ลินดอน บี. จอห์นสัน

อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

ลินดอน เบนส์ จอห์นสัน (อังกฤษ: Lyndon Baines Johnson; /ˈlɪndən ˈbnz/; 27 สิงหาคม ค.ศ. 1908 – 22 มกราคม ค.ศ. 1973) มักจะเรียกด้วยชื่อย่อของเขาว่า แอลบีเจ เป็นนักการเมืองชาวอเมริกันที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 36 ของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 ถึง ค.ศ. 1969 และเคยดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีคนที่ 37 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 ถึง ค.ศ. 1963 เขาได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในภายหลังจากการลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี พรรคเดโมแครตจากรัฐเท็กซัส จอห์นสันยังดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐและผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภาสหรัฐ จอห์นสันเป็นหนึ่งในสี่คนเท่านั้นที่ได้ดำรงตำแหน่งในทั้งสี่ตำแหน่งที่ได้รับการเลือกตั้งจากรัฐบาลกลาง[a]

ลินดอน บี. จอห์นสัน
จอห์นสันในปี ค.ศ. 1964
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 36
ดำรงตำแหน่ง
22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 – 20 มกราคม ค.ศ. 1969
(5 ปี 59 วัน)
รองประธานาธิบดีว่าง (1963–1965)
ฮิวเบิร์ต ฮัมเฟรย์ (1965–1969)
ก่อนหน้าจอห์น เอฟ. เคนเนดี
ถัดไปริชาร์ด นิกสัน
รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 37
ดำรงตำแหน่ง
20 มกราคม ค.ศ. 1961 – 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963
(2 ปี 306 วัน)
ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี
ก่อนหน้าริชาร์ด นิกสัน
ถัดไปฮิวเบิร์ต ฮัมเฟรย์
สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ
จาก รัฐเท็กซัส
ดำรงตำแหน่ง
3 มกราคม ค.ศ. 1949 – 3 มกราคม ค.ศ. 1961
(12 ปี 0 วัน)
ก่อนหน้าดับเบิลยู. ลี โอดอนเนล
ถัดไปวิลเลียม เอ. เบลคลีย์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา
จาก รัฐเท็กซัส เขต 10
ดำรงตำแหน่ง
10 เมษายน ค.ศ. 1937 – 3 มกราคม ค.ศ. 1949
(11 ปี 268 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 สิงหาคม ค.ศ. 1908(1908-08-27)
สโตนวอลล์ รัฐเท็กซัส
เสียชีวิต22 มกราคม ค.ศ. 1973(1973-01-22) (64 ปี)
สโตนวอลล์ รัฐเท็กซัส
พรรคการเมืองพรรคเดโมแครต
คู่สมรสเลดีเบิร์ด จอห์นสัน พ.ศ. 2477 – พ.ศ. 2516
ลายมือชื่อ

เขาเกิดในบ้านไร่ในสโตนวอลล์ รัฐเท็กซัส จอห์นสันเป็นครูสอนโรงเรียนมัธยมและทำงานเป็นผู้ช่วยรัฐสภาก่อนที่จะชนะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐในปี ค.ศ. 1937 จอห์นสันได้รับชัยชนะการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐจากรัฐเท็กสันในปี ค.ศ. 1948 ภายหลังจากได้รับชัยชนะในการเสนอชื่อของพรรคเคโมแครตด้วยคะแนนเสียงที่จำกัดอย่างไม่น่าเชื่อ[1] เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นวุฒิสภาผู้คุมเสียงข้างมาก ในปี ค.ศ. 1951 เขาได้กลายเป็นวุฒิสภาผู้นำเสียงข้างน้อยในปี ค.ศ. 1953 และวุฒิสภาผู้นำเสียงข้างมากในปี ค.ศ. 1955

