มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Srivijaya) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทย แยกตัวออกมาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อปี พ.ศ. 2548
Rajamangala University of Technology Srivijaya | |
ชื่อเดิม | สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย |
---|---|
ชื่อย่อ | มทร.ศ. / RUTS |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 18 มกราคม พ.ศ. 2548 |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ |
|
งบประมาณ | 911,525,600 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
นายกสภาฯ | ศาสตราจารย์กิตติคุณ เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต |
อธิการบดี | ศาสตราจารย์ สุวัจน์ ธัญรส |
อาจารย์ | 774 คน (พ.ศ. 2566) |
บุคลากรทั้งหมด | 1,489 คน (พ.ศ. 2566) |
ผู้ศึกษา | 15,118 คน (พ.ศ. 2566)[2] |
ที่ตั้ง |
|
วิทยาเขต | วิทยาเขต 5
|
เพลง | สดุดีราชมงคล |
ต้นไม้ | ยางนา |
สี | สีเหลือง |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
ประวัติ
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลจัดตั้งขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 โดยพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พ.ศ. 2518 ใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา” และโอนวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยเกษตรกรรม และวิทยาลัยต่างๆ ในสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เข้ามาสังกัด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “ราชมงคล” เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 (วันราชมงคล) พร้อมทั้งมีพระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2532 ทำให้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล"
ในระยะต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดให้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาต้องเป็นนิติบุคคล[3] ทำให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเริ่มมีแนวคิดในการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยนิติบุคคล กระทั่งเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548[4] ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นผลให้มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเกิดขึ้นใหม่ จำนวน 9 แห่ง เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี จัดการศึกษาด้านวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ผลิตครูวิชาชีพ และให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาเป็นหลัก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เน้นการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรและพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่มีทักษะด้านช่างอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การประมง เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์สถาปัตยกรรมศาสตร์ การท่องเที่ยว การบริหารจัดการและทักษะด้านธุรกิจ สามารถปฏิบัติงานได้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ที่ทำให้สามารถประกอบอาชีพได้หลายอาชีพ เป็นมหาลัยที่มีคุณภาพทางด้านเทคโนโลยีที่ดีในภาคใต้ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังมีคณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งแรกของภาคใต้ ในช่วงเริ่มของการก่อตั้งนั้นได้รวบรวมเอาสถาบันการศึกษาที่เดิมเคยสังกัด สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ในเขตภาคใต้
- วิทยาเขตนครศรีธรรมราช เดิม "โรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม ประจำอำเภอทุ่งสง" จัดการเรียนการสอนแบบให้เปล่า นักเรียนที่เข้าเรียนที่นี่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่จำกัดอยู่ในวงแคบเพราะเปิดรับเฉพาะนักเรียนชายที่สำเร็จ การศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในท้องที่อำเภอทุ่งสงเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2478 เข้าเป็นนักเรียนกินนอนของโรงเรียนเท่านั้นโดยใช้ เวลาในการเรียน 2 ปี จึงจบหลักสูตร โรงเรียนเปิดดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องงดรับนักเรียนในปี พ.ศ. 2481 ทั้งนี้เพื่อเตรียมโอนกิจการเป็นโรงเรียนรัฐบาล ในปี พ.ศ. 2482 และเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช"
- พ.ศ. 2484 โรงเรียนเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช ได้ทำการโอนกิจการเป็นโรงเรียนรัฐบาล แต่ภาระหน้าที่ ให้ความรู้ยังเน้นในเรื่องเกษตรกรรม
- พ.ศ. 2489 เปิดสอนชั้นประโยคอาชีวศึกษาตอนปลาย แผนกเกษตรกรรมหลักสูตร 3 ปี ขึ้นอีกหนึ่งแผนก
- พ.ศ. 2499 ได้ยกเลิกหลักสูตรประโยคอาชีวศึกษา ตอนต้นและเปิดหลักสูตรประโยคอาชีวศึกษาชั้นสูง แผนกเกษตรกรรม หลักสูตร 3 ปีโดยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าและได้ขยายการรับนักเรียนให้กว้างขึ้นตั้งแต่จังหวัดสุพรรณบุรี ลงไปจนถึงจังหวัดนราธิวาส รวม 22 จังหวัด
- พ.ศ. 2505 ทุนอุดหนุนได้ยกเลิกไป แต่ภารกิจการเรียนการสอนยังคงดำเนินต่อไป จนปี พ.ศ. 2507 ได้เปิดสอน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (เทียบเท่าอนุปริญญา) รับผู้สำเร็จประกาศนียบัตรวิชาชีพแผนก เกษตรกรรม หรือประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ แผนกเกษตรกรรม (ม.ศ.6 แผนกเกษตรกรรม) เข้าเรียนต่ออีก 2 ปี
- พ.ศ. 2432 กระทรวงศึกษาธิการได้ ยกฐานะโรงเรียนเกษตรกรรมนครศรีธรรมราชขึ้นเป็น "วิทยาลัยเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช" เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2508
- พ.ศ. 2510 กรมอาชีวศึกษาได้จัดให้วิทยาลัยเกษตรกรรมนครศรีธรรมราชได้เข้า เป็นวิทยาลัย
- พ.ศ. 2520 วิทยาลัยเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช ได้เปลี่ยนโอนไปสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกรมที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้เพื่อให้จัดการเรียนการสอนได้ทั้งระดับปริญญาตรีและต่ำกว่าปริญญาตรีในสายอาชีวศึกษา วิทยาลัยเกษตรกรรมนครศรีธรรมราช จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเกษตรนครศรีธรรมราช
- พ.ศ. 2531 นักศึกษาในระดับปริญญาตรี ไปยังคณะเกษตรศาสตร์นครศรีธรรมราช ณ ป่าสงวนบ้านขอนไทรหัก อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และในปี พ.ศ. 2531 วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้รับพระราชทานชื่อใหม่เป็น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เป็นผลให้วิทยาเขตเกษตรนครศรีธรรมราช เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
- วิทยาเขตสงขลา เดิมชื่อ วิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ สังกัดกรมอาชีวศึกษา ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2497 โดยเปิดสอน 3 แผนกวิชา ได้แก่ ช่างก่อสร้าง พาณิชยการ และช้างไม้ปลูกสร้าง ต่อมาได้เปิดสอนเพิ่มเติมในแผนกวิชาช่างยนต์ แผนกวิชาช่างโลหะแผนกวิชาคหกรรมศาสตร์ แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง รวมเป็น 7 แผนกวิชาแผนกวิชาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นการศึกษา ระดับประโยคอาชีวศึกษาหรือระดับประกาศนียบัตรใช้เวลาเรียน 3 ปี ในช่วงการเจัดตั้ง
- วิทยาเขตตรัง คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการให้จัดตั้ง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง จังหวัดตรัง เป็นการสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมชายฝั่งทะเลภาคใต้ ใน วันที่ 20 พฤศจิกายน 2533
- วิทยาเขตศรีวิชัย อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
- พ.ศ. 2548 ได้ทำการรวมวิทยาเขตศรีวิชัย เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ วิทยาเขตนครศรีธรรมราช โดยใช้ชื่อว่า วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ
รายนามอธิการบดี
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย | |
รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. ผศ.ประชีพ ชูพันธุ์ | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548[5] - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (รักษาราชการแทน) 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553 - 23 มีนาคม พ.ศ. 2555 (รักษาราชการแทน) |
รศ.ดร.อัศวิน พรหมโสภา | 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553 (รักษาราชการแทน) |
นายสุรพงษ์ ถาวโรจน์ | 24 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 12 มีนาคม พ.ศ. 2556 (รักษาราชการแทน) |
2. ผศ.รุจา ทิพย์วารี | 13 มีนาคม พ.ศ. 2556[6] - 12 มีนาคม พ.ศ. 2560 |
ผศ.ยงยุทธ หนูเนียม | 13 มีนาคม พ.ศ. 2560 - 21 กันยายน 2562 |
3. ศ.ดร.สุวัจน์ ธัญรส | 22 กันยายน 2562 - ปัจจุบัน |
หน่วยงานในมหาวิทยาลัย
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย แบ่งส่วนราชการตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พ.ศ. 2550 ดังนี้
|
|
การจัดตั้งวิทยาเขต
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย แบ่งการจัดตั้งหน่วยงานตามวิทยาเขตต่าง ๆ ดังนี้
สงขลา
- สำนักงานอธิการบดี
- คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
- คณะบริหารธุรกิจ
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะศิลปศาสตร์
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- วิทยาลัยรัตภูมิ
- สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
- สำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
วิทยาเขตตรัง
- สำนักงานวิทยาเขต
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง
- คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
- วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว
- สถาบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- สถาบันวิจัยและพัฒนา
วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
- คณะเกษตรศาสตร์
- คณะสัตวแพทยศาสตร์
- คณะอุตสาหกรรมเกษตร
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- คณะเทคโนโลยีการจัดการ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ
โครงการจัดตั้ง
แก้- โครงการจัดตั้งวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
- โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตพังงา
- โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
- โครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน วิทยาเขตสงขลา
- โครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ วิทยาเขตสงขลา
- โครงการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
- โครงการจัดตั้งคณะบริหารศาสตร์ วิทยาเขตตรัง
พื้นที่จัดการศึกษา
แก้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มีพื้นที่จัดการศึกษา 3 แห่งคือ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (สงขลา)
- พื้นที่สงขลา
- พื้นที่รัตภูมิ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
- พื้นที่ไสใหญ่
- พื้นที่ทุ่งใหญ่
- พื้นที่ขนอม
สถานที่ติดต่อ
แก้- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลาเลขที่ 1 ถ.ราชดำเนินนอก ต.บ่อยาง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา 90000]
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง 92150]]
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ทุ่งใหญ่ อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช 80240]
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ไสใหญ่ ต.ถ้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช 80110
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ขนอม อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช 80210
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาลัยรัตภูมิ 414 ม.14 ต.ท่าชะมวง อ.รัตภูมิ จ.สงขลา 90180
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๓๓, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ↑ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอน 74ก ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2542
- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 122 ตอน 6ก ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548
- ↑ ประกาศวำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 ราย เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจานุเบกษา เล่ม 122 ตอน 88ง วันที่ 20 ตุลาคม 2548
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (นางสาวรุจา ทิพย์วารี)