กระทรวงแรงงาน (ประเทศไทย)

(เปลี่ยนทางจาก กระทรวงแรงงาน)

กระทรวงแรงงาน (อังกฤษ: Ministry of Labour) เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย เดิมคือ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

กระทรวงแรงงาน
เครื่องหมายราชการ
ตราพระเทพบดี
ภาพรวมกระทรวง
ก่อตั้ง23 กันยายน พ.ศ. 2536; 31 ปีก่อน (2536-09-23)
กระทรวงก่อนหน้า
  • กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
สำนักงานใหญ่ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
งบประมาณต่อปี33,832.7164 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
รัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารกระทรวง
  • บุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ [2], ปลัดกระทรวง
  • สมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์, รองปลัดกระทรวง
  • บุปผา เรืองสุด, รองปลัดกระทรวง
  • - ว่าง -, รองปลัดกระทรวง
ลูกสังกัดกระทรวง
เว็บไซต์www.mol.go.th https://www.facebook.com/ThailandMOL/

ประวัติ

แก้

การดำเนินนโยบายด้านแรงงานของประเทศไทย เริ่มต้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐบาลสมัยนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาแรงงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประกอบกับในระยะนั้นเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ประชาชนจึงเกิดภาวะการว่างงานจำนวนมาก หน่วยงานของรัฐบาลที่ปฏิบัติงานบริหารแรงงาน ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก โดยคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้กำหนดนโยบายประการหนึ่งระบุว่า "จะต้องบำรุงความสุขของราษฎรในทางเศรษฐกิจและหางานให้ราษฎรทุกคนทำ" จึงได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยสำนักจัดหางาน พ.ศ. 2475[3] ขึ้นบังคับใช้เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ให้สิทธิแก่เอกชนที่จะจัดตั้งสำนักงานรับจัดหางานให้แก่ประชาชนได้ โดยเรียกค่าบริการจากประชาชน ผู้มาใช้บริการภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด และในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2475 ก็ได้ตรา พระราชบัญญัติสำนักงานจัดหางานประจำท้องถิ่น พ.ศ. 2475[4] ขึ้นบังคับใช้ พระราชบัญญัติ ฉบับนี้กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานกลางจัดหางาน ขึ้นในจังหวัดพระนคร และธนบุรี ทำหน้าที่จัดหางานให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดค่าบริการ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของภารกิจด้านแรงงานของรัฐบาลไทย

ต่อมาจึงได้มีการจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ขึ้นในปี พ.ศ. 2536 โดยการโอนภารกิจบางส่วนจากกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย[5] มีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรัฐมนตรีว่าการคนแรก และได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อกระทรวงอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2545 โดยใช้ชื่อใหม่ว่า กระทรวงแรงงาน วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เป็นปลัดกระทรวงแรงงาน

หน่วยงานในสังกัด

แก้

กระทรวงแรงงาน มีหน่วยงานในสังกัด ได้แก่

ส่วนราชการ

แก้

องค์การมหาชน

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
  3. พระราชบัญญัติว่าด้วยสำนักงานจัดหางาน พุทธศักราช ๒๔๗๕
  4. พระราชบัญญัติสำนักงานจัดหางานประจำท้องถิ่น พุทธศักราช ๒๔๗๕
  5. พระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกระทรวงมหาดไทย ไปเป็นของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๓๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๘ เล่ม 132 ตอนที่ 43 ก หน้า 17 วันที่ 21 พฤษภาคม 2558

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้