หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา

พันโทหญิง หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม: วิเศษกุล; 5 เมษายน พ.ศ. 2451 — 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551) หม่อมในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และอดีตนางพระกำนัลในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี[1]


กอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และหม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา
เกิดกอบแก้ว วิเศษกุล
5 เมษายน พ.ศ. 2451
เสียชีวิต19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (100 ปี)
คู่สมรสพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา (พ.ศ. 2472–2489)
บิดามารดาพระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล)
คุณหญิงเนื่อง สุรินทราชา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย (2486–2488)
ไทย สยาม (2488–2491)
 ไทย (2491–2511)
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการ2486–2511
ชั้นยศ พันโทหญิง
หน่วยทหารม้า

ประวัติ แก้

หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา เกิดวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2451 เป็นธิดาคนสุดท้องของพระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) มหาดเล็กข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับคุณหญิงสุรินทราชา (เนื่อง) สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนคอนแวนต์แห่งพระกุมารเยซู (อังกฤษ: Convent of The Holy Infant Jesus)[2] เมืองจอร์จทาวน์ รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน

หม่อมกอบแก้วได้พบกับพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็นครั้งแรกที่วังไกลกังวล ในวันงานพระราชพิธีคฤหมงคล ขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข เมื่อวันที่ 10-11 เมษายน พ.ศ. 2472[3] ภายหลังจึงได้เสกสมรสกัน เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2472 แต่ไม่มีพระทายาท[4] ชื่อของหม่อมกอบแก้ว เป็นที่มาของชื่อเจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ ด้วยเป็นมารดาอุปถัมภ์[5]

หม่อมกอบแก้วได้รับการยกย่องให้เป็นแบบอย่างของกุลสตรีไทยยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 อันเป็นสตรีที่มีความรู้และความทันสมัยในแบบของสาวตะวันตก รับหน้าที่ให้เป็นผู้สวมมงกุฎและสายสะพายให้แก่นางสาวไทยทุกคนในยุคก่อน ๆ [6] ทั้งนี้หม่อมกอบแก้วยังเป็นที่ยอมรับในเรื่องของความงามเหนือกาลเวลา และกิจกรรมสังคมสงเคราะห์ต่าง ๆ[7]

หม่อมกอบแก้วมีความชำนาญด้านการขี่ม้า ภายหลังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมกอบแก้วเป็น ทหารม้ายศพันโท[7][8]

หม่อมกอบแก้วได้อุทิศตนยาวนาน ทำงานเพื่อสภากาชาดไทย โดย ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายจัดหารายได้ เป็นคนแรก

ถึงแก่อสัญกรรม แก้

หม่อมกอบแก้วถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เวลา 20.30 นาฬิกา ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือด[9] สิริรวมอายุได้ 100 ปี 1 เดือน 14 วัน

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และทรงวางพวงมาลาหลวง พวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่หน้าโกศศพ พันโทหญิง หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพ พันโทหญิง หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ASTV ผู้จัดการออนไลน์, หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา ถึงแก่อนิจกรรม เก็บถาวร 2011-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 20 พฤษภาคม 2551
  2. ลดา รุธิรกนก. มณีในอาทิตย์. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์. 2549, หน้า 84
  3. ลดา รุธิรกนก. มณีในอาทิตย์. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2549. 240 หน้า. ISBN 978-9749-906-651
  4. "หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา" (Press release). ข่าวสด. 7 มีนาคม พ.ศ. 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. ลดา รุธิรกนก. มณีในอาทิตย์. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์. 2549, หน้า 224
  6. เย็นตาโฟดอตคอม. อัศจรรย์! 19 พฤษภาคม สิ้น.."วันเดียวกัน". เรียกดูเมื่อ 30 ตุลาคม 2555
  7. 7.0 7.1 สนุกดอตคอม. ปิดตำนานสาวสองพันปี หม่อมกอบแก้ว อาภากรฯ. เรียกดูเมื่อ 30 ตุลาคม 2555
  8. รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมกอบแก้วเป็น ทหารม้ายศพันโท
  9. "อัศจรรย์! "19 พฤษภาคม" สามี-บิดา-บิดาของสามี-หม่อมกอบแก้ว อนิจกรรม วันเดียวกัน" (Press release). มติชน. 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2551. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  10. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-03-10.
  11. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-30. สืบค้นเมื่อ 2015-05-07.
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘, ตอน ๐ ง, ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔, หน้า ๒๙๔๒
  13. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญช่วยราชการภายใน หน้า ๑๙๕๖ เล่ม ๕๘, ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔
  14. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 58 (ตอน 0 ง): หน้า 1956. 23 มิถุนายน พ.ศ. 2484. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  15. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน (หน้า ๒๙๓๘)
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕, ตอน ๐ ง, ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ , หน้า ๒๙๕๘
  17. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า ๑๗๗๒ เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๖๒, ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