อำเภอเชียรใหญ่

อำเภอในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

เชียรใหญ่ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช

อำเภอเชียรใหญ่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chian Yai
คำขวัญ: 
อำเภอเชียรใหญ่ เมืองใหญ่ลุ่มน้ำ
เกษตรกรรมล้ำหน้า พุทธศาสนาเลิศล้ำ
วัฒนธรรมรุ่งเรือง ลื่อเลื่องศิลปิน เมืองศิลปาชีพ
แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นอำเภอเชียรใหญ่
แผนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นอำเภอเชียรใหญ่
พิกัด: 8°10′6″N 100°8′42″E / 8.16833°N 100.14500°E / 8.16833; 100.14500
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครศรีธรรมราช
พื้นที่
 • ทั้งหมด257.97 ตร.กม. (99.60 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด41,995 คน
 • ความหนาแน่น162.79 คน/ตร.กม. (421.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 80190
รหัสภูมิศาสตร์8006
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเชียรใหญ่ หมู่ที่ 3 ถนนภักดีฤทธิ์ ตำบลเชียรใหญ่ อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80190
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้
 
โรงพยาบาลเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

อำเภอเชียรใหญ่มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังนี้

ประวัติ

แก้

อำเภอเชียรใหญ่มีประวัติความเป็นมาสืบทอดมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี แต่มีหลักฐานแน่ชัดในสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฏในทำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช จุลศักราช 1173 ว่า ท้องที่อำเภอนี้เป็นหัวเมืองฝ่ายขวา ขึ้นอยู่ในเขตปกครองท้องที่เมืองนครศรีธรรมราช ชื่อ "เมืองพิเชียร" ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปฏิรูปการปกครองครั้งสำคัญ มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 ในปี พ.ศ. 2440 มีการรวมหัวเมืองฝ่ายขวาในลุ่มน้ำปากพนัง 4 หัวเมือง เข้าด้วยกัน คือ เมืองพิเชียร เมืองพนัง เมืองเบี้ยซัด (ที่ตั้งอำเภอปากพนังในปัจจุบัน) และที่ตรงตำบลคลองกระบือและตำบลหูล่อง ตั้งเป็นอำเภอเรียกว่า "อำเภอเบี้ยซัด" ทำให้เมืองพิเชียรกลายเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเบี้ยซัด

สำหรับที่ตั้งของเมืองพิเชียร สันนิษฐานว่าเดิมตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำปากพนัง ที่บ้านหม่อมราม หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านกลาง ณ ปัจจุบัน และเล่ากันว่า ที่ตั้งบ้านพิเชียร มีต้นตะเคียนใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง จึงเรียกกันว่า "บ้านพิเชียรเคียนใหญ่" เรียกสั้น ๆ เป็นภาษาปักษ์ใต้ว่า "บ้านเชียรใหญ่" ต่อมาเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้ง "กิ่งอำเภอเชียรใหญ่"[1] ขึ้นตรงต่ออำเภอปากพนัง และยกฐานะเป็น "อำเภอเชียรใหญ่"[2] เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2490

  • วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2480 แยกพื้นที่ตำบลท้องลำเจียก ตำบลดอนตรอ ตำบลเชียรเขา ตำบลการะเกด ตำบลท่าขนาน ตำบลบ้านเนิน ตำบลเขาพระบาท ตำบลเสือหึง ตำบลบ้านกลาง และตำบลเชียรใหญ่ จากอำเภอปากพนัง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเชียรใหญ่[1] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอปากพนัง
  • วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2481 ตั้งตำบลไสหมาก แยกออกจากตำบลบางตะพง และโอนพื้นที่ตำบลไสหมาก อำเภอปากพนัง มาขึ้นกับกิ่งอำเภอเชียรใหญ่ กับตั้งตำบลชะเมา แยกออกจากตำบลดอนตรอ และโอนพื้นที่ตำบลชะเมา กิ่งอำเภอเชียรใหญ่ ไปขึ้นกับอำเภอปากพนัง[3][4]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบ้านกลาง แยกออกจากตำบลท่าขนาน และตำบลบ้านเนิน[5]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2490 ยกฐานะกิ่งอำเภอเชียรใหญ่ อำเภอปากพนัง เป็น อำเภอเชียรใหญ่[2]
  • วันที่ 1 มีนาคม 2492 โอนพื้นที่หมู่ที่ 6 (ในขณะนั้น) ของตำบลควนพัง อำเภอร่อนพิบูลย์ มาขึ้นกับตำบลท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่[6]
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลเชียรใหญ่ ในท้องที่บางส่วนของตำบลท้องลำเจียก ตำบลท่าขนาน และตำบลเชียรใหญ่[7]
  • วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลดอนตรอ ในท้องที่ตำบลดอนตรอ[8]
  • วันที่ 3 มกราคม 2506 ตั้งตำบลสวนหลวง แยกออกจากตำบลท้องลำเจียก[9]
  • วันที่ 9 ตุลาคม 2522 ตั้งตำบลแม่เจ้าอยู่หัว แยกออกจากตำบลสวนหลวง[10]
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 แยกพื้นที่ตำบลเชียรเขา ตำบลดอนตรอ ตำบลสวนหลวง อำเภอเชียรใหญ่ และตำบลทางพูน อำเภอร่อนพิบูลย์ ไปตั้งเป็น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ[11] เป็นกรณีพิเศษโดยไม่ผ่านการเป็นกิ่งอำเภอ ตามโครงการจัดตั้งอำเภอเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลเชียรใหญ่ เป็นเทศบาลตำบลเชียรใหญ่[12] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 24 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน[13]
  • วันที่ 6 กันยายน 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลการะเกด ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลการะเกด[14]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอเชียรใหญ่แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 98 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[15]
แผนที่
1. เชียรใหญ่ Chian Yai
10
3,620
 
3. ท่าขนาน Tha Khanan
11
2,533
4. บ้านกลาง Ban Klang
4
884
5. บ้านเนิน Ban Noen
10
2,701
6. ไสหมาก Sai Mak
11
4,301
7. ท้องลำเจียก Thong Lamchiak
10
4,329
10. เสือหึง Suea Hueng
11
2,682
11. การะเกด Karaket
12
6,922
12. เขาพระบาท Khao Phra Bat
9
6,375
13. แม่เจ้าอยู่หัว Mae Chao Yu Hua
10
7,504

หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือตำบลในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอเชียรใหญ่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเชียรใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเชียรใหญ่ ตำบลท่าขนาน และตำบลท้องลำเจียก
  • เทศบาลตำบลการะเกด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลการะเกดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเชียรใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียรใหญ่ (นอกเขตเทศบาลตำบลเชียรใหญ่)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าขนาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าขนาน (นอกเขตเทศบาลตำบลเชียรใหญ่)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกลางและตำบลบ้านเนินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไสหมาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไสหมากทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท้องลำเจียก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท้องลำเจียก (นอกเขตเทศบาลตำบลเชียรใหญ่)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเสือหึง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสือหึงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาท ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาพระบาททั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจ้าอยู่หัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่เจ้าอยู่หัวทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอเชียรใหญ่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 2918–2919. February 28, 1937.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (50 ง): 2661–2662. October 21, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-09.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3744–3746. February 6, 1938.
  4. "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๗๑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช หน้า ๓๗๔๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 4080. February 27, 1938.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-09.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (13 ง): 853–854. March 1, 1949.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเชียรใหญ่ อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 23-24. November 28, 1956.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. March 1, 1958.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (2 ง): (ฉบับพิเศษ) 9-11. January 3, 1963.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชะอวด อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (174 ง): 3480–3487. October 9, 1979.
  11. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2539" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 1–4. November 20, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2021-09-09.
  12. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-09.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). September 24, 2004: 1–2. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  14. "เปลี่ยนฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลการะเกด เป็น เทศบาลตำบลการะเกด". September 6, 2012. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  15. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.