พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา[หมายเหตุ ก] ป.ม. ท.จ.ว. ต.ช. ร.ด.ม. (ศ) ว.ป.ร. ๓ ป.ป.ร. ๔ (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491) นามเดิม ก้อน หุตะสิงห์ เป็นขุนนางชาวสยาม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสยามคนแรกหลังจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 โดยได้รับเลือกจากสมาชิกคณะราษฎรเพื่อเป็นการประนอมอำนาจกับอำนาจเก่า เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (พ.ศ. 2475) ซึ่งมีการเพิ่มพระราชอำนาจเป็นอันมากเมื่อเทียบกับรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวก่อนหน้า นอกจากนี้ ยังยึดอำนาจรัฐบาลตนเองใน พ.ศ. 2476 และเสนอชื่อตนเองเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมให้งดใช้รัฐธรรมนูญดังกล่าว[1][2] ก่อนจะถูกขับจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในรัฐประหารตอบโต้จากพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร[3] จึงลี้ภัยไปอยู่ปีนังจนวาระสุดท้ายของชีวิต[4]
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา | |
---|---|
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ใน พ.ศ. 2473 | |
นายกรัฐมนตรีสยาม คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 (0 ปี 193 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | ตนเอง (ในฐานะประธานคณะกรรมการราษฎร) |
ถัดไป | พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) |
ประธานคณะกรรมการราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 28 มิถุนายน – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (0 ปี 165 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | ตนเอง (ในฐานะนายกรัฐมนตรี) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2475 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2476 (0 ปี 181 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | ตนเอง (ในฐานะเสนาบดี) |
ถัดไป | เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) |
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 มิถุนายน – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (0 ปี 164 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม |
ถัดไป | ตนเอง (ในฐานะรัฐมนตรี) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ก้อน 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 เมืองพระนคร มณฑลกรุงเทพ ประเทศสยาม (ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย) |
เสียชีวิต | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 (64 ปี) รัฐปีนัง สหพันธรัฐมาลายา (ปัจจุบัน รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย) |
คู่สมรส |
|
บุตร | ตุ้ม หุตะสิงห์ |
บุพการี |
|
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 ที่บ้านถนนตรีเพชร ตำบลพาหุรัด จังหวัดพระนคร เป็นบุตรคนสุดท้องของนายฮวด กับนางแพ้ว หุตะสิงห์ ซึ่งทั้งสองเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน[5] เขาได้เริ่มการศึกษาชั้นต้นโดยเรียนวิชาหนังสือไทยที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) เมื่อปี พ.ศ. 2433 เป็นเวลา 4 ปี จึงสอบไล่ได้ประโยค 1 จากนั้นจึงได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นเวลา 4 เดือน แล้วจึงเข้าศึกษาต่อวิชาหนังสือไทยที่วัดจักรวรรดิ์จนสอบไล่ได้ประโยค 2 ในปี พ.ศ. 2437 ต่อมาจึงได้เข้าศึกษาต่อวิชาภาษาอังกฤษที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เป็นเวลา 4 ปี จนจบชั้นปีที่ 4 และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2445 จึงได้เข้าศึกษาต่อวิชากฎหมายที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม จนสำเร็จเป็นเนติบัณฑิตสยามในปี พ.ศ. 2446[6]: ก ต่อมาเขาได้ทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาด้านกฎหมายจนสำเร็จเนติบัณฑิตจากสถาบัน The Middle Temple กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2448 เมื่อสำเร็จเนติบัณฑิตสยามแล้ว ท่านได้เข้ารับราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ กระทรวงยุติธรรม จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงประดิษฐ์พิจารณ์การ” จนกระทั่งได้เป็น “พระสมุหนิติศาสตร์” และ “พระยามโนปกรณ์นิติธาดา” ในที่สุด
