สงครามยมคิปปูร์

สงครามยมคิปปูร์, สงครามเราะมะฎอนหรือสงครามตุลาคม (อังกฤษ: Yom Kippur War, Ramadan War, หรือ October War; ฮีบรู: מלחמת יום הכיפורים Milẖemet Yom HaKipurim หรือ מלחמת יום כיפור Milẖemet Yom Kipur) เป็นสงครามรบกันระหว่างแนวร่วมรัฐอาหรับซึ่งมีประเทศอียิปต์และซีเรียเป็นผู้นำต่ออิสราเอลตั้งแต่วันที่ 6 ถึง 25 ตุลาคม 2516 การสู้รบส่วนใหญ่เกิดในคาบสมุทรไซนายและที่ราบสูงโกลัน ดินแดนซึ่งอิสราเอลยึดครองตั้งแต่สงครามหกวันเมื่อปี 2510 ประธานาธิบดีอียิปต์ อันวัร อัสซาดาต ยังต้องการเปิดคลองสุเอซอีกครั้ง ทั้งสองประเทศมิได้วางแผนเจาะจงทำลายอิสราเอล แต่ผู้นำอิสราเอลไม่อาจมั่นใจได้

สงครามยมคิปปูร์

กองทัพอียิปต์ข้ามคลองสุเอซในวันที่ 7 ตุลาคม
วันที่6–25 ตุลาคม พ.ศ. 2516
สถานที่
คาบสมุทรไซนาย, ที่ราบสูงโกลัน
ผล

อิสราเอลชนะทางการทหาร[17]

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง


  • กองทัพอียิปต์ยึดครองฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ โดยยกเว้นจุดข้ามของอิสราเอลใกล้กับดีเวอร์ซัวร์ (Deversoir)
  • กองทัพอิสราเอลยึดครองดินแดน 1,600 ตารางกิโลเมตรบนชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของคลองสุเอซ ในระยะ 100 กิโลเมตรจากกรุงไคโร และล้อมดินแดนแทรกอียิปต์ในฝั่งตะวันออก
  • กองทัพอิสราเอลยึดครองดินแดนบาชันซีเรีย (Syrian Bashan) 500 ตารางกิโลเมตร บนยอดที่ราบสูงโกลัน ซึ่งอยู่ในระยะ 20 ไมล์จากกรุงดามัสกัส
คู่สงคราม
 อิสราเอล

 อียิปต์
 ซีเรีย

กำลังรบนอกประเทศ:

สนับสนุนโดย:

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อิสราเอล โกลดา เมอีร์
อิสราเอล โมเช ดายัน
อิสราเอล เดวิด เอลาซาร์
อิสราเอล อิสราเอล ทัล
อิสราเอล อาเรียล ชารอน
อียิปต์ อันวัร อัสซาดาต
ซีเรีย ฮาเฟซ อัล-อัซซาด
กำลัง

375,000[18]–415,000นาย
เครื่องบินรบ 440 ลำ

รถถัง 1,700 คัน[19]

อียิปต์:
650,000[18]–800,000[20] นาย รถถัง1,700 คัน เครื่องบินรบ 400 ลำ:
ซีเรีย:
150,000[18] นาย

รถถัง 1,200 คัน
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 5,000[21]–15,000[22]คน
บาดเจ็บ
7,250[23]–8,800[21] คน
ถูกจับเป็นเชลย 293 คน
รถถังถูกทำลาย 1,063 คัน[24]
เครื่องบินถูกทำลาย102–387 ลำ[25][26]
อียิปต์:
เสียชีวิต 2,521[27]–2,800[21][28] คน
ถูกจับเป็นเชลย 8,372 คน[29]
ซีเรีย:เสียชีวิต 3,000[21]–3,500[22] คน
ถูกจับเป็นเชลย 392 คน captured[29]

สงครามเริ่มต้นเมื่อแนวร่วมอาหรับเปิดฉากจู่โจมร่วมต่อที่ตั้งของอิสราเอลในดินแดนที่อิสราเอลยึดครองในวันยมคิปปูร์ (Yom Kippur) ซึ่งเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในศาสนายูดาย ซึ่งในปีนั้นยังตรงกับเดือนเราะมะฎอนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลามด้วย กำลังอียิปต์และซีเรียข้ามเส้นหยุดยิงเข้าสู่คาบสมุทรไซนายและที่ราบสูงโกลันตามลำดับ ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเริ่มความพยายามส่งกำลังบำรุงแก่พันธมิตรของตนระหว่างสงคราม และนำไปสู่การเกือบเผชิญหน้ากันระหว่างอภิมหาอำนาจนิวเคลียร์สองประเทศ

สงครามเริ่มต้นด้วยการข้ามคลองสุเอซครั้งใหญ่ที่สำเร็จของอียิปต์ หลังข้ามเส้นหยุดยิง กำลังอียิปต์รุดหน้าโดยแทบไม่มีการต้านทานเข้าสู่คาบสมุทรไซนาย หลังสามวันผ่านไป อิสราเอลได้ระดมพลกำลังส่วนใหญ่และหยุดยั้งการรุกของอียิปต์ ทำให้เกิดการตรึงอำนาจทางทหาร ฝ่ายซีเรียประสานงานการโจมตีที่ราบสูงโกลันให้พร้อมกับการรุกของอียิปต์ และทีแรกได้ดินแดนเพิ่มอย่างคุกคามสู่ดินแดนที่อิสราเอลถือครอง ทว่า ภายในสามวัน กำลังอิสราเอลผลักซีเรียเข้าสู่เส้นหยุดยิงก่อนสงคราม จากนั้นกำลังป้องกันอิสราเอลเปิดฉากการตีโต้ตอบสี่วันลึกเข้าไปในประเทศซีเรีย ภายในหนึ่งสัปดาห์ ปืนใหญ่อิสราเอลเริ่มระดมยิงชานกรุงดามัสกัส เมื่อประธานาธิบดีอียิปต์ซาดาตเริ่มกังวลเกี่ยวกับบูรณภาพของพันธมิตรหลักของเขา เขาเชื่อว่าการยึดจุดผ่านยุทธศาสตร์สองจุดซึ่งตั้งอยู่ลึกในไซนายจะทำให้ฐานะของเขาแข็งแรงขึ้นระหว่างการเจรจาหลังสงคราม ฉะนั้นเขาจึงสั่งให้อียิปต์กลับไปรุกอีก แต่การเข้าตีนั้นถูกขับกลับมาอย่างรวดเร็ว จากนั้นอิสราเอลตีโต้ตอบที่แนวต่อระหว่างกองทัพอียิปต์สองกองทัพ ข้ามคลองสุเอซเข้าประเทศอียิปต์ และเริ่มรุกหน้าอย่างช้า ๆ ลงใต้และไปทางตะวันตกสู่นครสุเอซในการสู้รบอย่างหนักกว่าหนึ่งสัปดาห์ซึ่งทำให้ทั้งสองฝ่ายเสียกำลังพลมาก

วันที่ 22 ตุลาคม การหยุดยิงที่สหประชาชาติเป็นนายหน้าคลี่คลายอย่างรวดเร็ว โดยต่างฝ่ายต่างโทษอีกฝ่ายว่าละเมิด ในวันที่ 24 ตุลาคม อิสราเอลพัฒนาฐานะของตนอย่างมากและสำเร็จการล้อมกองทัพที่สามของอียิปต์และนครสุเอซ การพัฒนานี้นำไปสู่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ผลคือ มีการกำหนดการหยุดยิงครั้งที่สองด้วยความร่วมมือตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคมถึงสิ้นสงคราม

สงครามนี้มีการส่อความกว้างขวาง โลกอาหรับซึ่งประสบความอับอายในการแตกล่าฝ่ายเดียวของพันธมิตรอียิปต์–ซีเรีย–จอร์แดนในสงครามหกวัน รู้สึกว่าได้แก้ตัวทางจิตใจจากความสำเร็จขั้นต้นในความขัดแย้งนี้ ในประเทศอิสราเอล แม้มีความสำเร็จทางปฏิบัติการและยุทธวิธีอันน่าประทับใจในสมรภูมิ แต่สงครามนี้นำให้มีการตระหนักว่าไม่มีการรับประกันว่าประเทศอิสราเอลจะครอบงำรัฐอาหรับในทางทหารได้เสมอไป ดังที่เคยเป็นมาตลอดสงครามอาหรับ–อิสราเอลครั้งที่หนึ่ง สงครามสุเอซและสงครามหกวันก่อนหน้านี้ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ปูทางสู่กระบวนการสันติภาพต่อมา ข้อตกลงค่ายเดวิดปี 2521 ในภายหลังนำสู่การคืนคาบสมุทรไซนายให้ประเทศอียิปต์และการคืนความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการรับรองอิสราเอลอย่างสันติโดยประเทศอาหรับเป็นครั้งแรก ประเทศอียิปต์ยังตีตนออกห่างจากสหภาพโซเวียตต่อไปและออกจากเขตอิทธิพลโซเวียตโดยสิ้นเชิง

