เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)
จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) (28 มีนาคม 2394 – 1 กรกฎาคม 2474) อดีตเสนาบดีกระทรวงเกษตรพาณิชการ และผู้บัญชาการกรมทหารบก
เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) | |
---|---|
เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี | |
เสนาบดีกระทรวงเกษตรพาณิชการ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2437 – 2439 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ |
ถัดไป | เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ |
ผู้บัญชาการกรมทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2433 - 2435 | |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ |
ถัดไป | สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 มีนาคม พ.ศ. 2394 เมืองธนบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 (80 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
คู่สมรส | ไร บุนนาค เลี่ยม บุนนาค |
อาชีพ | ทหารบก, ข้าราชการ, ขุนนาง |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกสยาม |
ประจำการ | 2413 - 2435 |
ยศ | จอมพล |
บังคับบัญชา | กองทัพบกสยาม |
ประวัติ
แก้จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี มีชื่อเดิมว่า เจิม เป็นชาวฝั่งธนบุรี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2394 เป็นบุตรของพระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ชูโต) กับคุณหญิงเดิม บุนนาค และเป็นหลานปู่ของพระยาสุรเสนา (สวัสดิ์ ชูโต) เป็นเหลนของ เจ้าคุณชูโต พระเชษฐาของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เนื่องจากมารดาถึงแก่กรรม ท่านเจิมจึงได้บวชเณรที่วัดพิชยญาติการามวรวิหาร เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับมารดา จึงมีโอกาสเรียนหนังสือที่วัดพิชัยญาติ
กระทั่ง อายุ 15 ปี ได้เข้าเรียน ที่สำนักสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหกลาโหม หลังจากเรียนจนชำนาญ ได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเมื่อครั้งที่เสด็จเสวยราชสมบัติแรก ๆ ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมทหารมหาดเล็ก เพื่อฝึกสอนวิชาทหาร ท่านเจิมจึงได้รับบรรจุเป็นมหาดเล็กหมายเลข 1 นอกจากนี้ ยังโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นกองทหารองครักษ์ ซึ่งต่อมาเป็น กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในปัจจุบัน
ครั้น เมื่อปี พ.ศ. 2414 เจิม แสงชูโต ได้รับยศนายร้อยตรี ตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยที่ 6 มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงศัลยุทธสรกรร" และตามเสด็จประพาสอินเดีย จึงได้เปลี่ยนบรรดาศักดิ์ใหม่เป็น "หลวงศัลยุทธวิธีการ" โดยต่อมา ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น "จมื่นสราภัยสฤษดิ์การ" เนื่องจากเป็นอุปทูตไปยังเมืองปัตตาเวีย
ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2421 รัฐบาลไทยกับกงสุลอังกฤษเกิดข้อบาดหมางกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เป็นราชทูตออกไปยังประเทศอังกฤษ และจมื่นสราภัยสฤษดิ์การเป็นอุปทูตร่วมคณะ จนกระทั่งเรื่องราวสงบเรียบร้อย จึงได้รับความดีความชอบ เลื่อนเป็น "จมื่นไวยวรนาถ" หัวหมื่นมหาดเล็กเวรฤทธิ์ ถือศักดินา 1000 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้นเจ็ดค่ำ ปีเถาะเอกศก จุลศักราช 1241[1]
ปี พ.ศ. 2426 เกิดเหตุโจรผู้ร้ายชุกชุมที่เมืองสุพรรณบุรี จมื่นไวยวรนาถได้รับมอบหมายให้ไปปราบ ซึ่งสามารถปราบได้สำเร็จ รวมทั้งปราบโจรผู้ร้ายจากทางหัวเมืองตะวันออกด้วย ในปี พ.ศ. 2428 ยังได้รับหน้าที่ให้เป็นแม่ทัพปราบฮ่อที่หัวเมืองลาว และในปี พ.ศ. 2436
ได้รับหน้าที่ไปปราบฮ่ออีกครั้งหนึ่ง โดยคิดค้นและผลิตลูกระเบิดขึ้นใช้ในการรบ จนกระทั่งปราบฮ่อได้สำเร็จราบคาบ
จมื่นไวยวรนารถได้ริเริ่มวางแผนการ ก่อตั้งโรงไฟฟ้าขึ้นใช้ในกองทัพบก และเชิญชวนให้มีการเข้าหุ้นตั้งโรงไฟฟ้า ซึ่งท่านนำไฟฟ้ามาใช้ ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยในปี พ.ศ. 2433 มีการจัดตั้งโรงไฟฟ้า ที่วัดเลียบ จนกระทั่งกิจการไฟฟ้าก้าวหน้ามากขึ้น เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ประชาชนทั่วไป ได้รับความสะดวกสบาย และมีไฟฟ้าใช้กันเรื่อยมา นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งโรงทหารหน้า (ปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของกระทรวงกลาโหม) โดยแต่เดิม เป็นที่ตั้งของฉางหลวงเก่าด้วย
ภายหลัง จากการปราบกบฏฮ่อ ได้สำเร็จถึง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2435 จึงได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตร และต่อมาในปี พ.ศ. 2439 จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี นฤบดีมหาสวามิภักดิ์ สัตยรักษ์เมตยาชวาศรัย ยุทธสมัยสมันตโกศล อณิกมณฑลอุขสุปรีย์ เสนานีอุดมเดช พิเศษสาธุคุณสุนทรพจน์ อดุลยยศเสนาบดี ศรีรัตนไตรยวุฒิธาดา อภัยพิริยปรากรมพาหุ[2] ดำรงศักดินา 10,000 ต่อมาได้รับหน้าที่เป็นแม่ทัพ ไปปราบกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ ซึ่งก่อการจลาจลที่หัวเมืองเหนือ เมื่อปี พ.ศ. 2445[3]
เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี รับใช้ราชการ มาจนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 6 โดยได้รับตำแหน่งรัฐมนตรี และได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "แสงชูโต" ซึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระราชทานยศให้เป็น "จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี" ในฐานะที่มีคุณงามความดีต่อประเทศชาติ
เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเมื่อครั้งเป็นเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการมณฑลปราจีนบุรี ท่านได้ยกตำแหน่ง ต.ศรีราชา ใน อ.บางพระ จ.ชลบุรี ขึ้นเป็น อ.ศรีราชา และลด อ.บางพระ เป็น ต.บางพระ สังกัด อ.ศรีราชา ท่านจึงถือเป็นผู้ก่อตั้งอำเภอศรีราชา
จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ป่วยด้วยโรคตับอ่อนพิการ ถึงอสัญกรรมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 เย็นวันรุ่งขึ้น สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสด็จพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ประกอบโกศไม้สิบสองตั้งบนชั้น 2 ฉัตรเบญจา 10 คัน พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมมีกำหนด 15 วัน[4] ต่อมาวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2475 เวลา 17.30 น. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันต่อมา เวลา 7.00 น. เจ้าภาพจึงเก็บอัฐิ[5]
ต่อมาค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง ได้สร้างอนุสาวรีย์ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ ในการเป็นแม่ทัพสำคัญที่ได้ยกพลไปปราบกบฏเงี้ยว และได้มาพัก ณ บริเวณค่ายสุรศักดิ์มนตรีแห่งนี้ โดยได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2504[6]เทศบาลเมืองศรีราชาและประชาชนชาวศรีราชานำโดย นายอำเภอในสมัยนั้นได้ร่วมกันหล่ออนุสาวรีย์เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีขึ้นเพื่อประดิษฐานบริเวณหน้าที่ว่าการเทศบาลและที่มุขทิศตะวันตกพระอุโบสถวัดศรีมหาราชา
อนุสาวรีย์
แก้- อนุสาวรีย์จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี
- อนุสาวรีย์จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง
- อนุสาวรีย์จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ที่ว่าการเทศบาลเมืองศรีราชา จ.ชลบุรี
- อนุสาวรีย์จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี หลังพระอุโบสถวัดศรีมหาราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
- อนุสาวรีย์จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี หน้าหอประชุมจอมพลมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
ประวัติรับราชการ
แก้- มหาดเล็กหลวง ในรัชกาลที่ 4 ในตำแหน่งมหาดเล็กวิเศษ สังกัดเวรฤทธิ์
- ทหารมหาดเล็ก ในรัชกาลที่ 5 ยศนายร้อยตรี
- พ.ศ. 2416 นายร้อยโท และต่อมาเลื่อนขึ้นเป็นนายร้อยเอก
- พ.ศ. 2423 ผู้บังคับการกรมทหารหน้า และเป็นนายพันเอก
- พ.ศ. 2430 เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์ ในกรมยุทธนาธิการ[7]
- พ.ศ. 2430 - พระยาสุรศักดิ์มนตรี
- พ.ศ. 2430 นายพลตรี[8]
- 15 เมษายน พ.ศ. 2433 ผู้บัญชาการกรมทหารบก[9]
- พ.ศ. 2435 เสนาบดีกระทรวงเกษตรพาณิชการ
- พ.ศ. 2439 เป็นเจ้าพระยา
- พ.ศ. 2441 นายพลโท [10]
- 30 มิถุนายน พ.ศ. 2453 - มรรคนายก วัดท้าวเทพากร[11]
- 20 สิงหาคม พ.ศ. 2454 - มหาอำมาตย์เอก (นอกราชการสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ)[12]
- 28 ธันวาคม พ.ศ. 2461 นายหมวดเอก[13]
- 31 มีนาคม พ.ศ. 2468 (2469 นับแบบปัจจุบัน) จอมพล [14]
เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้ให้เงินแก่โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ปีละ 100 บาท สำหรับเป็นทุนเล่าเรียนแก่นักเรียนที่สอบไล่ได้ที่ 1 ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5,6,7 ตั้งแต่พ.ศ. 2464 ตลอดจนชีวิตของท่าน เรียกชื่อทุนเล่าเรียนนี้ว่า"สุรศักดิ์สกอลาร์ชิป"[15]
ครอบครัว
แก้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี มีภริยาชื่อ ไร บุนนาค บุตรีเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ภายหลังที่คุณไร บุนนาค ถึงแก่กรรม ได้สมรสกับ ท่านเลี่ยม พรตพิทยพยัต (น้องสาวคุณไร)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้จอมพล มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้ [16]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2438 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[17]
- พ.ศ. 2444 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[18]
- พ.ศ. 2432 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[19]
- พ.ศ. 2441 – เหรียญปราบฮ่อ (ร.ป.ฮ.)[20]
- พ.ศ. 2449 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการในพระองค์ (ร.ด.ม.(พ))[21]
- พ.ศ. 2449 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[21]
- พ.ศ. 2449 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ (ร.ด.ม.(ก))[21]
- พ.ศ. 2438 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[22]
- พ.ศ. 2442 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[23]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[24]
- พ.ศ. 2449 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 5 (ม.ป.ร.5)[25]
- พ.ศ. 2446 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 1 (จ.ป.ร.1)[26]
- พ.ศ. 2465 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[27]
- พ.ศ. 2470 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 2 (ป.ป.ร.2)[28]
- พ.ศ. 2425 – เหรียญสตพรรษมาลา (ส.ม.)