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ สังกัดกระทรวงยุติธรรม และนอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมาย ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามาก ในเวลาต่อมาท่านได้เป็นอธิบดีศาลฎีกา และได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรีที่ปรึกษาราชการในพระองค์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2461 ต่อมาขณะเกิดการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา กำลังดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการคลังในขณะนั้น[7]
บทบาททางการเมือง
แก้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นผู้ที่จบการศึกษาวิชากฎหมายระดับเนติบัณฑิต จากประเทศอังกฤษ เป็นข้าราชการตุลาการผู้ที่ได้ชื่อว่ามือสะอาด ไม่เคยมีเรื่องด่างพร้อยมาตลอดชีวิตการรับราชการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านได้รับเลือกจากคณะราษฎรโดยนายปรีดี พนมยงค์ ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกที่มีด้วยกันทั้งหมด 70 คน ที่มาจากการแต่งตั้ง และได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ ด้วยหวังว่าท่านจะเป็นคนกลางประสานความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้นิยมการปกครองแบบเก่า และกลุ่มผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ถูกทาบทามตั้งแต่วันแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ทว่ายังไม่ตอบรับเลยในทันที เพียงแต่ขอเวลาไปตัดสินใจหนึ่งคืน และได้ให้คำตอบรับในเช้าวันถัดมา[8]
จากกรณีร่างเค้าโครงเศรษฐกิจ (สมุดปกเหลือง) ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เขาใช้เล่ห์กลในการปัดเค้าโครงดังกล่าวตกไป และยกพระราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมุดปกขาว) ซึ่งไม่มีผู้รับสนองมาอ้าง เขาสมคบกับพระยาทรงสุรเดช สมาชิกคณะราษฎรที่แยกตัวออกไป ใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีปิดสภา พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา[9]: 19 รวมทั้งได้เนรเทศนายปรีดี พนมยงค์ ไปประเทศฝรั่งเศส[9]: 21 และออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์เป็นฉบับแรกด้วย นับว่าเป็นรัฐประหารครั้งแรกของไทย และเป็นจุดด่างพร้อยของประชาธิปไตยไทยมาจวบจนปัจจุบัน
เหตุการณ์ความขัดแย้งเหล่านี้ ได้บานปลายนำไปสู่การรัฐประหารในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2476 ที่ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎรได้รัฐประหารคืน และเนรเทศไปยังปีนังด้วยรถไฟ พร้อมกับเรียกตัวนายปรีดีกลับมาจากฝรั่งเศส ซึ่งพระยามโนปกรณ์นิติธาดาก็ได้ใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ที่ปีนัง ตราบจนถึงแก่อสัญกรรม
ชีวิตส่วนตัวชื่นชอบในการเดินป่าและล่าสัตว์ป่า[10]
ครอบครัว
แก้พระยามโนปกรณ์นิติธาดาสมรสครั้งแรกกับคุณหญิงนิตย์ มโนปกรณ์นิติธาดา (สกุลเดิม สาณะเสน) ธิดาของพระยาวิสูตรโกษา (ฟัก สาณะเสน) กับคุณหญิงสมบุญ วิสูตรโกษา เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455[11] คุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดาเข้ารับราชการเป็นนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ต่อมาคุณหญิงตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เมื่อคราวเสด็จประพาสอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 6 เมษายน - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 เพราะคุณหญิงเป็นสามารถสื่อสารภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน และอิตาลีได้ดี[11] จนเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคมนั้น ได้เกิดอุบัติเหตุเมื่อรถยนต์ที่เธอนั่งพุ่งชนเข้ากับเสาโทรเลขจากความประมาทของพลขับ[12] ทำให้คุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดาบาดเจ็บสาหัสที่ศีรษะมีบาดแผลฉกรรจ์ ภายหลังคุณหญิงทนพิษบาดแผลไม่ไหวจึงเสียชีวิตลงในเวลา 12.35 น. ของวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2473[12] ดังปรากฏใน จดหมายเหตุรายวันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสประเทศอินโดจีน พ.ศ. 2473 ความว่า[11]
