สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง

สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง (อังกฤษ: Thung Song Junction) เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ตั้งอยู่ที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ชุมทางทุ่งสง

Thung Song Junction
สถานีรถไฟชั้น 1
สถานีรถไฟทุ่งสงในปี 2556
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งตําบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย
ระยะทาง757.08 km (470.4 mi) จากธนบุรี
ชานชาลา3
ทางวิ่ง8
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีทส.
ประเภทชั้น 1
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการมกราคม พ.ศ. 2457; 110 ปีที่แล้ว (2457-01)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
บ้านเกาะปริง สายใต้ ใสใหญ่
มุ่งหน้า สุไหงโก-ลก
สายใต้
สายกันตัง
ที่วัง
มุ่งหน้า กันตัง
ชุมทางทุ่งสง
Thung Song Junction
กิโลเมตรที่ 757.08
ที่วัง
Thi Wang
+8.49 กม.
คลองจัง
Khlong Jung
–10.05 กม.
ใสใหญ่
Sai Yai
+4.90 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้
ที่ตั้ง
แผนที่

ลักษณะ

เป็นสถานีชุมทางรถไฟซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของทางรถไฟสายชุมทางทุ่งสง–กันตัง ซึ่งแยกทางรถไฟสายกันตังออกจากทางรถไฟสายใต้ รวมถึงยังเป็นสถานีชุมทางรถไฟสายใต้แห่งที่สี่ ถัดมาจากสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน สถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก และสถานีรถไฟชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ และเป็น 1 ใน 15 สถานีชุมทางรถไฟในประเทศไทย สถานีรถไฟแห่งนี้มีความสำคัญต่อการเดินรถไฟในพื้นที่ภาคใต้ตอนกลาง ดังนี้

  • เป็นจุดเติมน้ำมันสำหรับรถจักร,น้ำประปาสำหรับตู้โดยสาร
  • เป็นสถานีผลัดเปลี่ยนเวรพนักงานขับรถและช่างเครื่อง
  • เป็นที่ตั้งของหน่วยงานต่างๆในสังกัดการรถไฟแห่งประเทศไทย อำเภอทุ่งสง เช่น ที่ทำการวิศวกรบำรุงทางแขวงทุ่งสง โรงรถจักรทุ่งสง สารวัตรงานเดินรถแขวงทุ่งสง กองบำรุงทางเขตทุ่งสง
  • เป็นจุดพักขบวนรถสินค้าที่เดินทางมาจากสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ สถานีรถไฟปาดังเบซาร์ และท่าเรือแหลมฉบัง รวมถึงเป็นสถานีสำหรับการกระจายสินค้าจากสถานีชุมทางทุ่งสงไปยังพื้นที่ต่างๆ ในภาคใต้

นอกจากนี้มีสถานีตำรวจรถไฟทุ่งสง กองกำกับการ 3 กองบังคับการตำรวจรถไฟ ซึ่งตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับสถานีอีกด้วย

พื้นที่บริเวณอาคารคลังพัสดุของสถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง เคยถูกใช้เป็นที่ทำการของธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาทุ่งสง ซึ่งเป็นสาขาในส่วนภูมิภาคสาขาแรกของธนาคารไทยพาณิชย์

แผนผังสถานี

ระดับถนน วินรถจักรยานยนต์รับจ้าง ที่จอดรถจักรยานยนต์ของพนักงาน ที่จอดรถของผู้มาใช้บริการ
พื้นที่ขายบัตรโดยสาร

ชานชาลารถไฟทางไกลสายใต้

ที่พักคอยสำหรับผู้โดยสาร,ทางเข้า-ออก,ห้องขายบัตรโดยสาร,ร้านค้า
ชานชาลาด้านข้าง, รถไฟเที่ยวขึ้น ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา รถไฟเที่ยวล่อง ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 หอสัญญาณ
รถไฟเที่ยวขึ้น มาจาก สถานีรถไฟกรุงเทพ

รถไฟเที่ยวล่อง มาจาก สถานีรถไฟใสใหญ่ และ ที่วัง

ชานชาลารถไฟทางไกลสายใต้ ชานชาลา 1 รถไฟเที่ยวขึ้น มาจาก สถานีรถไฟกรุงเทพ

รถไฟเที่ยวล่อง มาจาก สถานีรถไฟใสใหญ่ และ ที่วัง

ชานชาลาเกาะกลาง, รถไฟเที่ยวล่อง ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย รถไฟเที่ยวขึ้น ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 2 รถไฟเที่ยวขึ้น มาจาก สถานีรถไฟกรุงเทพ

