กอบศักดิ์ ชุติกุล

ดร.กอบศักดิ์ ชุติกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคชาติไทย และอดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2547 จาก พรรคชาติไทย

กอบศักดิ์ ชุติกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 สิงหาคม พ.ศ. 2494 (72 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย (2519 – 2550)
คู่สมรสหม่อมหลวงลักษสุภา กฤดากร

ประวัติ แก้

กอบศักดิ์ ชุติกุล เกิดวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2494 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 3 คน ของนายพยงค์ ชุติกุล และหม่อมราชวงศ์เลิศลักษณา ชยางกูร[1] เมื่อมีอายุ 1 ปี บิดาได้พาไปอยู่ที่โตเกียว พออายุได้ 4 ขวบ กลับมาเข้าเรียนที่โรงเรียนสมถวิล และได้ศึกษาต่อ ปริญญาตรี ศิลปศาสตร์ (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย, ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา จนจบปริญญาเอก สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่มหาวิทยาลัยเซาท์อีสต์เทิร์น วอชิงตัน ดี.ซี. สมรสกับหม่อมหลวงลักษสุภา กฤดากร

การทำงาน แก้

กองศักดิ์ ชุติกุล เริ่มรับราชการเป็น เลขานุการตรี ประจำกรมการเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2515 ต่อมาอยู่กองเอเชียตะวันออก รัฐบาลไทยกำลังจะเปิดสัมพันธ์กับจีน ถูกจับปลอมตัวแอบแฝงกับคณะนักกีฬาของไทยไปปักกิ่งหลายครั้ง จนเปิดสัมพันธ์ทางการทูตสำเร็จ เคยเป็นล่ามประจำตัวนายกรัฐมนตรี (พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์) เมื่อปี พ.ศ. 2521

ดำรงตำแหน่ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) พรรคชาติไทย[2] เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544, รองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ คนที่ 4 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2544 และ รองหัวหน้าพรรคชาติไทย เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2544

นอกจากนี้ยังเป็นผู้ร่างคำแถลงลาออกของนายกรัฐมนตรี (พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์) เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523, เลขานุการเอกสถานทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี., เลขานุการเอกคณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ, รองอธิบดีกรมการเมือง และขึ้นเป็นข้าราชการ ระดับ 10 เอกอัครราชทูต ประจำกระทรวง ปี พ.ศ. 2531, เอกอัครราชทูต สถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงปราก ปี พ.ศ. 2533, เอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐเชกและสโลวัก ปี พ.ศ. 2534 และเป็น อธิบดีกรมอาเซียน ปี พ.ศ. 2537, อธิบดีกรมเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2538, อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ, อธิบดีกรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2542, กรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2544

ในกลางปี พ.ศ. 2547 ดร.กอบศักดิ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยได้รับการสนับสนุนจากนายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าฯคนก่อน แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๓๓๓, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