"วันนี้ [4 พฤษภาคม พ.ศ. 2473] เกิดเหตุอันน่าสลดใจอย่างยิ่งคือ ประมาณอีก 7 กิโลเมตรจะถึงกัมพงจาม รถยนต์คันที่พระยาสุรวงศ์ฯ คุณหญิงมโนปกรณ์ฯ และคุณวรันดับ บุนนาค นั่งมานั้น โดยความเลินเล่อของคนขับรถชาติญวน รถได้แล่นขึ้นไปบนกองหิน ซึ่งเจ้าหน้าที่กองไว้ริมถนนสำหรับจะทำการซ่อมแซม แล้วตรงไปชนเสาโทรเลข ซึ่งอยู่ข้างหน้าระดับเดียวกับกองหิน รถจึงคว่ำลงในท้องนาริมถนน
…ผู้ที่ต้องอันตรายนั้น คือ พระยาสุรวงศ์ฯ คุณหญิงมโนปกรณ์ฯ และคุณวรันดับ สำหรับพระยาสุรวงศ์ฯ และคุณวรันดับ แม้อยู่ภายใต้รถที่คว่ำอยู่ก็ดีหาต้องอันตรายร้ายแรงไม่…ส่วนคุณหญิงมโนปกรณ์ฯ นั้นไม่ได้อยู่ใต้รถด้วย แต่ได้รับบาดเจ็บสาหัสโดยศีรษะฟาดกับเสาโทรเลขหรือถนนหรือรถยนต์ไม่ทราบแน่ถึงกับสลบแน่นิ่งไปทันที แพทย์ตรวจว่ากะโหลกศีรษะแตกตั้งแต่ตอนล่าง
พระยาสุรวงศ์ฯ และคนอื่น ๆ ได้จัดการช่วยกันอุ้มขึ้นรถยนต์เพื่อนำไปโรงพยาบาลโดยเร็ว แต่ในขณะที่ข้ามแม่น้ำโขงนั้นคุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดาทนพิษบาดแผลเจ็บไม่ได้ สิ้นชีพเวลา 12.35 น. …"
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงร่นระยะเวลาพระราชกรณียกิจ และโปรดให้งดงานรื่นเริงต่าง ๆ ระหว่างการเสด็จประพาสไปเสียสิ้น[12] ข้ารัฐการฝรั่งเศสให้การช่วยเหลือการจัดส่งศพเป็นอย่างดี พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเดินทางจากพระนครมารับศพของคุณหญิงที่กัมพูชาด้วยตนเอง[11] พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งผ่านโทรเลขให้กรมรถไฟหลวงจัดรถไฟไปรับที่สถานีรถไฟอรัญประเทศ และมีรับสั่งให้แผนกพระราชพิธีกระทรวงวังเตรียมการศพเป็นกรณีพิเศษ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นเจ้าภาพงานศพ และการพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงเป็นงานพิเศษดั่งงานหลวง และโปรดเกล้าให้กรมศิลปากรสร้างอนุสาวรีย์เสาหินรูปหน้านางสี่หน้าเพื่อเก็บอังคารของคุณหญิงที่วัดปทุมวนาราม[12][11]
หลังการเสียชีวิตของคุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดา พระยามโนปกรณ์นิติธาดาจึงใช้ชีวิตคู่กับ เชย หุตะสิงห์[12]และมีบุตรคนเดียวคือ ตุ้ม หุตะสิงห์[12]
เหตุการณ์สำคัญขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
แก้- 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 - การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475
- 1 เมษายน พ.ศ. 2476 - ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา (รัฐประหารในประเทศสยาม เมษายน พ.ศ. 2476)
- 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 - การรัฐประหารในประเทศสยาม มิถุนายน พ.ศ. 2476
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
แก้ในปี พ.ศ. 2567 ได้มีการสร้างแอนิเมชันเรื่อง ๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ โดยมีตัวละคร พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พากย์เสียงโดย นิติพงษ์ ห่อนาค
ตำแหน่ง
แก้- 4 เมษายน 2462 – องคมนตรี[13]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2470 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[14]
- พ.ศ. 2474 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[15]
- พ.ศ. 2459 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[16]
- พ.ศ. 2455 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[17]
- พ.ศ. 2472 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[18]
- พ.ศ. 2462 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[19]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)[20]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้หมายเหตุ ก บางแห่งเขียน "พระยามโนปกรณนิติธาดา"[21][22]
อ้างอิง
แก้- ↑ “1 เมษายน 2476 รัฐประหารครั้งแรก ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย”
- ↑ “รักที่จากไปไกล” ของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกฯ คนแรกของไทย
- ↑ “พระยาพหลพลพยุหเสนา : การยึดอำนาจทวงคืนประชาธิปไตย หลังวิกฤติการณ์ “เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ””]
- ↑ ธงทอง จันทรางศุ (2023-06-24). "2 สถานะของ 'พระยามโนปกรณ์นิติธาดา' หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง นายกฯ คนแรก และผู้เริ่มก่อรัฐประหาร". The Standard.
