บุญลือ ประเสริฐโสภา

บุญลือ ประเสริฐโสภา (เกิด 16 มีนาคม พ.ศ. 2511) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี อดีตรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย[1] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช

บุญลือ ประเสริฐโสภา
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าวรากรณ์ สามโกเศศ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 มีนาคม พ.ศ. 2511 (56 ปี)
อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2541–2549)
พลังประชาชน (2550–2551)
ภูมิใจไทย (2551–ปัจจุบัน)

ประวัติ

แก้

บุญลือ ประเสริฐโสภา เกิดเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ. 2511 บุตรชายนายบุญชู และนางสนิท ประเสริฐโสภา จบการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม และปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาทรัพยากร) จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบัน กำลังศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๖๔ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย

ประวัติการทำงาน

แก้

บุญลือ เคยทำงานเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ข่าวสด[2] และหนังสือพิมพ์บ้านเมือง ก่อนจะเข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่น เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี และเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี (2 วาระ)

บุญลือ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรีครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย และต่อมาเมื่อพรรคไทยรักไทยถูกยุบ จึงย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 เขาถูกจำกัดสิทธิห้ามมิให้ลงสมัครรับเลือกตั้งจากศาลรัฐธรรมนูญเนื่องจากเกิดคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551 ซึ่งนายบุญลือมีตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนที่ถูกยุบ จึงถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี[3]

ในปี พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคภูมิใจไทย

บุญลือเคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 'ภูมิใจไทย' เคาะแล้ว 'กรรมการบริหารพรรค' ชุดใหม่
  2. “เราก็เป็นนักการเมืองอาชีพ เราก็อดทน ทนดูว่า บ้านเมืองจะเดินไปยังไง”
  3. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2021-02-04.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