เครื่องอิสริยาภรณ์ดาวกางเขนใต้

เครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของประเทศบราซิลที่มอบให้แก่ชาวต่างประเทศ

เครื่องอิสริยาภรณ์ดาวกางเขนใต้ (โปรตุเกส: Ordem Nacional do Cruzeiro do Sul) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของประเทศบราซิล สำหรับมอบให้กับชาวต่างประเทศที่ทำคุณประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประเทศบราซิลและชาวบราซิล เครื่องอิสริยาภรณ์นี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยจักรวรรดิบราซิล โดยจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล[4] หลังได้รับเอกราชจากจักรวรรดิโปรตุเกส และมีการมอบครั้งแรกในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2365 โดยชื่อเครื่องอิสริยาภรณ์ตั้งมาจากกางเขนใต้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของประเทศบราซิลซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองริโอ เดจาเนโร เครื่องอิสริยาภรณ์นี้เคยถูกระงับไปในปี พ.ศ. 2436 และกลับมามอบอีกครั้งในปี พ.ศ. 2475 เดิมมีการมอบให้ทั้งชาวบราซิลและชาวต่างชาติ ต่อมาเมื่อมีการกลับมามอบอีกครั้งจึงได้ยกเลิกมอบเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ให้กับชาวบราซิลและมอบให้แก่ชาวต่างประเทศเสียส่วนใหญ่ และได้สร้างเครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งบราซิล สำหรับมอบให้แก่ชาวบราซิลแทน[1]

เครื่องอิสริยาภรณ์ดาวกางเขนใต้
ประเภทเครื่องอิสริยาภรณ์หกชั้น
วันสถาปนาพ.ศ. 2365[1]
ประเทศ บราซิล
จำนวนสำรับไม่จำกัดจำนวน
แพรแถบ
ผู้สมควรได้รับชาวต่างประเทศที่ทำคุณประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประเทศบราซิลและชาวบราซิล[2]
สถานะยังมีการมอบ
ผู้สถาปนาจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล
ประธานประธานาธิบดีเปรู
สถิติการมอบ
รายล่าสุดอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู (2561)[3]
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าไม่มี
รองมาเครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งบราซิล

ระดับชั้น

แก้

เครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีชัเนสูงสุดสำหรับประธานาธิบดีบราซิล[5] และมีอีก 6 ชั้นตามด้านล่าง ดังต่อไปนี้

  • ชั้นสายสร้อย (Grand Collar) สำหรับห้อยคอพร้อมดาราใช้ประดับบนอกซ้าย ชั้นนี้สำหรับผู้นำต่างประเทศ
  • ประถมาภรณ์ (Grand Cross) ดวงตราห้อยกับสายสะพายสีฟ้า ใช้สะพายจากบ่าขวาเฉียงลงทางซ้าย และดาราประดับบนอกซ้าย
  • ทุติยาภรณ์ (Grand Officer) ดวงตราห้อยกับแพรแถบสำหรับสวมคอ และดาราประดับบนอกซ้าย
  • ตริตาภรณ์ (Commander) ดวงตราใช้ห้อยกับแพรแถบสำหรับสวมคอ ไม่มีดารา
  • จัตุรถาภรณ์ (Officer) ดวงตราใช้ห้อยกับแพรแถบสำหรับประดับบนบ่าซ้าย มีดอกไม้จีบบนแพรแถบ
  • เบญจมาภรณ์ (Knight) ดวงตราใช้ห้อยกับแพรแถบสำหรับประดับบนบ่าซ้าย แต่ไม่มีดอกไม้จีบบนแพรแถบ
แพรแถบย่อ
 
เบญจมาภรณ์
 
จัตุรถาภรณ์
 
ตริตาภรณ์
 
ทุติยาภรณ์
 
ประถมาภรณ์
 
ชั้นสายสร้อย

สมาชิกอิสริยาภรณ์ที่มีชื่อเสียง

แก้
 
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ทรงสวมสายสร้อยและประดับดาราของเครื่องอิสริยาภรณ์กางเขนใต้เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2549

ชาวไทย

แก้

ชาวต่างประเทศอื่น ๆ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Condecorações: Cruizeiro do Sul – Histórico เก็บถาวร 2010-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Ministério das Relações Exteriores. Retrieved on 2010-10-10.
  2. National Order of the Southern Cross Medal-Medaille. Retrieved on 2010-10-10.
  3. https://www.jpost.com/Israel-News/Benjamin-Netanyahu/Netanyahu-in-Brazil-Forming-an-alliance-with-a-superpower-575708
  4. White, William. Notes and queries, Volume 78. London: 1888, p. 173.
  5. Condecorações: Cruizeiro do Sul – Regulamento Ministério das Relações Exteriores. Retrieved on 2010-10-10.
  6. อาจศึก ดวงสว่าง. การพัฒนาลิกไนท์ในประเทศไทย. 2507[1]
  7. "Decreto". 19 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-05. สืบค้นเมื่อ 2020-06-11.
  8. https://www.anpfoto.nl/search.pp?page=1&ShowPicture=6280020&pos=6
  9. "Armstrong lembrou Dumont como pioneiro da aviação". Estadão. 26 August 2012. สืบค้นเมื่อ 2 September 2018.
  10. "Viagem do Presidente Geisel ao Japão". September 1976. สืบค้นเมื่อ 15 May 2018.