ธีระชัย แสนแก้ว
ธีระชัย แสนแก้ว (เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี และเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ธีระชัย แสนแก้ว | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 123 วัน) | |
เขตเลือกตั้ง | อำเภอกุมภวาปี อำเภอประจักษ์ศิลปาคม และอำเภอเมืองอุดรธานี (เฉพาะตำบลหนองไผ่) |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ – 9 กันยายน พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
ดำรงตำแหน่ง 24 กันยายน – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2530–2541) ไทยรักไทย (2541–2549) พลังประชาชน (2549–2551) เพื่อไทย (2555–2561, 2565–ปัจจุบัน) ภูมิใจไทย (2561–2565) |
ประวัติ
แก้นายธีระชัย แสนแก้ว เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นบุตรของนายปราโมทย์ กับนางทองหงวน แสนแก้ว สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต จากสถาบันราชภัฏอุดรธานี และระดับปริญญาโท สาขาสังคมสงเคราะห์ในกระบวนการยุติธรรม จากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาเอก บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
ธีระชัย แสนแก้ว มีบุตร 4 คน คือ สุธีรา แสนแก้ว ประชาชาติ แสนแก้ว มินธิรา แสนแก้ว และเศรษฐศาสตร์ แสนแก้ว
การทำงาน
แก้นายธีระชัย แสนแก้ว เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคพลังประชาชน เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[1] และเป็นหนึ่งในสองแนวร่วมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.) ซึ่งถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุก 6 เดือน ปรับ 10,000 บาท โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี พร้อมให้จำเลยทั้ง 2 ลงคำพิพากษาของศาลในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและไทยโพสต์ เป็นเวลา 3 วัน[2] จากคดีหมิ่นประมาทนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
ในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน[3]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ในสังกัดพรรคเพื่อไทย (ซึ่งต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้เป็นโมฆะ) และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี ในสังกัดพรรคภูมิใจไทย และในปี พ.ศ. 2562 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายศุภชัย โพธิ์สุ)[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2565 เขาได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[5] และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร จังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
- ↑ ""ศาลฎีกา" ฟัน แรมโบ้อีสาน – ธีระชัย" หมิ่น นายกฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-29. สืบค้นเมื่อ 2010-08-02.
- ↑ "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
- ↑ แต่งตั้ง “ธีระชัย แสนแก้ว” อดีตแกนนำแดงอุดรฯ เป็นที่ปรึกษารองประธานสภาฯ คนที่สอง
- ↑ “อีโต้อีสาน” ทิ้ง “ภูมิใจไทย” ไปอยู่ “เพื่อไทย” บอก “กลับบ้านเก่าดีกว่า”
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