กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (อังกฤษ: Ministry of Digital Economy and Society) หรือ กระทรวงดีอีเอส เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจการเกี่ยวกับดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม การอุตุนิยมวิทยา การสถิติ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
Ministry of Digital Economy and Society | |
![]() เครื่องหมายราชการของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม[1] | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 16 กันยายน พ.ศ. 2559[2] |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | 120 หมู่ที่ 3 อาคารรัฐประศาสนภักดี ฝั่งเหนือ ชั้น 6-9 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร |
งบประมาณประจำปี | 5,172.8517 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[3] |
รัฐมนตรี | |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
หน่วยงานลูกสังกัด | |
เว็บไซต์ | www |

ประวัติ
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ภายใต้ชื่อ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร[6] มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การอุตุนิยมวิทยา และการสถิติ
ต่อมาวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีได้เสนอร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพื่อจัดตั้ง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาแทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559 ได้มีการตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 ส่งผลให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต้องสิ้นสุดลง และจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้นแทน กระทรวงเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2559 ใช้อักษรย่อ ดศ.
ต่อมาในวันที่ 15 กันยายน 2559 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 โดยมีสาระสำคัญคือให้ยกเลิกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และให้จัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาแทน (เปลี่ยนชื่อกระทรวง)
ต่อมาในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559 โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ[7] จึงเท่ากับให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ ปลัดคนแรกของกระทรวงได้แก่ นางทรงพร โกมลสุรเดช[8] ดำรงตำแหน่ง 1 เดือน 20 วันก่อน ไปได้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559[9]
ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 มีประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2560 แต่งตั้ง วิไลลักษณ์ ชุลีวัฒนกุล ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยให้มีผลในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
ในวันที่ 1 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เปิด ศูนย์ป้องกันข่าวปลอม ขึ้นในกระทรวง หรือที่รู้จักใน ศูนย์เฟคนิวส์[10]
รายนามปลัดกระทรวง
รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. คุณหญิง ทิพาวดี เมฆสวรรค์ | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 30 กันยายน พ.ศ. 2547 |
2. ไกรสร พรสุธี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 |
3. สือ ล้ออุทัย | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2550 - 30 กันยายน พ.ศ. 2553 |
4. จีราวรรณ บุญเพิ่ม | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555 |
5. ไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556 |
6. ดร. สุรชัย ศรีสารคาม | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557 |
7. ดร.[11]เมธินี เทพมณี | 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - 15 กันยายน พ.ศ. 2559 |
8. ทรงพร โกมลสุรเดช | 16 กันยายน พ.ศ. 2559 - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559[12] |
9. วิไลลักษณ์ ชุลีวัฒนกุล | 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 |
10. อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2565 |
11. วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน |
หน่วยงานในสังกัด
ส่วนราชการ
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมีหน่วยงานระดับกรมในสังกัด 5 หน่วยงาน ได้แก่
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมอุตุนิยมวิทยา
- สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- สำนักงานสถิติแห่งชาติ
รัฐวิสาหกิจ
- บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
- บริษัท ไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น จำกัด
องค์การมหาชน
- สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
- สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล[13]
- สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
- สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน)
นิติบุคคลที่กำกับดูแล
หน่วยงานในอดีต
โครงการ
