คดีระหว่างบราวน์กับคณะกรรมการการศึกษา

คดีระหว่างบราวน์ กับคณะกรรมการการศึกษาโทเพกา (อังกฤษ: Brown v. Board of Education of Topeka) รหัส 347 U.S. 483 (1954)[1] เป็นคำวินิจฉัยหลักสำคัญของศาลสูงสุดสหรัฐ ที่ซึ่งศาลวินิจฉัยว่ากฎหมายรัฐของสหรัฐซึ่งกำหนดให้มีการแบ่งแยกเชื้อชาติในโรงเรียนรัฐบาลขัดต่อรัฐธรรมนูญ แม้โรงเรียนที่แบ่งแยกแล้วนั้นจะมีคุณภาพที่เท่ากันก็ตาม ศาลฯ มีคำวินิจฉัยในวันที่ 17 พฤษภาคม 1954 ด้วยมติเอกฉันท์ (9 ต่อ 0) ระบุว่า "สิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาที่แยกกันนั้นไม่เท่าเทียมในตัวเอง" ฉะนั้นจึงเป็นการฝ่าฝืนวรรคการให้ความคุ้มครองเท่าเทียมกันของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐครั้งที่ 14 อย่างไรก็ตาม ในคำวินิจฉัยยาว 14 หน้านี้ไม่ได้ระบุวิธีการยุติการแบ่งแยกเชื้อชาติในโรงเรียน และคำวินิจฉัยของศาลฯ ที่สองในคดีบราวน์ 2 (349 U.S. 294 (1955)) เพียงแต่สั่งให้รัฐต่าง ๆ ยุติการแบ่งแยก "โดยใช้ความเร็วรอบคอบทั้งปวง"

บราวน์ กับ คณะกรรมการการศึกษา
Seal of the United States Supreme Court
ถกเถียง 9 ธันวาคม, 1952
ถกเถียงซ้ำ 8 ธันวาคม, 1953
ตัดสิน 17 พฤษภาคม, 1954
ชื่อเต็มคดีOliver Brown, et al. v. Board of Education of Topeka, et al.
อ้างอิง347 U.S. 483 (เพิ่มเติม)
74 S. Ct. 686; 98 L. Ed. 873; 1954 U.S. LEXIS 2094; 53 Ohio Op. 326; 38 A.L.R.2d 1180
คำตัดสินOpinion
ประวัติคดี
ก่อนหน้าJudgment for defendants, 98 F. Supp. 797 (D. Kan. 1951); probable jurisdiction noted, 344 U.S. 1 (1952).
ถัดไปJudgment on relief, 349 U.S. 294 (1955) (Brown II); on remand, 139 F. Supp. 468 (D. Kan. 1955); motion to intervene granted, 84 F.R.D. 383 (D. Kan. 1979); judgment for defendants, 671 F. Supp. 1290 (D. Kan. 1987); reversed, 892 F.2d 851 (10th Cir. 1989); vacated, 503 U.S. 978 (1992) (Brown III); judgment reinstated, 978 F.2d 585 (10th Cir. 1992); judgment for defendants, 56 F. Supp. 2d 1212 (D. Kan. 1999)
Holding
การแยกโรงเรียนรัฐบาลด้วยสีผิวขัดต่อมาตราว่าด้วยการปกป้องอย่างเท่าเทียมของแปรญัติที่สิบสี่ คำตัดสินของศาลเขตแคนซัสถูกย้อน
คณะผู้พิพากษา
ประธานศาลสูงสุด
ข้อผิดพลาดนิพจน์: มีตัวดำเนินการ < ซึ่งไม่ควรมีEarl Warren
ตุลาการสมทบ
Hugo Black · Stanley F. Reed
Felix Frankfurter · William O. Douglas
Robert H. Jackson · Harold H. Burton
Tom C. Clark · Sherman Minton
Case opinion
ส่วนใหญ่วอร์เรน, joined by เอกฉันท์
กฎหมายที่ใช้
U.S. Const. amend. XIV
ลบล้างคำตัดสินเก่า ๆ
(partial) Plessy v. Ferguson (1896)
Cumming v. Richmond County Board of Education (1899)
Berea College v. Kentucky (1908)

คดีนี้เริ่มในปี 1951 เมื่อเขตพื้นที่การศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลในโทเพกา รัฐแคนซัส ปฏิเสธรับธิดาของประชากรท้องถิ่นผิวดำ ออลิเวอร์ บราวน์ เข้าศึกษาในโรงเรียนที่ใกล้บ้านของเขาที่สุด กลับบังคับให้เธอต้องเดินทางด้วยรถประจำทางไปยังโรงเรียนประถมศึกษาที่แยกไว้สำหรับคนผิวดำ (segregated black school) ซึ่งตั้งอยู่ไกลออกไป ในขณะที่เขตพื้นที่การศึกษาของรัฐอื่น ๆ ที่ปรากฏในคดีร่วม (combined case) ศาลล่างในโทเพกาวินิจฉัยว่าโรงเรียนที่แบ่แยกนั้น "มีความเท่าเทียมโดยสภาพเมื่อคำนึงถึงสิ่งปลูกสร้าง การขนส่ง หลักสูตรและคุณวุฒิการศึกษาของครู" แม้กำหนดให้มีการเยียวยาอยู่บ้าง ฉะนั้นเมื่อมีส่วนเกี่ยวข้องของคดีแคนซัส ข้อวินิจฉัยของศาลสงสุดจึงขึ้นอยู่กับปัญหาการแบ่งแยกโดยเฉพาะ[2]

