เบนจามิน เนทันยาฮู
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เบนจามิน "บีบี" เนทันยาฮู (อังกฤษ: Benjamin "Bibi" Netanyahu; ฮีบรู: בִּנְיָמִין "בִּיבִּי" נְתָנְיָהוּ; อาหรับ: بنيامين نتانياهو; เกิด 21 ตุลาคม 2492) เป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอล สมาชิกรัฐสภา (Knesset) และหัวหน้าพรรคลิคุด (Likud)
เบนจามิน เนทันยาฮู | |
---|---|
בנימין נתניהו | |
ภาพถ่ายประจำตำแหน่งอย่างเป็นทางการในปี 2566 | |
นายกรัฐมนตรีอิสราเอล คนที่ 9 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 29 ธันวาคม 2565 | |
ประธานาธิบดี | ไอซาก เฮร์ซอก |
ก่อนหน้า | ยาอีร์ ลาปิด |
ดำรงตำแหน่ง 31 มีนาคม 2552 – 13 มิถุนายน 2564 | |
ประธานาธิบดี | ชิมอน เปเรส ริวเวน ริฟลิน |
ก่อนหน้า | เอฮุด โอลเมิร์ต |
ถัดไป | นัฟตาลี เบนเนตต์ |
ดำรงตำแหน่ง 18 มิถุนายน 2539 – 6 กรกฎาคม 2542 | |
ประธานาธิบดี | Ezer Weizman |
ก่อนหน้า | ชิมอน เปเรส |
ถัดไป | อีฮัด บารัก |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 18 ธันวาคม 2555 – 11 พฤศจิกายน 2556 รักษาการ | |
ก่อนหน้า | Avigdor Lieberman |
ถัดไป | Avigdor Lieberman |
ดำรงตำแหน่ง 6 พฤศจิกายน 2545 – 28 กุมภาพันธ์ 2546 | |
นายกรัฐมนตรี | อาเรียล ชารอน |
ก่อนหน้า | ชิมอน เปเรส |
ถัดไป | Silvan Shalom |
ผู้นำฝ่ายค้าน | |
ดำรงตำแหน่ง 28 มีนาคม 2549 – 31 มีนาคม 2552 | |
นายกรัฐมนตรี | เอฮุด โอลเมิร์ต |
ก่อนหน้า | Amir Peretz |
ถัดไป | Tzipi Livni |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 28 กุมภาพันธ์ 2546 – 9 สิงหาคม 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | อาเรียล ชารอน |
ก่อนหน้า | Silvan Shalom |
ถัดไป | เอฮุด โอลเมิร์ต |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | เบนจามิน เนทันยาฮู 21 ตุลาคม พ.ศ. 2492 เทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล |
เชื้อชาติ | อิสราเอล |
ศาสนา | ยูดาย |
พรรคการเมือง | Likud |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | Likud Beiteinu (2555–2557) |
คู่สมรส | Miriam Weizmann (2515–2521) Fleur Cates 2524–2527) Sara Ben-Artzi (2534–ปัจจุบัน) |
บุตร | โนอา Avner Yair |
บุพการี | เบนไซออน เนทันยาฮู ซีลา ซีกัล |
ศิษย์เก่า | สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (วท.บ., วท.ม.) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด |
วิชาชีพ | นักเขียน ที่ปรึกษาการจัดการ ผู้บริหารการตลาด นักการเมือง |
ลายมือชื่อ | |
เว็บไซต์ | netanyahu |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | กองทัพอิสราเอล |
สังกัด | กองทัพบกอิสราเอล |
ประจำการ | 2510–2516 |
ยศ | Seren (ร้อยเอก) |
หน่วย | หน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ |
ผ่านศึก | สงครามการบั่นทอนกำลัง สงครามยมคิปปูร์ |
เขาเกิดในกรุงเทลอาวีฟ มีบิดามารดาเป็นชาวยิวโลกิยะ เนทันยาฮูเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนแรกที่เกิดในประเทศอิสราเอลหลังการสถาปนารัฐ เนทันยาฮูเข้าร่วมกองกำลังป้องกันอิสราเอลไม่นานหลังสงครามหกวันในปี 2510 และเป็นหัวหน้าทีมคอมมานโดในหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ เขาเข้าร่วมหลายภารกิจ ซึ่งประกอบด้วยปฏิบัติการอินเฟอร์โน (ปี 2511), ปฏิบัติการกิฟต์ (ปี 2511) และปฏิบัติการไอโซโทป (ปี 