มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์
มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง |
มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์ (อังกฤษ: Johns Hopkins University ตัวย่อ JHU) หรือเรียกอย่างย่อว่า ฮอปคินส์ เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในสหรัฐอเมริกา ริเริ่มก่อตั้งโดยประธานาธิบดี เดวิด คอยต์ กิลแมน ตั้งอยู่ที่เมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) โดยมีการเปิดการเรียนการสอบในหลายระดับ มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีประมาณ 4,500 คน[3] และในระดับสูงกว่าระดับปริญญาตรี 15,000 คน[4]
คติพจน์ | Veritas vos liberabit (ภาษาลาติน) |
---|---|
คติพจน์อังกฤษ | The Truth Will Set You Free |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาเอกชน |
สถาปนา | ค.ศ. 1876 |
สังกัดวิชาการ | AAU URA NAICU COFHE ORAU |
ทุนทรัพย์ | 6.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2019)[1] |
อธิการบดี | โรนัลด์ เจ. แดเนียลส์ |
ผู้เป็นประธาน | Sunil Kumar |
ผู้ศึกษา | 26,402 |
ปริญญาตรี | 5,615 (Fall 2018): 33 |
บัณฑิตศึกษา | >20,000: 35 |
ที่ตั้ง | , , สหรัฐ 39°19′44″N 76°37′13″W / 39.32889°N 76.62028°W |
หนังสือพิมพ์ | The Johns Hopkins News-Letter (ก่อตั้ง. ค.ศ.1896) |
สี | น้ำเงิน, ขาว และดำ[2] |
ฉายา | Blue Jays |
เครือข่ายกีฬา | NCAA Division III Centennial Conference, NCAA Division I Big Ten Conference for men’s and women’s lacrosse |
มาสคอต | Blue Jay |
เว็บไซต์ | www |
จอนส์ ฮอปคินส์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่ใช้รูปแบบการจัดการศึกษาแบบมหาวิทยาลัยในเยอรมนี และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้การสัมมนาแทนการสอนโดยการบรรยายเพียงอย่างเดียว รวมทั้งเป็นมหาวิทยาลัยอเมริกันแห่งแรกที่จัดให้มีวิชาเอก (major) แทนหลักสูตรศิลปศาสตร์ทั่วไป ดังนั้นจอนส์ ฮอปคินส์จึงเป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยวิจัยขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งใน 14 สมาชิกก่อตั้งสมาคมมหาวิทยาลัยอเมริกัน หรือ Association of American Universities
จากสถิติของกองทุนวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation) ของสหรัฐอเมริกา จอนส์ ฮอปคินส์เป็นมหาวิทยาลัยที่ครองอันดับ 1 ในด้านการใช้งบประมาณการวิจัยและพัฒนาในสาขาวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นเวลา 30 ปีต่อเนื่องกัน[5]และเป็นสถาบันที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก[6]
จอห์น ฮอปคินส์ มีชื่อเสียงในด้านการแพทย์ สาธารณสุข และ การพยาบาล โดยได้รับการจัดอันดับจากยูเอสนิวส์ในอันดับต้นของประเทศหลายครั้ง นอกจากนั้นจอนส์ ฮอปคินส์ยังมีสถาบันชั้นนำระดับโลกในสาขาอื่น อาทิ สถาบันด้านการดนตรีพีบอดี (Peabody Institute) และด้านการระหว่างประเทศ (The Paul H. Nitze School of Advanced International Studies หรือ SAIS)
จนถึงพ.ศ. 2552 มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์จำนวน 33 คนที่ได้รับรางวัลโนเบล
ความเกี่ยวข้องกับประเทศไทย
แก้การเสด็จฯ เยือนของพระราชวงศ์
แก้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปยังมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์ เมืองบัลติมอร์เพื่อทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านมนุษยธรรม (Honorary Doctorate of Human Letters) ในฐานะที่พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ ด้วยความวิริยะอุตสาหะเพื่อปวงชนชาวไทย
เมื่อวันที่ 5-9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์ที่เมืองบัลติมอร์ และ School of Advanced International Studies (SAIS) ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อทรงเข้าร่วมการอภิปรายเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศสหรัฐอเมริกาต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับคณาจารย์ของ SAIS นอกจากนั้นยังได้พระราชทานพระราชวโรกาสให้ ดร. ซบิกนิเยฟ เบรอซินสกี นักวิชาการอาวุโสของ SAIS และอธิการบดีมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์เป็นเจ้าภาพถวายพระกระยาหารค่ำในสองโอกาสด้วย นอกจากนั้น ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ไปทรงบรรยายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-จีนที่ Hopkins-Nanjing Center เมืองหนานจิง สาธารณรัฐประชาชนจีน
เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2542 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จไปยังราชอาณาจักรเนปาล (ในขณะนั้น) เพื่อทรงเยี่ยมชมโครงการวิจัยโภชนาการที่จังหวัดเทราย และเมื่อวันที่ 15-19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553เสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศเพื่อทรงเยี่ยมชมโครงการวิจัยด้านสุขภาพแม่และเด็ก ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของคณบดีวิทยาลัยสาธารณสุขศาสตร์บลูมเบิร์กแห่งมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปยังมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปคินส์ เพื่อทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายปริญญษดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากนั้นเสด็จฯ ไปยังวิทยาลัยสาธารณสุขศาสตร์เพื่อทรงรับฟังการบรรยายสรุปจากนักวิชาการและทอดพระเนตรบริเวณวิทยาลัย
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชาวต่างประเทศ
แก้- วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ประธานาธิบดีคนที่ 28 ของสหรัฐอเมริกา
- ทิโมธี ไกธ์เนอร์ (Timothy Geithner) (SAIS) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกาในสมัยประธานาธิบดีบารัก โอบามา
- ราเชล คาร์สัน (Rachel Carson) นักธรรมชาติวิทยาชาวอเมริกัน
- ไมเคิล บลูมเบิร์ก (Michael Bloomberg) นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก ผู้ก่อตั้งบริษัทบลูมเบิร์ก
- เดฟ ซีฟรี (Dave Sifry) ผู้ก่อตั้งเทคโนราที
- จอห์น ดูอี (John Dewey) นักปฏิรูปการศึกษา
ชาวไทย
แก้- ศาสตราจารย์อุปการคุณ นายแพทย์ เฉลิม พรมมาส อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา
- ดร.กอบศักดิ์ ชุติกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติไทย อดีตที่ปรึกษาพิเศษของเลขาธิการอังค์ถัด อดีตเอกอัครราชทูต
- ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย อดีตประธานที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พลตำรวจเอกเภา สารสิน อดีตอธิบดีกรมตำรวจ
- จักรภพ เพ็ญแข (SAIS) อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- ศาสตราจารย์คลินิก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ นพ. นิกร ดุสิตสิน นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2530
- นพ. เฉก ธนะสิริ แพทย์ชาวไทยได้รับรางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2549
- ศาสตราจารย์พิเศษ นพ. ธีระ รามสูต กรรมการผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาโรคเรื้อน WHO ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค
- หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล (SAIS) นักสื่อสารมวลชน
- รศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ (SAIS) อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสถาบันความมั่นคงและนานาชาติศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ต่างประเทศ
- รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พระชาญวิธีเวช (แสง สุทธิพงศ์) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายกิตติเทพ เทพหัสดิน ณ อยุธยา (SAIS) เลขานุการเอกคณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก นักการทูตชำนาญการ กระทรวงการต่างประเทศ
อ้างอิง
แก้- ↑ As of June 30, 2019. "U.S. and Canadian Institutions Listed by Fiscal Year (FY) 2019 Endowment Market Value and Change in Endowment Market Value from FY 2018 to FY 2019". National Association of College and University Business Officers and TIAA. สืบค้นเมื่อ January 31, 2020.
- ↑ "Color – Johns Hopkins Identity Guidelines". สืบค้นเมื่อ November 14, 2015.
- ↑ "Facts & Figures, Johns Hopkins University". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-22. สืบค้นเมื่อ 2008-05-30.
- ↑ http://www.jhu.edu/registrat/reports/fall07/headcount.pdf
- ↑ http://newswire.ascribe.org/cgi-bin/behold.pl?ascribeid=20091006.062525&time=07%2056%20PDT&year=2009&public=0[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://sciencewatch.com/inter/ins/09/09Top20Overall/