พงศกร อรรณนพพร (เกิด 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2504) เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อธรรม อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น 4 สมัย

พงศกร อรรณนพพร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าวรากรณ์ สามโกเศศ
ถัดไปชัยวุฒิ บรรณวัฒน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (63 ปี)
อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติพัฒนา (2537–2544)
ไทยรักไทย (2544–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2561, 2562–2563, 2565–ปัจจุบัน)
เพื่อธรรม (2561)
ไทยรักษาชาติ (2561–2562)
ไทยสร้างไทย (2564–2565)
คู่สมรสดวงแข อรรณนพพร

ประวัติ

แก้

นายพงศกร อรรณนพพร เกิดเมื่อ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ที่ตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนชุมชนหนองสองห้อง ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ระดับปริญญาตรีด้านบริหารการจัดการ จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และ รัฐศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาเอกหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ด้านวิชาการเมือง จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ด้านวิชาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย

นายพงศกร อรรณนพพร สมรสกับ ดวงแข อรรณนพพร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น มีบุตร-ธิดา 5 คน คือ

  1. ปคินันท์ อรรณนพพร
  2. สรัสนันท์ อรรณนพพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น เขต 8 สังกัดพรรคเพื่อไทย และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย
  3. วสุนันท์ อรรณนพพร
  4. พชรกร อรรณนพพร
  5. พชรพงศ์ อรรณนพพร

การทำงาน

แก้

เขาเคยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมาการการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น ในส่วนงานการเมืองเริ่มจากตำแหน่งรองประธานกรรมการสุขาภิบาลอำเภอหนองสองห้อง จนมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[1]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 46[2]

ใน พ.ศ. 2561 นายพงศกรได้ลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย และได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อธรรม พร้อมกับรับตำแหน่งเลขาธิการพรรค ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 15 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[3]

ในปี 2564 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคไทยสร้างไทย ซึ่งนำโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[4] ต่อมาในปี 2565 เขาได้ย้ายกลับเข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย และในปี 2566 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี[5]ประจํากระทรวงคมนาคม

และต่อมาในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร เขาได้รับการเเต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงพาณิชย์ (นายพิชัย นริพทะพันธุ์) ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2567

ตำแหน่งทางการเมือง

แก้
  • 2539 - 2540 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  • 2540 - 2541 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  • 2542 - 2543 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • 2542 - 2544 ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  • 2544 - 2544 ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • 2547 - 2547 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • 2548 - 2548 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
  • 2548 - 2548 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • 2551 - 2551 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • 2566 - 2567 ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงคมนาคม
  • 2567 - ปัจจุบัน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-27. สืบค้นเมื่อ 2010-11-09.
  2. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  3. เปิด 108 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ไทยรักษาชาติ ติดบ่วงยุบพรรค
  4. ส่อง 4 ภาค ขุนพล 'ไทยสร้างไทย'
  5. มติครม. แต่งตั้งพรึบ ชัยเกษม-สงคราม ไขก๊อกส.ส. รับที่ปรึกษานายกฯ มีชื่อนิพัทธ์-พิชัย
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