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2441 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2432 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นกอม็องเดอร์[29]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรในปีเถาะเอกศก (หน้า 70)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ในการพระราชทานสุพรรณบัตรและหิรัญบัตร, เล่ม 13, ตอน 34, 22 พฤศจิกายน 2439, หน้า 614
- ↑ ดูต่อที่ ปรีดี หงษ์สต้น. (2559, ส.ค.-2560, ก.ค.). สมบูรณาญาสิทธิราชย์ปราบเงี้ยว พ.ศ. 2445: กึ่งอาณานิคม การใช้กำลังทางทหาร และความเป็นชาย. วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 41. น. 152-162.
- ↑ "ข่าวถึงอสัญกรรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (ง): 1083–5. 5 กรกฎาคม 2574.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "หมายกำหนดการ ที่ 10/2475 พระราชทานเพลิงศพ พระภิกษุทรงสมณศักดิ์ และ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส พุทธศักราช 2476" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49 (0 ง): 4286–7. 12 มีนาคม 2575.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ คุณงามความดี ของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี โดยทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2504เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประวัติจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี อ้าง 2010-12-21
- ↑ ข่าวตั้งตำแหน่งกรมทหาร
- ↑ เปลี่ยนตำแหน่งและเพิ่มบรรดาศักดิ์ทหารที่ไปราชการทัพ
- ↑ ตั้งตำแหน่ง ตามพระราชบัญญัติกรมยุทธนาธิการ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรมรรคนายก
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงเกษตราธิการ (หน้า 1026)
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า (หน้า 2737)
- ↑ "พระราชทานยศทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-15. สืบค้นเมื่อ 2019-11-12.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ แผนกกรมสามัญศึกษา เรื่อง ให้เงินเป็นทุนเล่าเรียนแก่นักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร, เล่ม 37, ตอน 0, 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463, หน้า3773
- ↑ ผู้บัญชาการทหารบก ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เก็บถาวร 2016-08-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ถวายบังคมพระบรมรูปและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๒ ตอนที่ ๓๓ หน้า ๓๐๕, ๑๗ พฤศจิกายน ๑๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘๗๓, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖ ตอนที่ ๕๒ หน้า ๔๕๑, ๓๐ มีนาคม ๑๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญปราบฮ่อ, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๒, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
- ↑ 21.0 21.1 21.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๒๔ หน้า ๖๑๓, ๙ กันยายน ๑๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการโรงเรียนทหาร พระราชทานเหรียญจักรมาลาแก่นายทหารที่ได้รับราชการครบ ๑๕ ปี แลพระราชทานรางวัลแก่นักเรียนนายร้อยที่สอบไล่ได้, เล่ม ๑๒ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๓๑๘, ๑ ธันวาคม ๑๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๖ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๓๖๒, ๒๔ กันยายน ๑๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๐, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๒๔ หน้า ๖๑๓, ๙ กันยายน ๑๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๔๑ หน้า ๗๒๐, ๑๐ มกราคม ๑๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเหรียญรัตนาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๘, ๖ พฤษภาคม ๒๔๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๑, ๒๔ เมษายน ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๖ ตอนที่ ๕๒ หน้า ๔๕๑, ๓๐ มีนาคม ๑๐๘
งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
แก้ก่อนหน้า | เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ |
ผู้บัญชาการกรมทหารบก (15 เมษายน พ.ศ. 2433 - 27 มีนาคม พ.ศ. 2435) |
จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช | ||
เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) |
เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ คนที่ 2 (พ.ศ. 2435 – พ.ศ. 2439) |
พระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) |