แสง สุทธิพงศ์
นายแพทย์ แสง สุทธิพงศ์ หรือ พระชาญวิธีเวช (21 มีนาคม พ.ศ. 2437 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2512) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
แสง สุทธิพงศ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | พระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) |
ถัดไป | ประจวบ บุนนาค |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 มีนาคม พ.ศ. 2437 อำเภอบางพลัด จังหวัดธนบุรี |
เสียชีวิต | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 (75 ปี) |
คู่สมรส | นางพร้อม สุทธิพงศ์ |
ประวัติ
แก้แสง สุทธิพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2437 ที่อำเภอบางพลัด จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรของนายใช้ และนางชื่น สุทธิพงศ์ มีพี่ชาย 2 คน คือ นายเทียม สุทธิพงศ์ และนายสือ สุทธิพงศ์ ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางพร้อม สุทธิพงศ์[1]
แสง สุทธิพงศ์ เข้าศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนวัดราชบพิธ ชั้นมัธยมที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก จากนั้นเข้าศึกษาที่โรงเรียนราชแพทยาลัย สอบได้ประกาศนียบัตรแพทย์ เมื่อ พ.ศ. 2457 ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 สอบได้ทุนไปเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์
แสง สุทธิพงศ์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ด้วยโรคมะเร็งตับอ่อนและมีงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2513 [2]
การทำงาน
แก้แสง สุทธิพงศ์ เคยเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลกลาง ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2490 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์[3] จนกระทั่งในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน ต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีการรัฐประหารขึ้นโดยคณะทหาร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2504 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2497 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2510 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[8]
- พ.ศ. 2487 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[9]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
- พ.ศ. 2504 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ ชีวประวัติ แสง สุทธิพงศ์
- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายแพทย์ แสง สุทธิพงศ์ (พระชาญวิธีเวช)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ จรี เปรมศรีรัตน์, กำเนิดพรรคประชาธิปัตย์ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 61 ปี ประชาธิปัตย์ ยังอยู่ยั้งยืนยง ISBN 9789747046724
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๕๐๙, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๕๓, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๓๗, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๖๒, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๘๙ ง หน้า ๒๒๗๗, ๓๑ ตุลาคม ๒๕๐๔