- ↑ Preston et al. (1997), p. 464; 51. Phya Manopakarana Nitidhada. He spoke perfect English and was always very friendly to England. Is three parts Chinese. His wife, who was a favourite lady-in-waiting to the ex-Queen, was killed in a motor accident in 1929 when on an official visit to Indo-China.
- ↑ นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า กรมพระยา, 2406-2490 และ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา, 2405-2486 (2492). สาส์นสมเด็จ ภาคหนึ่ง พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกโท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2492. โรงพิมพ์พระจันทร์.
- ↑ "พระยามโนปกรณ์นิติธาดา". สถาบันพระปกเกล้า. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-09. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ นายหนหวย. เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ. กรุงเทพฯ : พิมพ์จำหน่ายด้วยตัวเอง, 2530. 704 หน้า. หน้า 284.
- ↑ 9.0 9.1 ใจจริง, ณัฐพล (2556). ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ: ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475-2500) (1 ed.). ฟ้าเดียวกัน. ISBN 9786167667188.
- ↑ "นายกฯคนแรก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-05. สืบค้นเมื่อ 2009-10-03.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 ""รักที่จากไปไกล" ของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกฯ คนแรกของไทย". ศิลปวัฒนธรรม. 28 พฤษภาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 OSKNETWORK. OSK พระยามโนปกรณ์นิติธาดา 'คนนอกคณะราษฎร' นายกรัฐมนตรีคนแรกของสยามประเทศ. เรียกดูเมื่อ 5 กันยายน 2555
- ↑ บัญชีรายพระนามและนามผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นองคมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ เก็บถาวร 2017-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 44 ตอนที่ 0 ง หน้า 2577, 20 พฤศจิกายน 2470
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 48 ตอนที่ 0 ง หน้า 3095, 15 พฤศจิกายน 2474
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 33 ตอนที่ 0 ง หน้า 3094, 28 มกราคม 2459
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 29 ตอนที่ 0 ง หน้า 2446, 22 มกราคม 131
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม 46 ตอนที่ 0 ง หน้า 3690, 19 มกราคม 2472
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม 43 ตอนที่ 0 ง หน้า 4300, 6 มีนาคม 2469
- ↑ "ประกาศพระบรมราชโองการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49 (0 ก): 573. 1932-12-21.
- ↑ "ประกาศผลัดเปลี่ยนเสนาบดี ปลัดทูลฉลอง กระทรวงต่าง ๆ และรวมกระทรวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49 (0 ก): 181. 1932-06-25.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
แก้- นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2560). พระยามโนปกรณ์นิติธาดากับการเมืองสยามในปี พ.ศ. 2475. ความคิด ความรู้ และอำนาจในการเมืองในการปฏิวัติสยาม 2475 (น. 167-191). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.
เว็บไซต์
แก้- ประวัติที่เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล เก็บถาวร 2007-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประวัติที่เว็บไซต์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เก็บถาวร 2006-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประวัติที่เว็บไซต์สถานทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา เก็บถาวร 2004-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประวัติที่เว็บไซต์รัฐสภาสำหรับเยาวชน-ยุวชนรัฐสภา เก็บถาวร 2006-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) (ในฐานะประธานคณะกรรมการราษฎร) |
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476) |
พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) | ||
สถาปนาตำแหน่ง | ประธานคณะกรรมการราษฎร (28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475) |
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) (ในฐานะนายกรัฐมนตรี) | ||
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม |
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475) |
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) (ในฐานะรัฐมนตรีว่าการ) | ||
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) (ในฐานะเสนาบดี) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2476) |
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) |