สาโรจน์ ชวนะวิรัช
สาโรจน์ ชวนะวิรัช (เกิด 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2485) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช เป็นรัฐมนตรีที่มีระยะเวลาอยู่ในตำแหน่งสั้นที่สุด ก่อนจะพ้นจากตำแหน่งพร้อมกับคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ ในอีก 2 วันถัดจากวันรับตำแหน่ง
สาโรจน์ ชวนะวิรัช | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 7 กันยายน พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
ก่อนหน้า | เตช บุนนาค |
ถัดไป | สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 |
เสียชีวิต | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 (81 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติ
แก้สาโรจน์ ชวนะวิรัช เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 จบการศึกษาปริญญาตรี และปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา และผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นปี พ.ศ. 2531
การทำงาน
แก้นายสาโรจน์ ชวนะวิรัช เริ่มรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่การทูต ระดับ 4 ประจำกองพิธีการ กรมพิธีการทูต เมื่อปี พ.ศ. 2510 และมีความเจริญเติบโตในหน้าที่การงานมาตามลำดับ กระทั่งในปี พ.ศ. 2524 ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ จากนั้นในปี พ.ศ. 2526 ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทย ประจำสิงคโปร์ และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมต่างๆ รวมทั้งกรมการเมือง จากนั้นขึ้นเป็นรองปลัดกระทรวง และจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 ได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงการต่างประเทศ จนครบระยะเวลา 4 ปี จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำสาธารณรัฐฝรั่งเศส และเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2545[1]
สาโรจน์ ชวนะวิรัช ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2551[2] แต่ยังไม่ทันได้ปฏิบัติหน้าที่ก็ต้องพ้นจากตำแหน่งความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากคณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้นายกรัฐมนตรี (นายสมัคร สุนทรเวช) พ้นจากตำแหน่ง ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งเพียง 2 วัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้สาโรจน์ ชวนะวิรัช ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2545 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- บริเตนใหญ่ :
- พ.ศ. 2515 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ (MBE)
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญไมเคิลและจอร์จ ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์[8]
- สเปน :
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิซเบลลาชาวคาทอลิก ชั้นที่ 2 ทุติยาภรณ์แห่งสมาชิก[9]
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 2[10]
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2546 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งชาติ ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ "สาโรจน์ ชวนะวิรัช" ว่าที่ รมว.ต่างประเทศคนใหม่จาก ประชาชาติธุรกิจ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (นายสาโรจน์ ชวนะวิรัช)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒๐๐, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒๓, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒, ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๐๖ ง หน้า ๘๘๒๑, ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๒๒๓๙, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๒๓, ๓๐ เมษายน ๒๕๔๗