เขากลายเป็นที่รู้จักกันจากบุคลิกภาพที่โดดเด่นและ"การปฏิบัติแบบจอห์นสัน" การถูกบีบบังคับอย่างก้าวร้าวของนักการเมืองที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย พร้อมกับประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ แซม เรย์เบิร์น วุฒิสภาผู้คุมเสียงข้างมาก Earle Clements และสภาผู้แทนราษฎรผู้คุมเสียงข้างมาก Carl Albert จอหน์สันไม่ได้ลงนามในคำแถลงการณ์ภาคใต้ซึ่งถูกร่างโดย Dixie South จากพรรคเดโมแครตในการประชุมรัฐสภาสหรัฐครั้งที่ 84 แม้ว่าตัวแทนของรัฐทั้งหมดที่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติของโรงเรียนของรัฐเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมายก่อนจะเกิดคดีระหว่างบราวน์กับคณะกรรมการการศึกษา ปี ค.ศ. 1954 ที่ถูกตัดสินโดยศาลสูงสุดสหรัฐ ในฐานะที่เป็นผู้นำเสียงข้างมาก จอห์นสันได้ควบคุมผ่านกระบวนกฎหมายสิทธิพลเมือง ปี ค.ศ. 1957 และ ค.ศ. 1960 การร่างกฎหมายสิทธิพลเมืองฉบับแรกที่ส่งผานโดยรัฐสภาสหรัฐ ตั้งแต่ยุคบูรณะ (ค.ศ. 1863–1877).

จอห์นสันได้ถูกนำเสนอชื่อจากพรรคเดโมแครตในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ปี ค.ศ. 1960 แม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ เขาก็ตอบรับคำเชิญของวุฒิสภา จอห์น เอฟ. เคนเนดีจากรัฐแมสซาชูเซตส์ให้มาเป็นเพื่อนร่วมงานของเขา พวกเขาต้องการที่จะเอาชนะการเลือกตั้งอย่างใกล้ชิดกับรายชื่อสมาชิกผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรครีพับลิกันอย่างริชาร์ด นิกสัน และ Henry Cabot Lodge Jr. เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 เคเนดีถูกลอบสังหารและจอห์นสันได้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากเขา ปีต่อมา จอห์สันได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลาย เอาชนะวุฒิสมาชิก Barry Goldwater จากรัฐแอริโซนา ด้วยคะแนนโหวตนิยม 61.1 เปอร์เซ็นต์ จอห์สันได้รับส่วนแบ่งขนาดใหญ่ของคะแนนโหวตนิยมสูงสุดของผู้สมัครรับเลือกตั้งรายใดก็ตาม นับตั้งแต่ไม่มีใครเลยที่จะออกมาโต้แย้งในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1820

ในนโยบายภายในประเทศ จอห์นสันได้ออกแบบร่างกฎหมาย"มหาสังคม" เพื่อขยายสิทธิพลเมือง การเผยแพร่กระจายข่าวต่อสาธารณะ โครงการประกันสุขภาพของรัฐบาลกลางแก่ผู้สูงอายุและผู้ทุพพลภาพ (เมดิแคร์) แก่ผู้พิการและผู้มีรายได้น้อย (เมดิเคด) ความช่วยเหลือด้านการศึกษา ศิลปะ และการพัฒนาในเมืองและชนบท บริการแก่สาธารณะ และ"สงครามบนความยากจน"ของเขา ได้รับความช่วยเหลือเพียงบางส่วนจากเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต สงครามบนความยากจนได้ช่วยชีวิตแก่ชาวอเมริกันหลายล้านคนได้ก้าวผ่านเส้นความยากจนในช่วงการบริหารปกครองของเขา[2] การร่างกฎหมายสิทธิพลเมืองที่เขาลงนามในกฎหมายห้ามเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในสถานที่สาธารณะ การค้าระหว่างรัฐ สถานที่ทำงานและที่อยู่อาศัย กฎหมายสิทธิในการลงคะแนนเสียงได้ห้ามข้อกำหนดบางประการในรัฐทางใต้ที่ใช้ในการตัดสิทธิการออกเสียงของชาวแอฟริกันอเมริกัน ด้วยการผ่านกฎหมายคนเข้าเมืองและสัญชาติ ในปี ค.ศ. 1965 ระบบการเข้าเมืองของประเทศได้รับการปฏิรูป ส่งเสริมการอพยพเข้าเมืองจากภูมิภาคอื่นๆ ที่ไม่ได้มาจากยุโรป การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของจอห์นสันเป็นจุดสูงสุดของลัทธิเสรีนิยมสมัยใหม่หลังยุคสัญญาใหม่

