ชนาธิป ซ้อนขำ

นักเทควันโดชาวไทย

ร้อยเอกหญิง ชนาธิป ซ้อนขำ ชื่อเล่น เล็ก เกิดวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2534[2] เป็นนักเทควันโดหญิงชาวไทย ซึ่งเข้าร่วมแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 49 กิโลกรัม[3] และได้รับเหรียญทองแดงจากการแข่งขันดังกล่าว[4] โดยเป็นฝ่ายชนะนักเทควันโดจากประเทศกัวเตมาลาที่ 8-0 คะแนน[5][6]

ชนาธิป ซ้อนขำ
ชนาธิป ซ้อนขำ
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเล่นเล็ก
เกิด1 มีนาคม พ.ศ. 2534 (33 ปี)
อำเภอเมือง
จังหวัดพัทลุง
ประเทศไทย
ส่วนสูง1.66 m (5 ft 5 12 in)
กีฬา
กีฬาเทควันโด
ผู้ฝึกสอนชเว ยองซอก[1]
รายการเหรียญรางวัล
เทควันโดหญิง
ตัวแทนของ  ไทย
โอลิมปิกฤดูร้อน
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 ลอนดอน 2012 ไม่เกิน 49 กก.
เทควันโดชิงแชมป์โลก
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปวยบลา 2013 ไม่เกิน 49 กก.
เอเชียนเกมส์
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 กว่างโจว 2010 ไม่เกิน 49 กก.
เหรียญทอง - ชนะเลิศ อินชอน 2014 ไม่เกิน 49 กก.
ซีเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ซีเกมส์ 2015 ไม่เกิน 49 กก.
ยูเอสโอเพ่น
เหรียญทอง - ชนะเลิศ สหรัฐอเมริกา 2013 ไม่เกิน 49 กก.
เทควันโดชิงแชมป์เอเชีย
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 คาซัคสถาน 2010 ไม่เกิน 49 กก.
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 เวียดนาม 2012 ไม่เกิน 49 กก.
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 อุซเบกิสถาน 2014 ไม่เกิน 49 กก.
กีฬามหาวิทยาลัยโลก
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 เบลเกรด 2009 ไม่เกิน 51 กก.
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ควังจู 2015 ไม่เกิน 49 กก.
เทควันโดเยาวชนชิงแชมป์โลก
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ตุรกี 2008 ไม่เกิน 46 กก.
เทควันโดเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย
เหรียญทอง - ชนะเลิศ จอร์แดน 2007 ไม่เกิน 46 กก.

ประวัติ

แก้

ชนาธิป ซ้อนขำ เป็นชาวตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เป็นบุตรสาวของนายคำนึง และนางณัฐชยา ซ้อนขำ ซึ่งพ่อของเธอเป็นชาว จังหวัดตรัง มีพี่น้อง 3 คน โดยเป็นน้องคนสุดท้อง จบชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสตรีพัทลุง สำเร็จการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2] และศึกษาต่อในระดับปริญญาโท คณะและมหาวิทยาลัยเดียวกัน ทั้งนี้ชนาธิปได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาเทควันโดในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ประเภทหญิง รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 49 กก.กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยมีโค้ชชเว ยองซอก เป็นผู้ฝึกสอน[1]

ชนาธิปเป็นที่รู้จักในวงการเทควันโดอย่างกว้างขวาง และเป็นแรงบันดาลใจให้วรวงษ์ พงษ์พานิช เริ่มเล่นเทควันโด นอกจากนี้ ชนาธิปยังเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการแข่งขันระดับนานาชาติหลายรายการ โดยได้รับเหรียญทองจากรายการเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย 2007 ครั้งที่ 4 ที่ประเทศจอร์แดน, เหรียญเงินเยาวชนชิงแชมป์โลก 2008 ที่ประเทศตุรกี และเหรียญทองแดงกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2009 ที่ประเทศเซอร์เบีย[7] ต่อมาเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ชนาธิปยังคว้าเหรียญทอง ในการแข่งขันเทควันโดชิงแชมป์โลก ที่ประเทศเม็กซิโก โดยในรอบชิงชนะเลิศเธอเป็นฝ่ายชนะดานา ตูราน นักเทควันโดจากประเทศจอร์แดน ด้วยคะแนน 13-0[8]

ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2014 ที่เมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ ชนาธิปได้รับเหรียญทอง ในประเภทเทควันโดหญิงน้ำหนักไม่เกิน 49 กิโลกรัม เมื่อเป็นฝ่ายเอาชนะ หลี่ เสี่ยวยี่ จากจีนไป 10-3 คะแนน[9]

ชนาธิปเข้าร่วมแข่งขันเทควันโดรุ่นน้ำหนักไม่เกิน 49 กิโลกรัม ในกีฬาซีเกมส์ 2015 ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นการเข้าร่วมแข่งขันซีเกมส์ครั้งแรกของชนาธิป ผลการแข่งขันในรอบก่อนรองชนะเลิศ ชนะคะแนนนักกีฬาจากมาเลเซีย 10-7 รอบรองชนะเลิศ ชนะคะแนนนักกีฬาจากฟิลิปปินส์ 11-4 และรอบชิงชนะเลิศ ชนะคะแนนนักกีฬาจากติมอร์เลสเต 22-9 คว้าเหรียญทอง รุ่นไม่เกิน 49 กิโลกรัม และเป็นเหรียญทองแรกให้กับเทควันโดทีมชาติไทยในการแข่งขันครั้งนี้ ต่อมาเข้าร่วมการแข่งขันเทควันโด รายการ "Australian Open 2015" ที่เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย คว้าเหรียญทอง รุ่นไม่เกิน 49 กิโลกรัม ซึ่งเป็นการแข่งขันเพื่อเก็บสะสมคะแนนในการจัดอันดับโลก หรือ G2[10] และเข้าร่วมการแข่งขันเทควันโด รายการ "2015 Summer Universiade" หรือ กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2015 ที่เมืองควังจู ประเทศเกาหลีใต้ คว้าเหรียญทอง รุ่นไม่เกิน 49 กิโลกรัม[11]

อนึ่ง เมื่อสมัยยังเด็ก ชนาธิปเคยเป็นโรคหอบหืดและภูมิแพ้มาก่อน เมื่อได้ฝึกซ้อมเทควันโด อาการต่าง ๆ จึงหาย แต่หลังจากการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 จบลง มีเวลาพักโดยไม่ได้ฝึกซ้อมเลยเป็นเวลานานถึง 6 เดือน เมื่อกลับมาซ้อมใหม่ ร่างกายจึงปรับสภาพไม่ทัน ทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ บางจังหวะเต้น 2 ครั้งติดต่อกันแล้วหยุด แต่บางจังหวะก็เต้นเพียง 28 ครั้งต่อนาที ซึ่งน้อยมาก ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ตลอดจนรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง จนกระทั่งหายขาดเป็นปกติในปัจจุบัน[12]

รางวัลที่ได้รับ

แก้
  • พ.ศ. 2557 - รางวัลนักกีฬาดีเด่น (เทควันโด) สยามกีฬาอวอร์ดส์ ครั้งที่ 8[13]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 'ชนาธิป' โล่งอกตัวเก่งชวดแข่ง 'โค้ชเช' มั่นใจได้เฮ
  2. 2.0 2.1 "น้องเล็ก ชนาธิป ซ้อนขำ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-08-09.
  3. "Profile". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-16. สืบค้นเมื่อ 2012-08-09.
  4. “น้องเล็ก” คว้าทองแดง, “ไอ” เศร้าชวดหวุดหวิด
  5. "′ชนาธิป′ โชว์เพลงเตะกระหึ่ม!! คว่ำจอมเตะ ′กัวเตมาลา′ 8-0 ซิวเหรียญทองแดงสำเร็จ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-08-09.
  6. "น้องเล็ก ชนาธิป คว้าเหรียญทองแดงเทควันโดญ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-09.
  7. "ชนาธิป ซ้อนขำ : ข่าวสดออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-11-16.
  8. ชนาธิปเหนือชั้น ต้อนตูราน 13-0 คว้าแชมป์โลก เก็บถาวร 2013-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 17 กรกฎาคม 2556, ข่าวสยามสปอร์ต
  9. Kittipong Thongsombat. Chanatip secures gold in taekwondo. Bangkok Post. Wednesday, October 1, 2014. ISSN 1686-4271. Page 16 (อังกฤษ)
  10. "ชนาธิป" ผงาดคว้าทอง 49 กก. ศึกออสเตรเลียนโอเพ่น
  11. "น้องเล็ก" เจ๋งซิวทองม.โลก ล่าแชมป์โอลิมปิก
  12. "ใครคือใคร Identity Thailand ใครคือใครย้อนหลัง 10 มิ.ย. 2558". ใครคือใคร Identity Thailand. 10 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-21. สืบค้นเมื่อ 12 June 2015.
  13. "จิระพงศ์-รัชนกซิวนักกีฬายอดเยี่ยมสยามกีฬาฯ - Sport - Manager Online". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-03-06.
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๓, ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้