2525) ซึ่งระหว่างนั้นเขาถูกยิงที่ไหล่ เขาต่อสู้ในแนวหน้าในสงครามการบั่นทอนกำลัง และสงครามยมคิปปูร์ในปี 2516 โดยร่วมกับกำลังพิเศษตีโฉบฉวยตามคลองสุเอซ แล้วนำการโจมตีของคอมมานโดลึกเข้าดินแดนซีเรีย เขาได้ยศร้อยเอกก่อนได้รับการปลด หลังสำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ด้วยปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิตและวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต เขาได้รับสรรหาเป็นผู้ให้คำปรึกษาทางเศรษฐกิจแก่บอสตันคอนซัลทิงกรุป เขากลับประเทศอิสราเอลในปี 2521 เพื่อก่อตั้งสถาบันต่อต้านการก่อการร้ายโยนาทัน เนทันยาฮู (Yonatan Netanyahu Anti-Terror Institute) ซึ่งได้ชื่อตามโยนาทัน เนทันยาฮู ผู้เสียชีวิตขณะเป็นผู้นำปฏิบัติการเอนเทบเบ เนทันยาฮูรับราชการเป็นเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำสหประชาชาติตั้งแต่ปี 2527 ถึง 2531
เนทันยาฮูเป็นหัวหน้าพรรคลิคุดในปี 2536 เนทันยาฮูชนะการเลือกตั้งปี 2539 ทำให้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลที่หนุ่มที่สุด ดำรงวาระแรกระหว่างเดือนมิถุนายน 2539 ถึงกรกฎาคม 2541 เขาย้ายจากเวทีการเมืองไปภาคเอกชนหลังพ่ายการเลือกตั้งชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีปี 2542 แก่เอฮุด บารัค (Ehud Barak) เนทันยาฮูหวนคืนการเมืองในปี 2545 โดยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ปี 2545–2546) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ปี 2546–2548) ในรัฐบาลแอเรียล ชารอน แต่เขาออกจากรัฐบาลเพราะความไม่ลงรอยต่อแผนการปลดปล่อยกาซา ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เนทันยาฮูปฏิรูปเศรษฐกิจอิสราเอลขนานใหญ่ ซึ่งผู้วิจารณ์ยกย่องว่าพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในเวลาต่อมาอย่างสำคัญ เขาทวงตำแหน่งหัวหน้าพรรคลิคุดในเดือนธันวาคม 2548 หลังชารอนออกไปตั้งพรรคการเมืองต่างหาก ในเดือนธันวาคม 2549 เนทันยาฮูเป็นผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภาและหัวหน้าพรรคลิคุดอย่างเป็นทางการ หลังการเลือกตั้งรัฐสภาปี 2552 ซึ่งลิคุดได้อันดับสองและพรรคฝ่ายขวาได้เสียงข้างมาก เนทันยาฮูตั้งรัฐบาลผสม หลังชัยชนะในการเลือกตั้งปี 2556 เขากลายเป็นบุคคลที่สองที่ได้รับเลือกตั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สาม ถัดจากเดวิด เบนกูเรียน ในเดือนมีนาคม 2558 เนทันยาฮูได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ห้า
เนทันยาฮูได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลสี่สมัย เท่ากับสถิติของเดวิด เบนกูเรียน เขาเป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียวในประวัติศาสตร์อิสราเลที่ได้รับเลือกตั้งสามครั้งติดต่อกัน ปัจจุบันเขาเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวที่สุดเป็นอันดับที่สอง[1][2][3]
อ้างอิง
แก้- ↑ Heller, Aron (17 July 2019). "Netanyahu makes history as Israel's longest-serving leader". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 17 July 2019.
- ↑ Williams, Dan (18 July 2019). "Bruised but driven, Netanyahu becomes Israel's longest-serving PM". Reuters. สืบค้นเมื่อ 18 July 2019.
- ↑ Schwartz, Felicia (20 July 2019). "Benjamin Netanyahu Becomes Israel's Longest-Serving Premier Amid Political Storm". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 20 July 2019.