ในนโยบายต่างประเทศ จอห์นสันได้เพิ่มการมีส่วนร่วมมากขึ้นของอเมริกันในสงครามเวียดนาม ในปี ค.ศ. 1964 สภาคองเกรสได้ผ่านลงมติอ่าวตังเกี๋ย ซึ่งทำให้จอห์นสันมีอำนาจในการใช้อำนาจในการใช้กำลังทหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยปราศจากการขออนุมัติในการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ บุคลากรทางทหารชาวอเมริกันจำนวนมากในเวียดนามได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากจำนวนที่ปรึกษาทางทหาร 16,000 นายที่ไม่มีบทบาทในการรบในปี ค.ศ. 1963 ถึง 525,000 นายในปี ค.ศ. 1967 มีจำนวนมากในบทบาทการรบ การบาดเจ็บล้มตายของชาวอเมริกันได้เพิ่มสูงขึ้นและกระบวนการสันติภาพได้หยุดนิ่ง ความกังวลที่เพิ่มขึ้นจากสงครามได้กระตุ้นให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านสงครามขนาดใหญ่ที่โกรธเกรี้ยวโดยส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะในการเกณฑ์ทหารภายในเขตมหาวิทยาลัย

จอห์นสันต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อการก่อจลาจลในช่วงฤดูร้อนซึ่งเริ่มต้นขึ้นในเมืองใหญ่ ในปี ค.ศ. 1965 และอัตราการก่ออาชญากรรมก็เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามได้เรียกร้องนโยบาย"กฎหมายและระเบียบ" ในขณะที่จอห์นสันได้เริ่มดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีด้วยความเห็นชอบอย่างกว้างขวาง การสนับสนุนแก่เขาได้ลดลง เนื่องจากสาธารณชนเริ่มไม่พอใจทั้งสงครามและความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นในบ้าน ในปี ค.ศ. 1968 พรรคเดโมแครตได้แยกตัวเป็นฝ่ายต่อต้านสงคราม ซึ่งได้ประณามต่อจอห์นสัน เขาได้ยุติการเสนอชื่อเข้ารับการเลือกตั้งของเขา ภายหลังจากจบการแข่งขันอย่างน่าผิดหวังในนิวแฮมป์เชียร์เบื้องต้น นิกสันได้รับเลือกตั้งสืบทอดตำแหน่งต่อจากเขา ในขณะที่แนวร่วมสัญญาใหม่ที่ครองอำนาจการเมืองของประธานาธิบดีมา 36 ปี ต้องล่มสลายลง ภายหลังจากเขาออกจากตำแหน่งในเดือนมกราคม ค.ศ. 1969 จอห์นสันได้เดินทางกลับไปที่ไร่ฟามปศุสัตว์ในรัฐเท็กซัส และเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย เมื่ออายุ 64 ปี เมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1973

เขาได้รับการจัดอันดับให้เป็นที่ชื่นชอบของนักประวัติศาสตร์หลายคน เนื่องจากนโยบายภายในประเทศของเขาและการผ่านกฎหมายสำคัญหลายฉบับที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิพลเมือง การควบคุมอาวุธปืน การอนุรักษ์ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และความมั่งคงทางสังคม แม้ว่าเขาจะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเกี่ยวกับการขยายตัวของสงครามเวียดนาม[3][4]

อ้างอิง แก้

  1. "Lyndon Baines Johnson, 37th Vice President (1961-1963)". US Senate. สืบค้นเมื่อ October 5, 2019.
  2. Califano Jr., Joseph A. (October 1999). "What Was Really Great About The Great Society: The truth behind the conservative myths". Washington Monthly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 26, 2014. สืบค้นเมื่อ May 21, 2013.
  3. Dallek, Robert. "Presidency: How Do Historians Evaluate the Administration of Lyndon Johnson?". History News Network. สืบค้นเมื่อ June 17, 2010.
  4. "Survey of Presidential Leadership – Lyndon Johnson". C-SPAN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 9, 2011. สืบค้นเมื่อ June 17, 2010.
ก่อนหน้า ลินดอน บี. จอห์นสัน ถัดไป
จอห์น เอฟ. เคนเนดี    
ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 36
(22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 - 20 มกราคมพ.ศ. 2512)
  ริชาร์ด นิกสัน
ริชาร์ด นิกสัน    
รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 37
(20 มกราคม พ.ศ. 2504 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506)
  ฮิวเบิร์ต ฮัมเฟรย์


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน