ปิยะสกล สกลสัตยาทร
ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร (9 กรกฎาคม 2491 - ) แพทย์ และ นักวิชาการชาวไทย นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กรรมการในคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ประะธานคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม[1]ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ[2] ในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ [3] กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น[4]รองประธานกรรมการในคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ [5]กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรรมการ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ [6] นายกสภาสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา[7] เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล โดยเข้ารับตำแหน่งในปีแรกที่มหาวิทยาลัยมหิดลออกนอกระบบเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (9 ธันวาคม 2550 - 8 ธันวาคม 2554) มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการนำมหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งสู่การติดอันดับ 1 ใน 100 ของมหาวิทยาลัยโลก เป็นคณบดีคนที่ 15 ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ต่อเนื่อง 2 สมัย (พ.ศ. 2543 - 2550)[ต้องการอ้างอิง] ได้ถวายงานเป็นแพทย์อาสาตามเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 26 ปี [ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ ปิยะสกล ยังได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่ พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน
ปิยะสกล สกลสัตยาทร | |
---|---|
ปิยะสกล ในปี พ.ศ. 2566 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 19 สิงหาคม 2558 – 10 กรกฎาคม 2562 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | รัชตะ รัชตะนาวิน |
ถัดไป | อนุทิน ชาญวีรกูล |
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม 2550 – 8 ธันวาคม 2554 | |
ก่อนหน้า | ศ.ดร.นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ |
ถัดไป | ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน |
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2550 | |
ก่อนหน้า | ศ.พญ.ชนิกา ตู้จินดา |
ถัดไป | ศ.นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | สมสิริ สกลสัตยาทร |
ประวัติ
แก้ปิยะสกล เป็นบุตรของหลวงสกลสัตยาทร และนางประหยัด สกลสัตยาทร สมรสกับ พญ.สมสิริ สกลสัตยาทร กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สมิติเวช จำกัด มหาชน มีบุตรธิดาจำนวน 3 คน คือ นายสืบสกล นางสาวสรัลธร และ พญ.ณัฎฐา สกลสัตยาทร ปิยะสกลเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์และอุบัติเหตุ
การศึกษา
แก้- จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จากโรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เมื่อปี พ.ศ. 2514
- ได้รับวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ จากแพทยสภา เมื่อปี พ.ศ. 2518
- ผ่านการอบรม Fellowship Training สาขา Critical Care Medicine จากมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ เมื่อปี พ.ศ. 2528 และสาขา Injury Epidemiology เมื่อปี พ.ศ. 2531 จาก Centers for Disease Control, เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา
- สำเร็จหลักสูตร วปอ. จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เมื่อปี พ.ศ. 2538
ประวัติการทำงาน
แก้ตำแหน่งวิชาการ
- พ.ศ. 2518 - อาจารย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- พ.ศ. 2543 - ศาสตราจารย์คลินิก ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ตำแหน่งบริหาร
- 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - นายกสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร[8]
- 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 4 กุมภาพันธ์ 2559 - นายกสภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช[9]
- พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน - นายกสภาสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
- 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน - นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล
ตำแหน่งบริหารในสมาคมและองค์กรต่างๆ
- พ.ศ. 2543 - ปัจจุบัน - ประธานกรรมการมูลนิธิโรคมะเร็ง โรงพยาบาลศิริราช
- พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน - รองประธานกรรมการบริหารศิริราชมูลนิธิ คนที่ 2
ตำแหน่งที่สำคัญในอดีต
- พ.ศ. 2532 - เลขาธิการสมาคมแพทย์อุบัติเหตุแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2532 - 2534 - รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- พ.ศ. 2534 - 2538 - เลขานุการสภามหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2534 - 2538 - รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2534 - 2540 - อนุกรรมการสอบเพื่อวุฒิบัตรศัลยศาสตร์ทั่วไป ของแพทยสภา
- พ.ศ. 2539 - 2541 - รองคณบดีฝ่ายตรวจสอบคุณภาพงานและทรัพย์สิน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- พ.ศ. 2539 - 2541 - อุปนายกสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช
- พ.ศ. 2541 - เลขาธิการสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2543 - 2554 - รองประธานมูลนิธิรางวัลเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2543 - 2550 - คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2548 - 2549 - คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม
- พ.ศ. 2548 - 2549 - ประธานคณะกรรมการตรวจสอบองค์การเภสัชกรรม
- พ.ศ. 2550 - 2554 - อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2558 - 2562 - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- พ.ศ. 2561 - 2562 - กรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[10]
คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ เขาประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการประกอบโรคศิลปะ 5 ราย[11] มีผลวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558
- นายเเพทย์จิรวุสฐ์ สุขได้พึ่ง
- ศาสตราจารย์คลินิกพิเศษ นายเเพทย์เสรี ตู้จินดา
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นายเเพทย์เฉลิม หาญพานิชย์
- นายเเพทย์ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์
- เภสัชกรยงศักดิ์ ตันติปิฎก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)[15]
- พ.ศ. 2544 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[16]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[17]
รางวัลที่ได้รับ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/067/T_0215.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/272/11.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/067/T_0160.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/030/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/097/T_0050.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/057/T_0008.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/082/4.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/040/4.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/040/4.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/135/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/260/2.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๔, ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือผู้ประสบธรณีพิบัติภัย “สึนามิ” เก็บถาวร 2022-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๘๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๓๓๓, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗
- ↑ Improbable Research [1]
- สรนิต ศิลธรรม และคณะ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร 2543-2550 คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คือความภาคภูมิใจของชาวศิริราช. [กรุงเทพฯ] : แปลนพริ้นติ้ง, 2550.
ก่อนหน้า | ปิยะสกล สกลสัตยาทร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
รัชตะ รัชตะนาวิน | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562) |
อนุทิน ชาญวีรกูล |