ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ นิกร ดุสิตสิน เกิด 1 สิงหาคม พ.ศ. 2474 นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2530[1] อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


นิกร ดุสิตสิน

เกิด1 สิงหาคม พ.ศ. 2474 (92 ปี)
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ

การศึกษา

แก้

ตำแหน่งในปัจจุบัน

แก้
  • อาจารย์พิเศษ ภาควิชาสูติศาสตร์-รีเวชวิทยา คณะแพทยสาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ที่ปรึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเพศศาสตร์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ประธานชมรมเพศศาสตร์ศึกษา

หน้าที่การงานอดีต

แก้
  • ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 วาระ
  • สมาชิกในคณะกรรมการองค์การอนามัยโลก หลายคณะและหลายวาระ

เกียรติประวัติและรางวัล

แก้
  • รางวัลจากสำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้รับรางวัลผลงานคิดค้นและสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ รางวัลที 3 ประจำปี พ.ศ. 2522 ในการทำวิจัยเรื่อง“การชันสูตรหลอดอสุจิโดยวิธีย้อมสีไรท์”
  • รางวัลผลงานคิดค้นและสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ รางวัลที 1 ประจำปี พ.ศ. 2528 ในการทำวิจัยเรื่อง “รูปแบบการอบรมพยาบาลห้องผ่าตัดทำหมันหลังคลอด”
  • นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2530 ในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมประจำปี พ.ศ. 2540 “ผลของยาฉีดคุมกำเนิดชนิดเดโปเมดดรอกซีโปรเจสเตอโรนอาซิเตทในการป้องกันการเกิดเนื้องอกมดลูกเปรียบเทียบหลายสถาบัน” ร่วมกับนักวิจัยรวม 12 คน
  • รางวัลที่ 1 เรื่อง “เครื่องคะเนน้ำหนักสำหรับ เด็กแรกเกิดและเด็กอายุ 1-5ขวบ ”
  • รางวัลที่ 1 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับคณะอีก 2 คนในการพัฒนาวิธีการทำหมันแห้งที่เหมาะสมสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
  • รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล-บีบราวน์ เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทย ประจำปี พ.ศ. 2545(Mahidol University – B.Braun Prize 2002) จากผลงานเรื่อง “The Story of Human Reproduction and Family Planning”
  • ผลงานวิจัยดีเด่น ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2525
  • รางวัลผลงานวิจัย “ดีเด่น” เงินทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2528 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ในเรือง “เครื่องมือจุฬาสโคปและการเผยแพร่ผลงานวิจัย” ร่วมกับนักวิจัยรวม 3คน
  • รางวัลสิ่งประดิษฐ์ HardWare ที่ใช้งานกับระบบชีวภาพในงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์ ประจำปี พ.ศ. 2534 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผลงานวิจัย

แก้
  • งานวิจัยในสาขาสูติศาสตร์ -นรีเวชวิทยาและการวางแผนครอบครัวรวมประมาณ 125 เรื่อง และได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่อง “โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาสุขภาพทางเพศ”โดยเป็นหัวหน้าโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539

ความสำเร็จ

แก้
  • นโยบายการวางแผนครอบครัว (ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์จรัญพัฒน์ อิศรางกูรฯ)
  • นโยบายเชิงรุก (อารี สมบูรณ์สุข, นิกร ดุสิตสินและ หม่อมหลวงตะวันฉาย ศิริวงศ์)ทำงานอย่างเป็นองค์รวม
    • Reproductive Physiology and Endocrinology Laboratories (WHO Reference Centre) ( ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณมานา บุญคั้นผล )
    • Operations Research ( เทคโนโลยีที่เหมาะสมและบริการสู่ชุมชน )
    • The WHO Inter-Regional Collaborative Research Project for Clinical Evaluation of Fertility Regulating Agents (2515 - 2519)
    • The WHO Collaborating Centre for Research in Human Reproduction “WHO CCR” (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520)

ผลงานการพัฒนาบุคลากร

แก้

ประกาศเกียรติคุณ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2530

แก้

ด้วยคณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ได้พิจารณาเห็นว่า นายนิกร ดุสิตสิน ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักวิจัยที่ได้อุทิศตนให้กับการวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านการวางแผนครอบครัวอย่างต่อเนื่อง มีผลงานวิจัยที่ดีเด่นเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ จนได้รับการยอมรับและยกย่องในวงวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศหลายเรื่อง อาทิ การชันสูตรหลอดอสุจิโดยวิธีย้อมสีไรท์ รูปแบบการอบรมพยาบาลห้องผ่าตัดทำหมันหญิงหลังคลอด วิธีที่เร็วในการวิเคราะห์หาระดับ 5 แอลฟ่าไดไฮโดรเทสทอสเตอโรน โดยวิธีเรดิโออิมมิวโมแอสเสย์ เครื่องมือจุฬาสโคป เป็นต้น ซึ่งผลการวิจัยเหล่านี้มีความสมบูรณ์ทั้งในแง่เนื้อหาวิชาการและด้านวงจรชีวิตจริงในการวางแผนครอบครัว ตลอดจนการนำไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการ จึงนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีบทบาททางด้านสาธารณสุขในการแก้ปัญหาด้านการวางแผนครอบครัว ศาสตราจารย์ นายแพทย์ นิกร ดุสิตสิน เป็นผู้มีจริยธรรมของนักวิจัยที่นับเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักวิจัยผู้อื่น มีความตั้งใจปฏิบัติงานให้ถูกต้องแม่นยำ มีความสามารถทั้งในการวิจัย การสอน และการบริหาร เป็นผู้ที่ได้เผยแพร่ความรู้ทางด้านกระบวนการวิจัยแก่วงการแพทย์และเสริมสร้างบรรยากาศให้นักวิจัยใหม่ๆ

คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ จึงมีมติให้ประกาศเกียรติคุณ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ นิกร ดุสิตสิน เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2530 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๒๗ – ๒๕๕๔ รวม ๑๒ สาขาวิชาการ เก็บถาวร 2013-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นข้อมูลเมื่อ 23 กันยายน 2556
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนกนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๖, ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓๘, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้