กรมการจัดหางาน (อังกฤษ: Department of Employment) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงแรงงาน

กรมการจัดหางาน
Department of Employment
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งพ.ศ. 2536
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
งบประมาณต่อปี1,216.1976 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • นายสมชาย มรกตศรีวรรณ, อธิบดี [2]
  • นายสิบหมื่นชัย โพธิสินธุ์, รองอธิบดี
  • นายมงคล สงคราม, รองอธิบดี
  • นายวิชิต อินทรเจริญ, รองอธิบดี
เว็บไซต์http://www.doe.go.th

ประวัติ

แก้

ยุคหลัง พ.ศ. 2475

แก้

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐบาลสมัยนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญ ของปัญหาแรงงาน ที่เกิดขึ้นในอนาคต จึงได้ดำเนินนโยบายของชาติไว้อย่างแน่ชัด ประกอบกับในระยะนั้น เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และประเทศไทยได้รับผลกระทบกระเทือนด้วย ประชาชนจึงว่างงานกันมาก หน่วยงานของรัฐบาล ที่ปฏิบัติงานบริหารแรงงาน ได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นกิจลักษณะเป็นครั้งแรก คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้กำหนดนโยบายหลัก 6 ประการ ประการหนึ่งระบุว่า "จะต้องบำรุงความสุขของราษฎรในทางเศรษฐกิจและหางานให้ราษฎรทุกคนทำ" รัฐบาลจึงได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยสำนักจัดหางาน พ.ศ. 2475[3] ขึ้นบังคับใช้เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2475 พระราชบัญญัติฉบับนี้ ให้สิทธิแก่เอกชนที่จะประกอบอาชีพ ในทางจัดตั้งสำนักงานรับจัดหางานให้แก่ประชาชนได้ โดยดำเนินงาน และบริการเรียกค่าบริการจากประชาชน ผู้มาใช้บริการภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด และในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2475 รัฐบาลก็ได้ตรา พระราชบัญญัติสำนักงานจัดหางานประจำท้องถิ่น พ.ศ. 2475[4] ขึ้นบังคับใช้ พระราชบัญญัติ ฉบับนี้กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานกลางจัดหางาน ขึ้นในจังหวัดพระนคร และธนบุรี ทำหน้าที่จัดหางานให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดค่าบริการ

ยุคจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

แก้

ต่อมาจึงได้มีการจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ขึ้นในปี พ.ศ. 2536 โดยการโอนภารกิจด้านแรงงานจากกระทรวงมหาดไทย[5] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2545 จึงมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมเป็น "กระทรวงแรงงาน"

อำนาจหน้าที่และการแบ่งส่วนราชการ

แก้

อำนาจหน้าที่

แก้

กรมการจัดหางาน มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีงานทำและคุ้มครองคนหางาน โดยการศึกษา วิเคราะห์สภาวะตลาดแรงงานและแนวโน้มตลาดแรงงาน เป็นศูนย์กลางข้อมูลตลาดแรงงาน รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมระบบการบริหารด้านการส่งเสริมการมีงานทำ เพื่อให้ประชากรมีงานทำที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถและความถนัดไม่ถูกหลอกลวง ตลอดจนได้รับสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมและเป็นธรรม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

  • ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกรมการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน กฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • วิเคราะห์สภาวะตลาดแรงงานและแนวโน้มความต้องการแรงงานและเป็นศูนย์ทะเบียนข้อมูลตลาดแรงงาน
  • พัฒนาระบบ รูปแบบ มาตรการ และวิธีการด้านการจัดหางาน จัดทำและประสานแผนการปฏิบัติงานของกรมให้สอดคล้องกับนโยบาย และยุทธศาสตร์ด้านแรงงานของกระทรวง รวมทั้งกำหนดมาตรฐานอาชีพ และอุตสาหกรรม
  • ให้คำปรึกษา ส่งเสริม และให้บริการแนะแนวอาชีพตามแนวถนัดให้แก่ประชาชน
  • ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

การแบ่งส่วนราชการ

แก้

กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการจัดหางานได้แบ่งส่วนราชการของกรมการจัดหางานเป็นราชการบริหารส่วนกลางและราชการบริหารส่วนภูมิภาค ดังนี้

  • ราชการบริหารส่วนกลาง
    • สำนักงานเลขานุการกรม
    • กองนิติการ
    • กองแผนงานและสารสนเทศ
    • กองพัฒนาระบบบริการจัดหางาน
    • กองวิจัยตลาดแรงงาน
    • กองส่งเสริมการมีงานทำ
    • สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
    • สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
    • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
    • สำนักงานจัดหางานจังหวัด อื่นๆ

ติดต่อหน่วยงาน

แก้

1506 กด 2

อ้างอิง

แก้