- โครงการไซเบอร์คลีน เป็นโครงการความร่วมมือ ระหว่าง กระทรวงไอซีที ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) (บางแห่ง) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ กสท โทรคมนาคม)[16] ในการให้บล็อกเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม และร่วมกับเว็บมาสเตอร์ในการรับแจ้ง โดยมุ่งหวังเพื่อช่วยกันยุติสิ่งไม่เหมาะสมบนเว็บไซต์ แต่ทั้งนี้เนื่องจากความร่วมมือในการบล็อกเว็บไซต์นั้นทำได้เฉพาะหากเข้าผ่านผู้ให้บริการเพียงบางรายเท่านั้น ทำให้เป็นการปิดกั้นข่าวสารแก่บางกลุ่ม ซึ่งได้รับการร้องเรียนว่าน่าจะเป็นการละเมิดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และเป็นการปิดกั้นโดยเกิดความไม่เท่าเทียมกัน ขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยและขัดรัฐธรรมนูญ
- โครงการเครือข่ายยุติธรรม (ดี เอส ไอ ไซเบอร์ฟอร์ซ - DSI Cyberforce) เป็นโครงการความร่วมมือของ ดี เอส ไอ (DSI) ภายใต้สำนักคดีเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสืบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม เพื่อขยายเครือข่ายสอดส่อง ป้องกันภัยทางอินเทอร์เน็ต และสกัดกั้นภัยคุกคาม รวมทั้งอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยให้นักเรียน นักศึกษา, บุคคลทั่วไป และอาสาสมัครเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน สอดส่อง แจ้งภัย และเป็นศูนย์กลางในการต่อต้านอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ภาคประชาชน เว็บไซต์โครงการเครือข่ายยุติธรรม เก็บถาวร 2006-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ตั้งแต่คืนวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2550 เว็บไซต์วิดีโอ ยูทูบ ได้ถูกบล็อกภายหลังจากที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สิทธิชัย โภไคยอุดม กล่าวว่าได้ถูกปฏิเสธการนำภาพตัดต่อที่หมิ่นพระบรมฉายาลักษณ์ออกจากระบบ ที่อัปโหลดไว้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2550[17]
หมายเหตุ
- ↑ ย้ายมาจากกระทรวงคมนาคม จากการปฏิรูประบบราชการ แต่เมื่อปี พ.ศ. 2545 ได้แปรสภาพเป็นหน่วยงานอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญ ในชื่อ สำนักงานคณะกรรมกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2547 และในปี พ.ศ. 2553 ได้เปลี่ยนสถานะเป็นสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) จนถึงปัจจุบัน
- ↑ ได้ถูกโอนย้ายไปสังกัด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เมื่อ พ.ศ. 2559 ตาม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559
- ↑ ถูกยุบเลิกเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560 ตาม พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๖๒ ที่กำหนดให้ยุบเลิกสำนักงานเมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับและให้โอนกิจการ เงินและทรัพย์สิน สิทธิ หนี้และงบประมาณของสำนักงานไปเป็นของ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ [15]
- ↑ 4.0 4.1 ควบรวมกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จัดตั้งเป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2564
อ้างอิง
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 291). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 10ง วันที่ 11 มกราคม 2560 หน้า 7-8
- ↑ พระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 เก็บถาวร 2016-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 80 ก หน้า 1 วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559
- ↑ พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 91 ก วันที่ 25 กันยายน 2558
- ↑ เช็ก มติ ครม. แต่งตั้งครบทุกตำแหน่งที่นี่
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เก็บถาวร 2011-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 99 ก วันที่ 2 ตุลาคม 2545
- ↑ การประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559
- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 66/2559 เรื่อง การกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
- ↑ ผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- ↑ "ได้ฤกษ์เปิดพ.ย.นี้ เน้นชี้ทำความเข้าใจแจงปชช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-11. สืบค้นเมื่อ 2021-10-18.
- ↑ ฐานข้อมูลประวัติเมธินี
- ↑ ประกาศแต่งตั้ง ทรงพร โกมลสุรเดช
- ↑ องค์การมหาชนที่จัดตั้งตาม พ.ร.บ. เฉพาะ
- ↑ "พระราชบัญญัติสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๒ หมวด ๕ การกำกับดูแลของรัฐ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 เมษายน 2562. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๑๐ ก หน้า ๑ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๐
- ↑ "การปิดกั้นเนื้อหา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-29. สืบค้นเมื่อ 2007-06-28.
- ↑ YouTube disappears from Thai Internet[ลิงก์เสีย] ข่าวจากบางกอกโพสต์ (อังกฤษ)
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เก็บถาวร 2021-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์โครงการไซเบอร์คลีน เก็บถาวร 2020-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°53′09″N 100°34′33″E / 13.88587°N 100.575939°E