รถไฟเที่ยวล่อง มาจาก สถานีรถไฟใสใหญ่ และ ที่วัง

ชานชาลารถไฟทางไกลสายใต้ ชานชาลา 2 รถไฟเที่ยวขึ้น มาจาก สถานีรถไฟกรุงเทพ

รถไฟเที่ยวล่อง มาจาก สถานีรถไฟใสใหญ่ และ ที่วัง

ชานชาลาเกาะกลาง, รถไฟเที่ยวล่อง ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย รถไฟเที่ยวขึ้น ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา

ชานชาลา 3 รถไฟเที่ยวขึ้น มาจาก สถานีรถไฟกรุงเทพ

รถไฟเที่ยวล่อง มาจาก สถานีรถไฟใสใหญ่ และ ที่วัง

- ย่านสถานี โรงรถจักร

ย่านสับเปลี่ยน ย่านรับ-ส่งสินค้า

ตารางเดินรถ

เที่ยวไป

ขบวนรถ ต้นทาง ชุมทางทุ่งสง ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ร171 กรุงเทพอภิวัฒน์ 15.10 02.59 สุไหงโก-ลก 10.10
ดพ37 กรุงเทพอภิวัฒน์ 16.10 03.38 สุไหงโก-ลก 10.35
ดพ45 กรุงเทพอภิวัฒน์ 16.10 03.38 ปาดังเบซาร์ 08.05
ดพ31 กรุงเทพอภิวัฒน์ 16.50 04.08 ชุมทางหาดใหญ่ 07.05
ร169 กรุงเทพอภิวัฒน์ 17.30 05.59 ยะลา 11.05
ด83 กรุงเทพอภิวัฒน์ 18.50 06.54 ตรัง 08.15
ด85 กรุงเทพอภิวัฒน์ 19.50 08.30 นครศรีธรรมราช 09.40
ท447 สุราษฎร์ธานี 06.20 08.51 สุไหงโก-ลก 17.35
ร167 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.30 09.34 กันตัง 11.25
ท445 ชุมพร 06.35 12.32 ชุมทางหาดใหญ่ 16.35
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวกลับ

ขบวนรถ ต้นทาง ชุมทางทุ่งสง ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ท446 ชุมทางหาดใหญ่ 06.20 10.39 ชุมพร 16.30
ร174 นครศรีธรรมราช 15.10 13.54 กรุงเทพอภิวัฒน์ 04.40 งดเดินรถ
ท448 สุไหงโก-ลก 06.30 14.24 สุราษฎร์ธานี 17.50
ร168 กันตัง 14.15 16.01 กรุงเทพอภิวัฒน์ 05.10
ด86 นครศรีธรรมราช 16.00 17.07 กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.10
ดพ42 ยะลา 15.35 19.08 กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.50 งดเดินรถ
ด84 ตรัง 17.00 18.18 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.05
ร172 สุไหงโก-ลก 12.10 18.52 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.30
ดพ32 ชุมทางหาดใหญ่ 17.45 20.27 กรุงเทพอภิวัฒน์ 08.10
ดพ38 สุไหงโก-ลก 14.15 20.52 กรุงเทพอภิวัฒน์ 09.05
ดพ46 ปาดังเบซาร์ 17.00 20.52 กรุงเทพอภิวัฒน์ 09.05
ร170 ยะลา 16.30 21.20 กรุงเทพอภิวัฒน์ 10.50
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

อ้างอิง

  • 高田隆雄 (1978). タイ国の蒸気機関車 (ภาษาญี่ปุ่น). エリエイ出版部.
  • 柿崎一郎 (2010). 王国の鉄路 タイ鉄道の歴史 (ภาษาญี่ปุ่น). 京都大学学術出版会. ISBN 978-4-87698-848-8.
  • 渡邉乙弘 (2013). タイ国鉄4000キロの旅 (ภาษาญี่ปุ่น). 文芸社. ISBN 978-4-286-13041-5.

แหล่งข้อมูลอื่น

8°10′14″N 99°40′46″E / 8.170609°N 99.679386°E / 8.170609; 99.679386