วิจิตร ลุลิตานนท์
ศาสตราจารย์วิจิตร ลุลิตานนท์ (30 มิถุนายน พ.ศ. 2449 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2530) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์ และอดีตรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวง
วิจิตร ลุลิตานนท์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 24 สิงหาคม 2489 – 11 พฤศจิกายน 2490 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | ปรีดี พนมยงค์ |
ถัดไป | หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2449 บ้านลุลิตานนท์ ถนนสีลม |
เสียชีวิต | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2530 (81 ปี) |
ศาสนา | คริสต์ |
คู่สมรส | ทิพยวดี ลุลิตานนท์ |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้ศาสตราจารย์วิจิตร ลุลิตานนท์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2449 เป็นบุตรของหลวงวิจารณ์ศุขเกษม (ติ๊ด ลุลิตานนท์) เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กับมารดาชื่อทรัพย๋
วิจิตร ลุลิตานนท์ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2488 ในรัฐบาลนายทวี บุณยเกตุ[1][2] และได้ดำรงตำแหน่งต่อมาในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[3][4] ต่อมาเมื่อพ.ศ. 2489 ในรัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[5][6][7][8] ในรัฐบาลพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[9] และพ้นจากตำแหน่งไปเพราะมีการรัฐประหารขึ้นโดยคณะทหาร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490[10][11] นอกจากนี้ยังเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 1[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2511 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[13]
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 12 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-03. สืบค้นเมื่อ 2015-05-15.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 13 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-15.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 15 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2015-05-15.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 16 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-03. สืบค้นเมื่อ 2015-05-15.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 17 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2015-05-15.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 18 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-02. สืบค้นเมื่อ 2015-05-15.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ วุฒิสภา ชุดที่ ๑ (สมาชิกพฤฒสภา พ.ศ. ๒๔๘๙)[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