วิสูตร อรรถยุกติ
วิสูตร อรรถยุกติ หรือ อำมาตย์โท หลวงวิสูตรวิรัชชเทศ (พ.ศ. 2446 - พ.ศ. 2517)[1] เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 2 สมัย ในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน และรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นอดีตเอกอัคราชทูตไทยประจำหลายประเทศ และเป็นเอกอัครราชทูตไทยคนแรกประจำกรุงสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
วิสูตร อรรถยุกติ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2501 (0 ปี 318 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พ.ศ. 2446 |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2517 |
คู่สมรส | คุณหญิงเผชิญ อรรถยุกติ |
ประวัติ แก้ไข
วิสูตร อรรถยุกติ เดิมชื่อ ถวิล อรรถยุกติ เป็นบุตรของพระยาเผด็จดุลยบดีศรีสรคม เขาสมรสกับคุณหญิงเผชิญ อรรถยุกติ (สกุลเดิม โชติกเสถียร) บุตรสาวคนโตของ นาวาเอก พระวิทยุทูระลิขิต (ทั่ง โชติกเสถียร)
วิสูตร อรรถยุกติ รับราชการในสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ เคยดำรงตำแหน่งเอกอัคราชทูตไทยประจำหลายประเทศ และเป็นเอกอัครราชทูตไทยคนแรกประจำกรุงสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน[2] และดำรงตำแหน่งสูงสุด คือ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ[3]
งานการเมือง แก้ไข
วิสูตร อรรถยุกติ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2500[4] ในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอีกครั้ง ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร
วิสูตร ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2501 ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนพฤษภาคมของปีเดียวกัน[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข
- พ.ศ. 2500 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2499 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2485 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[9]
- พ.ศ. 2487 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[10]
- พ.ศ. 2494 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ ระเบียบพิธีปฏิบัติทางการทูต และกฎหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2518
- ↑ http://thaiembassy.se/en/embassy/list-of-ambassadors/60/
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2490/D/021/796.PDF
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
- ↑ รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๐๗ ง หน้า ๒๙๙๓, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๑๔๐๑, ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๒๕๓๑, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๓๗, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗๕, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๔