ครอบครัวบราวน์และครอบครัวคนผิวดำท้องถิ่นอื่นอีก 12 ครอบครัวที่ตกอยู่ในสถานการณ์คล้ายกันยื่นฟ้องคดีในนามกลุ่มบุคคลต่อศาลกลางของสหรัฐต่อคณะกรรมการการศึกษาโทเพกา โดยอ้างว่านโยบายการแบ่งแยกของคณะกรรมการฯ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ องค์คณะผู้พิพากษาสามคนของศาลแขวงเขตแคนซัสมีคำตัดสินของคณะลูกขุนให้ครอบครัวบราวน์แพ้คดี โดยอ้างบรรทัดฐานคำวินิจฉัยของศาลสูงสุดในปี 1896 ใน คดีระหว่างเพลสซีกับเฟอร์กูสซัน ซึ่งศาลฯ วินิจฉัยว่าการแบ่งแยกเชื้อชาติไม่ได้ละเมิดวรรคการให้ความคุ้มคอรงเท่าเที่ยมกันในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐครั้งที่ 14 หากสถานที่หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่กำลังกล่าวถึงนั้นเท่าเทียมกัน หลักที่ต่อมารู้จักในชื่อ "แบ่งแยกแต่เท่ากัน" ครอบครัวบราวน์ โดยประธานที่ปรึกษาของ NAACP เทอร์กูด มาร์แชล ว่าความให้ อุทธรณ์ต่อไปยังศาลสูงสุด ซึ่งรับไต่สวนคดี

คำวินิจฉัยของศาลฯ ในคดีบราวน์กลับคำวำนิจฉัยใน คดีระหว่างเพลสซีกับเฟอร์กูสซัน บางส่วน โดยการประกาศว่าหลัก "แบ่งแยกแต่เท่าเทียม" ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญสำหรับโรงเรียนรัฐบาลและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการศึกษาของสหรัฐ[หมายเหตุ 1] คำตัดสินนี้เป็นการปูทางไปสู่การหลอมรวมทางเชื้อชาติ (Racial integration) และเป็นชัยสำคัญของขบวนการสิทธิพลเมือง[4] และเป็นต้นแบบสำหรับคดีตัวอย่างเพื่อทำการทดสอบผลทางกฎหมาย (impact ligigation) ในอนาคตอีกมาก[5]

ในภาคใต้ของสหรัฐ โดยเฉพาะในแถบ "ดีพเซาธ์" ซึ่งการแบ่งแยกเชื้อชาติฝังรากลึกนั้น ปฏิกิริยาของคำวินิจฉัยในหมู่สาธารณชนคนขาวส่วนใหญ่คือ "เสียงดังรบกวนและดื้อดึง" (noisy and stubborn)[6] ผู้นำทางรัฐบาลและการเมืองหลายคนในภาคใต้รับแผนชื่อ "การขัดขืนครั้งใหญ่" สร้างขึ้นโดยสมาชิกวุฒิสภา แฮรี เอฟ. เบิร์ด เพื่อขัดขวางความพยายามบีบบังคับพวกตนให้ยุติการแบ่งแยกระบบโรงเรียน สี่ปีต่อมา ในคดีระหว่าง คูเพอร์ กับแอรอน ศาลฯ ยืนยันคำวินิจฉัยในคดีบราวน์ และระบุชัดเจนว่าข้าราชการและสมาชิกสภานิติบัญญัติของรัฐไม่มีอำนาจทำให้คำวินิจฉัยนี้เป็นโมฆะ

อ้างอิง แก้

  1. Brown v. Board of Education, 347 U.S. 483 (1954)
  2. Brown v. Board of Education, 98 F. Supp. 797, 798 (D. Kan. 1951), rev’d, 347 U.S. 483 (1954)
  3. Schauer (1997), p. 280.
  4. Brown v Board of Education Decision ~ Civil Rights Movement Archive
  5. Schuck, P.H. (2006). Meditations of a Militant Moderate: Cool Views on Hot Topics. G – Reference, Information and Interdisciplinary Subjects Series. Rowman & Littlefield. p. 104. ISBN 978-0-7425-3961-7.
  6. McCloskey & Levinson (2010), p. 144.

หมายเหตุ แก้

บรรณานุกรม แก้

  • Chemerinsky, Erwin (2019). Constitutional Law: Principles and Policies (6th ed.). New York: Wolters Kluwer. ISBN 978-1-4548-9574-9.
  • McCloskey, Robert G.; Levinson, Sanford (2010). The American Supreme Court (5th ed.). Chicago: University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-55686-4.
  • Nowak, John E.; Rotunda, Ronald D. (2012). Treatise on Constitutional Law: Substance and Procedure (5th ed.). Eagan, MN: West Thomson/Reuters. OCLC 798148265.
  • Schauer, Frederick (1997). "Generality and Equality". Law and Philosophy. 16 (3): 279–297. JSTOR 3504874.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "หมายเหตุ" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="หมายเหตุ"/> ที่สอดคล้องกัน