กบฏนายสิบ
กบฏนายสิบ เป็นแผนที่จะเกิดขึ้นในเวลา 03.00 น. วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2478 หลังการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) แล้ว และเสด็จไปประทับยังประเทศอังกฤษ
กบฏนายสิบ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา พันโท หลวงพิบูลสงคราม | สิบเอก สวัสดิ์ มหะมัด |
เหตุการณ์
แก้เมื่อนายทหารชั้นประทวนในกองพันต่าง ๆ นำโดย สิบเอก สวัสดิ์ มหะมัด ได้รวมตัวกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยหมายจะสังหารนายทหารและบุคคลสำคัญต่าง ๆ ในกองทัพบกและรัฐบาลหลายคน โดยเฉพาะหลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) ให้จับตายเท่านั้น และเมื่อลงมือจริงต้องสามารถจับ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีเป็นตัวประกัน และจับตาย พันโทหลวงพิบูลสงคราม (จอมพลป. พิบูลสงคราม - ยศในขณะนั้น) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยมีแผนการจะยึดที่ทำการกระทรวงกลาโหมเป็นฐานบัญชาการ และปล่อยตัวนักโทษการเมืองต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นกองกำลังด้วย จากนั้นจะอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นิวัติคืนสู่พระนคร และเสด็จขึ้นครองราชย์อีกครั้ง[1]
แต่รัฐบาลล่วงรู้แผนการไว้ได้ก่อน จึงสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2478 เวลา 12.00 น. ต่อมาได้มีการตั้งศาลพิเศษชำระคดี หัวหน้าฝ่ายกบฏ ส.อ.สวัสดิ์ มหะมัด ถูกตัดสินประหารชีวิต โดยศาลนี้ไม่มีทนาย ไม่มีอุทธรณ์ ไม่มีฎีกา และสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2478 ที่ป้อมพระจุล จังหวัดสมุทรปราการโดยเพชรฆาตนายทิพย์ มียศ[2][3]และเป็นผู้ถูกประหารชีวิตโดยการยิงเป้าคนแรกของประเทศไทย
หลังจากสิ้นสุด
แก้แนวคิดในการก่อกบฏครั้งนี้เกิดขึ้นในกองพันทหารราบที่ 2 ในบังคับบัญชาของ พันตรีหลวงประหารริปู ซึ่งตั้งอยู่ในวังจันทรเกษม (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน)
ผู้เริ่มต้นแนวคิดนี้ คือนายสิบจำนวน 8 คน (ผู้ต้องหาไม่ยอมซัดทอดว่ามีนายทหารหรือใครที่ใหญ่กว่านี้อยู่เบื้องหลังหรือไม่ แม้ว่ารัฐบาลจะเชื่อว่าน่าจะมี โดยเฉพาะพยายามให้ซัดทอดพระยาทรงสุรเดชมากที่สุด แต่ไม่เป็นผล)
ผู้ที่เป็นต้นคิดของเหล่าสิบกองพันนี้ก็คือ สิบเอกถม เกตุอำไพ ซึ่งต่อมาก็ได้ขยายวงไปยังกองพันทหารราบที่ 3 และนายทหารอีก 7 คนที่เป็นจุดเริ่มของกบฏครั้งนี้ คือ สิบเอกแช่ม บัวปลื้ม, สิบเอกตะเข็บ สายสุวรรณ, สิบเอกเท้ง แซ่ซิ้ม, สิบเอกกวย สินธุวงศ์, สิบเอกเข็ม เฉลยทิศ, สิบโทหม่อมหลวงทวีวงษ์ วัชรีวงศ์, สิบโทแผ้ว แสงส่งสูง
ซึ่งทั้ง 8 คนนี้เป็นนายสิบอาวุโสของกองพัน เป็นผู้ที่คุมคลังอาวุธของกองพัน และเป็นทหารที่ใกล้ชิดกับเหล่าพลทหารที่เป็นกำลังหลักของแต่ละกองพัน ซึ่งเหล่านายสิบนี้คาดว่าจะนำกำลังเหล่านี้ออกปฏิบัติการในวันก่อการ
ส่วนกองพันทหารราบที่ 3 ที่อยู่ฝั่งตรงกันข้ามนั้นมี จ่านายสิบสาคร ภูมิทัต กับ สิบเอกสวัสดิ์ มหะหมัด เป็นหัวแรงสำคัญ การพบปะพูดคุยกันก็ใช้ร้านค้าร้านอาหารที่สังสรรค์ของระดับชั้นประทวน
แผนที่เหล่านายสิบกลุ่มนี้คิดขึ้น คือ จะมีการนำเอารถถังออกมาข่มขวัญสักจำนวนหนึ่ง และแบ่งสายทหารราบเข้าประชิดตัวบรรดาสมาชิกของคณะราษฎร โดยเฉพาะสายของหลวงพิบูลสงคราม เช่น หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ, พันตำรวจเอกหลวงอดุลเดชจำรัส และ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา
แต่ว่าแผนการทั้งหมดได้เกิดแตกเสียก่อน เมื่อสิบเอกผู้หนึ่งในกรมรถรบที่ร่วมรู้ในแผนได้นำไปบอกกับทางรัฐบาล[4] [5]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 5 สิงหาคม 2478 กบฏนายสิบ, "ย้อนรอยประวัติศาสตร์รัฐประหารไทย". สารคดีทางดีเอ็นเอ็น: 20 พฤศจิกายน 2554
- ↑ จาก ๒ ดาบ มาเป็น ๑๕ นัด และ ๓ เข็ม จนถึงมีไว้แค่ขู่! โทษประหารชีวิตของประเทศไทย!!
- ↑ "การลงโทษประหารชีวิต เป็นการลงโทษผู้กระทำความผิดที่หนัก และรุนแรงที่สุดจุดมุ่งหมายคือการกำจัดผู้กระทำความผิดให้พ้นไปเสียจากสังคมโดยเด็ดขาดด้วยวิธีการฆ่าหรือวิธีกระทำให้ถึงแก่ความตาย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-09-04.
- ↑ วิมลพรรณ ปิตธวัชชัย, เอกกษัตริย์ ใต้รัฐธรรมนูญ: บทที่ ๑๐ ความขัดแย้ง (ต่อ) หน้า 2: เดลินิวส์ ฉบับวันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ
- ↑ อริน, เกลือเป็นหนอน กบฏนายสิบ พ.ศ. 2478 ฝ่ายปฏิปักษ์ประชาธิปไตยล้มเหลวซ้ำสอง: นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 281 วันที่ 16– 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553 หน้า 13
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- กบฏนายสิบ เก็บถาวร 2009-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน