สมัชชาแห่งชาติไทย

คณะบุคคลที่เรียกประชุมเพื่อวัตถุประสงค์ทางนิติบัญญัติ
(เปลี่ยนทางจาก สมัชชาแห่งชาติ)

สมัชชาแห่งชาติของประเทศไทย (อังกฤษ: National People's Assembly of Thailand) เป็นองค์กรที่ประกอบด้วยบุคคลจากหลากหลายสาขาอาชีพ มาประชุมกันเพื่อคัดเลือกกันเองไปเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

พ.ศ. 2516

แก้

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ในปี พ.ศ. 2516 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมัชชาแห่งชาติ จำนวน 2,347 คน เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม[1] โดยพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ณ สนามม้านางเลิ้ง เขตดุสิต และใช้สถานที่เดียวกันนี้จัดการประชุมเพื่อเลือกสมาชิกกันเองจำนวน 299 คนในวันที่ 19 ธันวาคม เพื่อเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติเข้าไปทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่[2] สมัชชาแห่งชาติชุดนี้จึงถูกเรียกว่า "สภาสนามม้า"[3]

พ.ศ. 2549

แก้

หลังเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ จำนวน 1,982 คน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ณ หอประชุมกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ และใช้สถานที่เดียวกันนี้จัดการประชุมเพื่อเลือกสมาชิกกันเองจำนวน 200 คนในวันที่ 18 ธันวาคม เพื่อส่งให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) คัดเลือกเหลือ 100 คนเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

อ้างอิง

แก้
  1. สิริรัตน์ เรืองวงษ์วาร, ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, พ.ศ. 2539, หน้า 433
  2. "'สภาสนามม้า' และข้อถกเถียงของผู้กุมอำนาจหลังเหตุการณ์ '14 ตุลา 2516′". เวย์. 14 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2025.
  3. วิชญ์ชัย ธรรมประดิษฐ์, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๔๐) สภาผู้แทนราษฎร, สถาบันพระปกเกล้า, พ.ศ. 2544, หน้า 20-21

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้