อ้างอิง แก้

  1. Edgar O'Ballance. No Victor, No Vanquished: The Yom Kippur War (1979 ed.). Barrie & Jenkins Publishing. pp. 28–370. ISBN 978-0214206702.
  2. Shazly, p. 278.

  3. Perez, Cuba, Between Reform and Revolution, pp. 377–379. Gott, Cuba, A New History, p. 280.
  4. Herzog (1975). The War of Atonement. Little, Brown and Company.. Foreword.
  5. Insight Team of the London Sunday Times, p. 450.
  6. Luttwak; Horowitz (1983). The Israeli Army. Cambridge, MA: Abt Books.
  7. Rabinovich (2004). The Yom Kippur War. Schocken Books. p. 498.
  8. Kumaraswamy, PR (March 30, 2000). Revisiting The Yom Kippur War. pp. 1–2. ISBN 978-0-7146-5007-4.
  9. Johnson; Tierney. Failing To Win, Perception of Victory and Defeat in International Politics. pp. 177, 180.
  10. Liebman, Charles (July 1993). "The Myth of Defeat: The Memory of the Yom Kippur war in Israeli Society" (PDF). Middle Eastern Studies. London: Frank Cass. 29 (3): 411. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 7, 2013.
  11. "Israel's victory came at the cost of heavy casualties, and Israelis criticized the government's lack of preparedness." YOM KIPPUR WAR at history.com
  12. "The 1973 war thus ended in an Israeli victory, but at great cost to the United States.", The 1973 Arab-Israeli War at website of Office of the Historian
  13. Simon Dunstan. The Yom Kippur War: The Arab-Israeli War of 1973. p. 205.[ลิงก์เสีย]
  14. Asaf Siniver (2013). The Yom Kippur War: Politics, Legacy, Diplomacy. Oxford University Press. p. 6. ISBN 978-0-19-933481-0. (p. 6) For most Egyptians the war is remembered as an unquestionable victory- militarily as well as politically...The fact that the war ended with Israeli troops stationed in the outskirts of Cairo and in complete encirclement of the Egyptian third army has not dampened the jubilant commemoration of the war in Egypt.... (p 11) Ultimately, the conflict provided a military victory for Israel, but it is remembered as "the earthquake" or "the blunder"
  15. Ian Bickerton (2 February 2012). The Arab-Israeli Conflict: A Guide for the Perplexed. A&C Black. p. 128. ISBN 978-1-4411-2872-0. the Arab has suffered repeated military defeats at the hand of Israel-in 1956, 1967, and 1973
  16. P.R. Kumaraswamy (11 January 2013). Revisiting the Yom Kippur War. Routledge. p. 184. ISBN 978-1-136-32888-6. (p. 184) Yom Kippur War... its final outcome was, without doubt, a military victory ... (p. 185) in October 1973, that despite Israels military victory
  17. See [4][5][6][7][8][9][10][11][12][13][14][15][16]
  18. 18.0 18.1 18.2 Rabinovich. The Yom Kippur War. p. 54.
  19. Insight Team of the London Sunday Times, p. 372–373.
  20. Herzog. p. 239.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 Garwych, p. 243.
  22. 22.0 22.1 Herzog, Encyclopaedia Judaica, Keter Publishing House, 1974, p. 87.
  23. Rabinovich. The Yom Kippur War. p. 497.
  24. Rabinovich, p. 496
  25. "White House Military Briefing" (PDF). สืบค้นเมื่อ October 22, 2011.
  26. "القوة الثالثة، تاريخ القوات الجوية المصرية." Third Power: History of Egyptian Air Force Ali Mohammed Labib. pp. 187
  27. Schiff, A History of the Israeli Army, p. 328.
  28. Journal "الأهرام","Al Ahram". 14 October 1974
  29. 29.0 29.1 "Ministry of Foreign Affairs". Mfa.gov.il. สืบค้นเมื่อ October 22, 2011.