พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ)
พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย
พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 | |
ก่อนหน้า | พันเอก หลวงเชวงศักดิ์สงคราม |
ถัดไป | พลโท หลวงสินาดโยธารักษ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 | |
ก่อนหน้า | พลโท หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต |
ถัดไป | แสง สุทธิพงศ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2434 |
เสียชีวิต | 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (81 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิงประยูร สุนทรพิพิธ |
ประวัติ
แก้พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) เดิมสกุล มัฆวิบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2434 ณ บ้านริมคลองบางสะแกฝั่งธนบุรี เป็นบุตรนายแพ และนางหุ่น สุนทรพิพิธ เริ่มเรียนหนังสือที่วัดบางสะแกนอก ก่อนจะเข้าศึกษาชั้นประถม โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข ต่อมาจึงได้ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (รัชกาลที่ 6) อยู่ที่วังปารุสวัน และพระราชวังสราญรมย์ โดยทรงโปรดเกล้า ฯ ให้เข้าเรียนในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ปัจจุบัน คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) จนจบประกาศนียบัตรวิชารัฏฐประศาสน์[1]
พระยาสุนทรพิพิธ สมรสกับ คุณหญิงประยูร (เศวตเลข) ธิดาของ หลวงพิสุทธิ์สัตยารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหล่มสัก และนางทรวง (จินตกานนท์) โดยนางทรวงเป็นพี่สาวของ พระยาอรรถวิรัชวาทเศรณี (ปลั่ง จินตกานนท์) อัยการมณฑลอุบลราชธานี มีบุตร-ธิดา 4 คนได้แก่ นายชัยทัต สุนทรพิพิธ นางชยศรี ชาลี นายชัยเสน สุนทรพิพิธ นายชัยเชต สุนทรพิพิธ [2]
พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2516 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าศาลาทักษิณาประดิษฐ์ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2516 เวลา 16.50 น.[3]
ยศ บรรดาศักดิ์ และตำแหน่ง
แก้2454 เป็น ขุนศุภกิจวิเลขการ 2456 เป็น หลวงศุขกิจวิเลขการ ปลัดจังหวัดขุขันธ์ (ศรีษะเกษ) 2459 เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา 2462 เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ 2464 เป็น พระยาสุนทรพิพิธ 2467 เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี[4]
งานการเมือง
แก้พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2489 และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมา รวม 1 สมัย[5] และได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา 1 สมัย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรี 4 คณะ
สมาชิกรัฐสภา
แก้พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) ได้รับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 จังหวัดพิษณุโลก และ ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 3[6]
รัฐมนตรี
แก้พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2489 ในรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์[7][8] และดำรงตำแหน่งต่อในคณะรัฐมนตรีถัดมาจนถึง พ.ศ. 2490[9][10] จากนั้นใน พ.ศ. 2490 จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[11] และพ้นจากตำแหน่งไปในปีเดียวกัน[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2503 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[14]
- พ.ศ. 2511 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[15]
- พ.ศ. 2478 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[16]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[17]
- พ.ศ. 2479 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[18]
- พ.ศ. 2453 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 5 (ว.ป.ร.5)[19]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[20]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติ พระยาสุนทรพิพิธ[ลิงก์เสีย] สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย
- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระยาสุนทรพิพิธ
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก (หน้า 24-25)
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 กันยายน 1924.
- ↑ สมุดภาพสมาชิกรัฐสภา 2475 - 2502. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2502
- ↑ "รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 3" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-08.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 16 ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 15 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2015-06-08.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 16 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-03. สืบค้นเมื่อ 2015-06-08.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 17 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2015-06-08.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 22 ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 18 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-02. สืบค้นเมื่อ 2015-06-08.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๐๕, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๕๒, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ ส่งเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๐๔, ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน เก็บถาวร 2022-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๖๙, ๒๖ กุมภาพันธ์ ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ เก็บถาวร 2022-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๘๘, ๒๖ พฤศจิกายน ๑๓๐