พระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เทียนฮี้ สารสิน)
นายพันตรี อำมาตย์โท พระยาสารสินสวามิภักดิ์ มีนามเดิมว่า เทียนฮี้ (15 สิงหาคม พ.ศ. 2391 – 22 มิถุนายน พ.ศ. 2468) เป็นอดีตแพทย์ใหญ่ทหารบก เป็นต้นตระกูลสารสิน[2] และเป็นบิดาของพจน์ สารสิน อดีตนายกรัฐมนตรีไทย
พระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เทียนฮี้ สารสิน) | |
---|---|
เกิด | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2391 |
เสียชีวิต | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2468 (76 ปี) |
อาชีพ | แพทย์, ทหาร |
คู่สมรส | คุณหญิงสุ่น สารสินสวามิภักดิ์ แพ[1] |
บุตร | 7 คน |
บิดามารดา |
|
ประวัติ
แก้พระยาสารสินสวามิภักดิ์เกิดเมื่อวัน อังคาร เดือนเก้า แรม 2 ค่ำ ปีวอก สัมฤทธิศก จุลศักราช 1210 ตรงกับวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2391 ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชื่อเดิมว่า “เทียนฮี้“ บิดาเป็นชาวจีนชื่อปั้นจู๊ลั่ว มารดาเป็นชาวไทยชื่อหนู ต่อมาบิดามารดาได้นำไปฝากเรียนอักขระสมัยในสำนักพระอาจารย์ทอง วัดทองนพคุณ
หลังจากศึกษาอยู่เจ็ดปี บิดามารดาได้ส่งไปเรียนที่โรงเรียนของเหล่ามิชชันนารี อเมริกันที่ตำบลสำเหร่และได้เข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์นับแต่บัดนั้น ด้วยความที่เป็นคนเรียนเก่งทำให้เหล่ามิชชันนารีตัดสินใจส่งเทียนฮี้ไปยังสหรัฐ เพื่อศึกษาต่อทางด้านการแพทย์จนสำเร็จระดับปริญญาจาก มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เมื่อปี พ.ศ. 2414 และได้เดินทางกลับมายังสยาม
เทียนฮี้รับราชการครั้งแรกในตำแหน่งผู้ช่วยแพทย์ทหารบกประจำกรมทหารมหาดเล็กหรือกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ในปัจจุบันภายใต้การบังคับบัญชาของ จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ต่อมาเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีขณะมียศและบรรดาศักดิ์เป็น พันโท เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ได้เดินทางไปเป็นแม่ทัพในสงครามปราบฮ่อ พระยาสารสินขณะมียศเป็น ร้อยเอกเทียนฮี้ ได้ร่วมเดินทางไปในราชการสงครามครั้งนั้นด้วย
เมื่อกลับถึงพระนคร ร้อยเอกเทียนฮี้ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็น พันตรี หลวงดำรงแพทยาคุณ จากนั้นในปี พ.ศ. 2435 พันโท เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ที่ได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็น พลตรี พระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเสนาบดี กระทรวงเกษตรพานิชการหรือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปัจจุบัน ก็ได้ขอโอนย้ายหลวงดำรงแพทยาคุณมารับราชการเป็นล่ามประจำกระทรวง ภายหลังจึงได้ย้ายมารับราชการที่กระทรวงธรรมการหรือกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน ในสมัยที่เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค)เป็นเสนาบดีในตำแหน่งแพทย์และผู้จัดการโอสถศาลาในกรมพยาบาล และได้ย้ายมารับราชการที่กระทรวงมหาดไทยเป็นที่สุดท้ายในสมัยที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นองค์เสนาบดีในตำแหน่งเจ้ากรมตำรวจภูบาลเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2440 โดยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระมนตรีพจนกิจ เมื่อปี พ.ศ. 2443
ด้านชีวิตครอบครัวพระยาสารสินสวามิภักดิ์สมรสกับคุณหญิงสุ่น มีบุตร-ธิดา ทั้งสิ้น 7 คน คือ
- องุ่น ภรรยาหลวงอัยการโกศล
- หม่อมลิ้นจี่ หม่อมใน หม่อมเจ้าดนัยวรนุช จักรพันธ์
- แสง ภรรยาพระเทพประชา
- พจน์ สารสิน อดีตนายกรัฐมนตรี
- กิจ สารสิน
- อรุณ สารสิน ต่อมาคือ หม่อมอรุณ อาภากร ณ อยุธยา เนื่องจากเสกสมรสกับ พันเอก นายแพทย์ หม่อมเจ้าดำแคงฤทธิ์ อาภากร พระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
- คนึง สารสิน
พระยาสารสินขณะมีบรรดาศักดิ์เป็น พระมนตรีพจนกิจ และดำรงตำแหน่งเจ้ากรมมหาดไทยฝ่ายเหนือได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการอันเนื่องมาจากป่วยเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2444[3] จากนั้นในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาสารสินสวามิภักดิ์ ถือศักดินา 1000 และได้เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ที่ พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2461[4]
กระทั่งถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2468 ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะอายุได้ 76 ปี[5] โดยมีพิธีฝังศพตามแบบศาสนาคริสต์ที่สุสาน ถนนสีลม เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2468 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานรถวอรับศพ เครื่องขมาศพ เงิน 2000 สตางค์ และผ้าขาว 4 พับ[6]
ตำแหน่ง
แก้- 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 - นายแพทย์ใหญ่ในกรมยกกระบัตรทัพยกใหญ่[7]
- พ.ศ. 2435 - ล่ามประจำกระทรวงเกษตรพานิชการ [8]
- พ.ศ. 2438 - แพทย์และผู้จัดการโอสถศาลา ในกรมพยาบาล กระทรวงธรรมการ[9]
- 5 มีนาคม พ.ศ. 2440 - เจ้ากรมตำรวจภูบาล[10]
- 17 เมษายน พ.ศ. 2442 เจ้ากรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ[11]
- 11 เมษายน พ.ศ. 2444 ลาออกจากราชการ
ยศ
แก้บรรดาศักดิ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
- พ.ศ. 2442 – เหรียญปราบฮ่อ (ร.ป.ฮ.)[18]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[19]
อ้างอิง
แก้- ↑ เสมียนนารี (26 เมษายน 2567). "สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เจ้านายที่รัชกาลที่ 5 ทรงล้อว่า "รวย"". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่ 74 เล่ม 34 หน้า 3244, 3 กุมภาพันธ์ 2461
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวฝังศพ
- ↑ ประกาศกรมยุทธนาธิการ (หน้า 169)
- ↑ ตำแหน่งกระทรวงเกษตรพนิชการ ในรัตนโกสินทรศก 111
- ↑ ตำแหน่งข้าราชการ ในกระทรวงธรรมการ รัตนโกสินทรศก 114 (หน้า 323)
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ ประกาศกรมยุทธนาธิการ (หน้า 169)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย (หน้า 972)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญปราบฮ่อ
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า 457)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-03. สืบค้นเมื่อ 2020-07-03.
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
แก้- บุญพิสิฐ ศรีหงส์. (2564). ต้นธารสารสิน. ใน สารสิน: อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ นายพงส์ สารสิน. บรรณาธิการโดย วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย. หน้า 58-97. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.