โยนาทัน เนทันยาฮู

นายทหารชาวอิสราเอล

โยนาทัน "โยนี" เนทันยาฮู (ฮีบรู: יונתן נתניהו ‎; อังกฤษ: Yonatan "Yoni" Netanyahu; 13 มีนาคม ค.ศ. 1946 – 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976) เป็นนายทหารกองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) ผู้บัญชาการหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการระหว่างปฏิบัติการเอนเทบเบ ซึ่งเป็นปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือตัวประกันที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบในประเทศยูกันดาเมื่อปี ค.ศ. 1976 ภารกิจนี้ประสบความสำเร็จ โดยตัวประกัน 102 คนจากทั้งหมด 106 คนได้รับการช่วยชีวิต แต่เนทันยาฮูเสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่—ซึ่งเป็นกองกำลังป้องกันอิสราเอลเพียงรายเดียวที่เสียชีวิตระหว่างปฏิบัติการ

โยนาทัน เนทันยาฮู
ภาพเท่าที่ทราบล่าสุด ไม่นานก่อนที่เขาจะเสียชีวิตจากการเป็นผู้นำปฏิบัติการเอนเทบเบ[1]
ชื่ออื่นโจนาธาน เนทันยาฮู
ชื่อเล่นโยนี
เกิด13 มีนาคม ค.ศ. 1946
นครนิวยอร์ก สหรัฐ
เสียชีวิตกรกฎาคม 4, 1976(1976-07-04) (30 ปี)
เอนเทบเบ ประเทศยูกันดา
รับใช้ อิสราเอล
แผนก/สังกัด กองทัพบกอิสราเอล
ประจำการค.ศ. 1964–1976
ชั้นยศพันโท
หน่วยกองพลน้อยพลร่มที่ 35
หน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ
บังคับบัญชาหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ
การยุทธ์
บำเหน็จเหรียญทหารยอดเยี่ยม

เขาเป็นบุตรชายคนโตของศาสตราจารย์ชาวอิสราเอลชื่อเบนซิโยน เนทันยาฮู โดยโยนาทันเกืดในนครนิวยอร์กและใช้เวลาส่วนใหญ่ในวัยหนุ่มของเขาในสหรัฐ ที่เขาเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยม หลังจากทำหน้าที่ในกองกำลังป้องกันอิสราเอลระหว่างสงครามหกวันในปี ค.ศ. 1967 เขาเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดช่วงสั้น ๆ ก่อนที่จะย้ายไปเรียนที่มหาวิทยาลัยฮีบรูแห่งเยรูซาเลมเมื่อปี ค.ศ. 1968 หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ออกจากการศึกษาและกลับมายังกองกำลังป้องกันอิสราเอล เขาเข้าร่วมหน่วยซาเยเรตมัตคัลในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 และได้รับรางวัลเหรียญทหารยอดเยี่ยมสำหรับการปฏิบัติของเขาในสงครามยมคิปปูร์ ค.ศ. 1973 หลังจากการเสียชีวิตของเขาในปฏิบัติการเอนเทบเบ ปฏิบัติการดังกล่าวได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น "ปฏิบัติการโยนาทัน" เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา

เขามีน้องชายชื่อเบนจามิน เนทันยาฮู ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 ถึงปี ค.ศ. 2021 และยังทำหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวระหว่างปี ค.ศ. 1996 ถึง 1999 ทั้งสองมีน้องชายคนที่สามชื่ออิดโด เนทันยาฮู ซึ่งเป็นทหารในหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ

ประวัติ แก้

โยนาทัน เนทันยาฮู เกิดในนครนิวยอร์ก เขาเป็นลูกชายคนโตของซีลา (นามสกุลเดิม ซีกัล; ค.ศ. 1912–2000) และเบนซิโยน เนทันยาฮู (ค.ศ. 1910–2012) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณสาขาประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคอร์เนล เขาได้รับการตั้งชื่อตามปู่ของเขา ซึ่งเป็นอาจารย์ในศาสนายิวชื่อนาธาน ไมเลย์คาวสกี และผู้พัน จอห์น เฮนรี แพตเทอร์สัน ที่เคยบัญชากองพันยิวอาสา และดูแลชาวยิว[2] เขามีน้องชายสองคนคือเบนจามินและอิดโด ซึ่งเบนจามิน (ชื่อเล่น "บีบี") ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลในปี ค.ศ. 1996, ในปี ค.ศ. 2009 รวมทั้งการเลือกตั้งใหม่ในปี ค.ศ. 2013 และ 2015 ส่วนอิดโด น้องคนสุดท้องในสามคน เป็นทั้งรังสีแพทย์และนักเขียน ซึ่งทั้งสามพี่น้องเป็นทหารในหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ

เนทันยาฮูเข้าศึกษาที่เชลเทนแฮมไฮสกูล ในวินโกต รัฐเพนซิลเวเนีย โดยสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 1964 ในฐานะเพื่อนร่วมชั้นของเรจจี แจ็กสัน ผู้เป็นสมาชิกหอเกียรติยศเบสบอล เมื่อครั้งที่อยู่ในไฮสกูล เขาเริ่มใคร่ครวญจุดมุ่งหมายในชีวิต เมื่อเขาเขียนหนังสือในปี ค.ศ. 1963 โดยเขียนว่า "ปัญหาต่อวัยรุ่นที่นี่คือชีวิตของพวกเขาที่ขาดแคลนความพึงพอใจ ผมควรจะพร้อมในทุกช่วงเวลาของชีวิตที่จะเผชิญหน้ากับตัวเองและกล่าว—'นี่คือสิ่งที่ผมได้ทำ'"[3][4]

เนทันยาฮูแต่งงานกับแฟนสาวชื่อเทอร์ซา ("ทูตี") ที่คบกันมาเป็นเวลานานในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1967 ไม่นานหลังจากงานแต่งงานของพวกเขา พวกเขาบินไปที่สหรัฐ โดยโยนีเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขาเรียนวิชาปรัชญาและคณิตศาสตร์ ด้วยผลการเรียนยอดเยี่ยมทั้งสองวิชา และอยู่ในรายชื่อนักเรียนที่เรียนดีมากในช่วงปลายปีแรก[5] อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าเมื่ออยู่ห่างจากประเทศอิสราเอล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออิสราเอลต่อสู้กับอียิปต์ในช่วงสงครามการบั่นทอนกำลัง ย้ายไปเรียนที่มหาวิทยาลัยฮีบรูแห่งเยรูซาเลมในปี ค.ศ. 1968 กระทั่งในช่วงต้นปี ค.ศ. 1969 เขาออกจากการศึกษาและกลับไปที่กองทัพ[6] บิดาของเขาอธิบายถึงการตัดสินใจนั้นว่า "เขาฝันที่จะกลับมาศึกษาต่อและวางแผนที่จะทำเช่นนั้นครั้งแล้วครั้งเล่า ถึงกระนั้นเขาก็ยังคงเปลี่ยนบรรยากาศอยู่เสมอที่เขากลับไปฮาร์วาร์ดเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทางทหาร"[6]

ในปี ค.ศ. 1972 เขากับทูตีหย่าขาดจากกัน เนทันยาฮูอาศัยอยู่กับบรูเรียแฟนใหม่ของเขาเป็นเวลาสองปี ก่อนเขาเสียชีวิต[7]

อาชีพทหาร แก้

หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับไฮสกูล เนทันยาฮูเข้าร่วมกองกำลังป้องกันอิสราเอลในปี ค.ศ. 1964 เขาอาสาที่จะเป็นทหารในกองพลน้อยพลร่ม และสันทัดในหลักสูตรฝึกอบรมนายทหาร ในที่สุดเขาก็ได้รับคำสั่งจากกองร้อยพลร่ม

ในปี ค.ศ. 1967 เขานึกถึงวิทยาลัย แต่สงครามคุกคามอย่างต่อเนื่องทำให้เขาอยู่ในอิสราเอล: "นี่คือประเทศและบ้านเกิดเมืองนอนของฉัน ฉันมีสังกัดอยู่ที่นี่" เขาเขียน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1967 ในช่วงสงครามหกวัน กองพันของเขาต่อสู้ในยุทธการที่อุมกอเตฟในไซนาย แล้วได้เสริมกำลัง ณ ยุทธการที่ราบสูงโกลัน[7] ระหว่างยุทธการที่ราบสูงโกลัน เขาได้รับบาดเจ็บในขณะที่ช่วยเหลือเพื่อนทหารที่ได้รับบาดเจ็บหลังแนวข้าศึก เขาได้รับการติดเหรียญกล้าหาญหลังจากสงครามครั้งนั้น[3]

หลังจากได้รับบาดเจ็บ เขากลับไปสหรัฐเพื่อเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด[6] แต่หลังจากนั้นหนึ่งปี เขารู้สึกว่าจำเป็นที่จะต้องกลับไปอิสราเอลเพื่อสมทบกับกองทัพ "ณ ขณะนี้" เขาได้เขียนไว้ในจดหมาย "ฉันควรจะปกป้องประเทศของฉัน ฮาร์วาร์ดเป็นที่หรูหราที่ฉันไม่สามารถจ่ายได้"[6] เขากลับไปฮาร์วาร์ดในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1973 แต่ก็ยกเลิกชีวิตด้านวิชาการอีกครั้งเพื่อวงการทหารของอิสราเอล[6]

โดยปี ค.ศ. 1970 เขาเป็นผู้บัญชาการหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ (หน่วยรบพิเศษกรมข่าวกรองทหารอิสราเอล) ซึ่งเป็นหน่วยลาดตระเวนพิเศษต่อต้านการก่อการร้าย และในฤดูร้อนปี ค.ศ. 1972 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้บัญชาการของหน่วย[3] ปีนั้นเขาได้รับคำสั่งให้โจมตีในปฏิบัติการใส่หีบ 3 ซึ่งเจ้าหน้าที่อาวุโสของซีเรียถูกจับในฐานะชิปต่อรองเพื่อแลกเปลี่ยนในภายหลังกับนักบินชาวอิสราเอลผู้ถูกจับกุม ในปีต่อไปเขาได้เข้าร่วมในปฏิบัติการสปริงออฟยูธ ซึ่งผู้ก่อการร้ายและผู้นำของกลุ่มกันยาทมิฬได้ถูกเลือกสังหารโดยหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ, กองเรือ 13 และมอสสาด[7]

ในช่วงสงครามยมคิปปูร์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1973 เนทันยาฮูสั่งกองกำลังหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการในที่ราบสูงโกลันสังหารคอมมานโดซีเรียกว่า 40 คนในการต่อสู้ ซึ่งได้ขัดขวางการตีโฉบฉวยของคอมมานโดซีเรียในดินแดนส่วนกลางของโกลัน ในช่วงสงครามเดียวกัน เขายังได้ช่วยชีวิตพันโท ยอสซี เบน ฮานาน จากเทลชัมส์ ขณะที่เบน ฮานาน กำลังนอนบาดเจ็บอยู่หลังเส้นเขตซีเรีย[7]

หลังสงคราม เนทันยาฮูได้รับบำเหน็จเหรียญทหารยอดเยี่ยม (ฮีบรู: עיטור המופת) ซึ่งเป็นเครื่องยศทางทหารสูงสุดอันดับสามของอิสราเอล สำหรับการช่วยเบน ฮานาน ของเขา จากนั้น เนทันยาฮูอาสาเป็นผู้บัญชาการหุ้มเกราะ เนื่องจากความเสียหายอย่างหนักได้ก่อให้เกิดกองกำลังติดอาวุธของอิสราเอลในช่วงสงคราม ซึ่งมีจำนวนไม่มากในหมู่นายทหารเหล่านี้ เนทันยาฮูมีความสันทัดในหลักสูตรเจ้าหน้าที่ควบคุมรถถัง และได้รับคำสั่งจากกองพลหุ้มเกราะบารักซึ่งได้ถูกทำลายในช่วงสงคราม เนทันยาฮูพากองพลน้อยของเขากลับเข้าไปในหน่วยทหารนำในที่ราบสูงโกลัน[7] เขาถือว่าชาวปาเลสไตน์เป็น'สามัญชนผู้อาศัยอยู่ในคูหา'[8]

ปฏิบัติการเอนเทบเบ แก้

วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 เป็นวันที่ยิ่งใหญ่สู่การเป็นชาวอเมริกัน และวันที่ยิ่งใหญ่สู่การเป็นชาวยิว และผมมั่นใจ ว่าเป็นวันที่น่าตื่นเต้นอย่างยิ่ง ของการเป็นชาวอเมริกันและชาวยิว

จอร์จ วิล นักวิจารณ์การเมือง[9]

เนทันยาฮูเสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 ขณะบัญชาการภารกิจกู้ภัยในระหว่างปฏิบัติการเอนเทบเบ[9] เขาเป็นทหารอิสราเอลคนเดียวที่ถูกสังหารในระหว่างการโจมตี (พร้อมทั้งตัวประกันสามคน, สมาชิกแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ทั้งหมด และทหารยูกันดาอีกหลายสิบคน) เรื่องเล่าที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปของการเสียชีวิตของเขาคือการที่โยนาทันยิงทหารยูกันดา และถูกยิงโต้ตอบโดยชาวแอฟริกันจากหอควบคุมของท่าอากาศยาน ครอบครัวของเขาปฏิเสธที่จะยอมรับคำตัดสินนี้ และยืนยันว่าเขาถูกสังหารโดยชาวเยอรมันผู้บัญชาการสลัดอากาศ[10][11] เนทันยาฮูถูกยิงนอกอาคารแบบโหมกระหน่ำ จากนั้นไม่นานเขาก็เสียชีวิตในอ้อมแขนของเอเฟรม สเนห์ ผู้บัญชาการหน่วยแพทย์ของภารกิจ[12] ปฏิบัติการดังกล่าวประสบความสำเร็จ และได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นมิฟต์ซาโยนาทัน ("ปฏิบัติการโยนาทัน" ในภาษาไทย) เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา[9]

เนทันยาฮูได้รับการฝังอยู่ในสุสานทหารของกรุงเยรูซาเลมที่เมาต์เฮิร์ซเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม หลังจากพิธีศพทางทหาร ซึ่งมีประชาชนจำนวนมหาศาลและเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้าร่วม[13] ส่วนชิมอน เปเรส ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น ได้กล่าวถ้อยคำสรรเสริญช่วงนั้นว่า "กระสุนได้ฉีกหัวใจชายหนุ่ม หนึ่งในบุตรชายที่ดีที่สุดของอิสราเอล, หนึ่งในนักรบผู้กล้าหาญที่สุด, หนึ่งในผู้บัญชาการที่มีแววมากที่สุด – โยนาทัน เนทันยาฮู ผู้สง่างาม"[7]

ทั้งนี้ มีต้นไม้อนุสรณ์ซึ่งปลูกไว้เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาด้านหน้าของเชลเทนแฮมไฮสกูล ซึ่งเป็นไฮสกูลที่เขาสำเร็จการศึกษา และแผ่นโลหะอนุสรณ์ตั้งอยู่ในล็อบบี

จดหมายส่วนตัว แก้

ในปี ค.ศ. 1980 ได้มีการเผยแพร่จดหมายส่วนตัวของเนทันยาฮูหลายฉบับ นักประพันธ์อย่างเฮอร์แมน โวค ได้อธิบายว่าจดหมายเหล่านั้นเป็น "งานวรรณกรรมที่น่าทึ่งซึ่งอาจเป็นหนึ่งในเอกสารที่ยอดเยี่ยมในยุคของเรา"[14] จดหมายหลายฉบับของเขาถูกเขียนขึ้นอย่างเร่งรีบภายใต้สภาวะการณ์ในสนามรบ แต่จากการทบทวนในหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ ได้ยกให้เป็น "การพรรณนาที่น่าเชื่อถือของชายผู้มีความสามารถ และอ่อนไหวในยุคสมัยของเราซึ่งอาจมีความสามารถในหลาย ๆ สิ่งหลาย ๆ อย่าง แต่ก็เลือกที่จะอุทิศตนให้กับการฝึกฝนและความเชี่ยวชาญในศิลปะแห่งสงคราม ไม่ใช่เพราะเขาชอบฆ่าหรือต้องการ แต่เพราะเขารู้ว่าเช่นเคยในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ที่ความดีไม่สามารถจับคู่กับความชั่วร้ายได้หากไม่มีพลังในการปกป้องตัวเอง"[15]

อ้างอิง แก้

  1. Follow Me image gallery เก็บถาวร 2013-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "The Seven Lives of Colonel Patterson: how an Irish lion hunter led the Jewish Legion to victory" by Denis Brian (pub. 2008), pg. xiii
  3. 3.0 3.1 3.2 "Casualties: Jonathan Netanyahu (1946-1976)", The Baltimore Sun, Feb. 15, 1981
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Film
  5. Hastings (1979), p. 89.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 "Entebbe Hero Paid a Commitment With Death", UPI: The Palm Beach Post, (W. Palm Beach, Florida), March 13, 1977
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 Yonaton "Yoni" Netanyahu biography, Jewish Virtual Library
  8. Anshel Pfeffer,Bibi: The Turbulent Life and Times of Benjamin Netanyahu, C. Hurst & Co., 2018 p.86
  9. 9.0 9.1 9.2 Will, George. "Entebbe's 'Jonathan' story: Israel, U.S. share sacred day", The Orlando Sentinel (Orlando, Florida), July 2, 1981
  10. Anshel Pfeffer,Bibi: The Turbulent Life and Times of Benjamin Netanyahu, C. Hurst & Co., 2018 pp.116-123
  11. Adam Shatz, 'The sea is the same sea,' The London Review of Books Vol. 40 No. 16 · 30 August 2018 pages 24-28.
  12. Freedland, Jonathan (25 June 2016). "'We thought this would be the end of us': the raid on Entebbe, 40 years on". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 3 July 2016.
  13. "Yoni’s Last Days – The Raid at Entebbe – Page 3", Yoni.org
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Letters
  15. "Words of a Fallen Soldier" New York Times, January 25, 1981.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้