยาไชยยศสมบัติ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) ที่ขยับขึ้นไปรับตำแหน่งรองเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ[10] พร้อมกับเลื่อนยศเป็นมหาอำมาตย์ตรี ในวันที่ 1 เมษายน 2464 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ท่านเป็นอธิบดีกรมบัญชีกลาง[11]

ในปี 2466 ท่านได้เป็นพระยาพานทอง ในวันที่ 11 มีนาคม ศกเดียวกัน ท่านได้รักษาราชการแทนในตำแหน่ง อธิบดีกรมตรวจเงินแผ่นดินและกรมเจ้าจำนวน[12] ต่อมาในวันที่ 4 เมษายน 2467 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี[13] ในวันที่ 10 เมษายน 2469 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการแห่งสภากรรมการรถไฟ[14]

ตำแหน่ง แก้

  • 28 กันยายน 2463 – กรรมการคลังออมสิน[15]
  • 12 ตุลาคม 2463 – กรรมการบริษัทแบงก์สยามกัมมาจลทุน[16]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พระยาอนุรักษ์โกษา (ประเวศ อมาตยกุล) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

  •   อิตาลี :
    • พ.ศ. 2458 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญมอริซและลาซาลัส ชั้นที่ 5[20]

อ้างอิง แก้

  1. ข่าวตาย (หน้า 919-920)
  2. ศาสตราจารย์เดือน บุนนาค
  3. เลื่อนและตั้งบรรดาศักดิ์ (หน้า 1034)
  4. พระราชทานยศ (หน้า 1511)
  5. พระราชทานยศและเลื่อนยศ (หน้า 2413)
  6. เลื่อนและตั้งบรรดาศักดิ์ (หน้า 2390)
  7. พระราชทานยศ
  8. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  9. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  10. ประกาศเรื่องตั้งผู้รั้งตำแหน่งอธิบดีกรมบัญชีกลาง กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
  11. ประกาศกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
  12. แจ้งความกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
  13. การพระราชพิธีตั้งองคมนตรี พระพุทธศักราช 2467 (หน้า 68)
  14. ประกาศ ตั้งกรรมการแห่งสภากรรมการรถไฟ
  15. แจ้งความกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
  16. แจ้งความเรื่องบริษัทแบงก์สยามกัมมาจลทุนจำกัด
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๒๘, ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๖
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๒๐, ๓๐ มกราคม ๒๔๖๓
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๖๗, ๒๐ มกราคม ๒๔๖๐
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๗, ๕ มีนาคม ๒๔๕๘