สุกิจ นิมมานเหมินท์

นักการเมืองชาวไทย
(เปลี่ยนทางจาก สุกิจ นิมมานเหมินทร์)

ศาสตราจารย์ สุกิจ นิมมานเหมินท์ (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 — 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519[1][2]) อดีตราชบัณฑิต อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีหลายกระทรวง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่[3] 3 สมัย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง 1 สมัย

สุกิจ นิมมานเหมินท์
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้า
ถัดไป
ดำรงตำแหน่ง
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
นายกรัฐมนตรีสัญญา ธรรมศักดิ์
ก่อนหน้าประภาส จารุเสถียร
ถัดไปประกอบ หุตะสิงห์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 12 มิถุนายน พ.ศ. 2495
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าหม่อมสนิทวงศ์เสนี
ถัดไปมุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
ดำรงตำแหน่ง
21 กันยายน พ.ศ. 2500 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีพจน์ สารสิน
ถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ
ถัดไปสุนทร หงส์ลดารมภ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
9 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
ถัดไปอภัย จันทวิมล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449
จังหวัดเชียงใหม่
เสียชีวิต2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 (69 ปี)
พรรคการเมืองสหภูมิ
คู่สมรสอนงค์ อิศรภักดี
หม่อมหลวงบุปผา กุญชร
จินดา สุกัณศีล
ลายมือชื่อ

ประวัติ แก้

สุกิจ นิมมานเหมินท์ เกิดที่ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของหยี กับจันทร์ทิพย์ นิมมานเหมินท์[1] เข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนชัวย่งเส็งอนุกูลวิทยา ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย และโรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ (อสช 6368) ปริญญาตรีและปริญญาโทสาขาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตตมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยเดวิชแอนด์เอลมันส์ สหรัฐอเมริกา ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตตมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ชีวิตครอบครัวได้สมรสครั้งแรกกับอนงค์ อิศรภักดี[1] มีบุตรด้วยกันสามคนได้แก่ อรสา, อุสุม และอัศวิน แต่ภายหลังได้หย่ากันสุกิจจึงสมรสครั้งที่สองกับหม่อมหลวงบุปผา นิมมานเหมินท์ (ราชสกุลเดิม: กุญชร)[4] นักเขียนชาวไทย เจ้าของนามปากกา "ดอกไม้สด" แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน ครั้นหม่อมหลวงบุปผาเสียชีวิต จึงสมรสครั้งที่สามกับจินดา สุกัณศีล มีบุตรชายคนเดียวคือกฤดา นิมมานเหมินท์[5]

การทำงาน แก้

ศ.สุกิจ นิมมานเหมินท์ เริ่มรับราชการในสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกพฤฒิสภา และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 เป็นสมัยแรก และได้รับเลือกตั้งอีก 2 ครั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2500[6] ในสังกัดพรรคสหภูมิ[7][8][9]

นอกจากนี้ยังได้รับตำแหน่งในทางการเมืองหลายตำแหน่ง อาทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ครม.23[10], ครม.24[11]) กระทรวงเศรษฐการ[12] กระทรวงศึกษาธิการ และรองนายกรัฐมนตรี

สุกิจ นิมมานเหมินท์ เคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารเพื่อการอุตสาหกรรม ซึ่งจัดตั้งตามพระราชบัญญัติธนาคารอุตสาหกรรม พ.ศ. 2495[13]

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

สุกิจ นิมมานเหมินท์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ณ วัดธาตุทอง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "สุกิจ นิมมานเหมินท์ : หัวหน้าพรรคสหภูมิ". เดลินิวส์. 1 Jan 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-27. สืบค้นเมื่อ 10 Apr 2016.
  2. ย้อนเหตุการณ์ที่เชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-02. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  5. "ประวัติศาสตราจารย์สุกิจ นิมมานเหมินท์". มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 10 Apr 2016.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
  7. นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 2551[ลิงก์เสีย]
  8. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  9. สังกัดพรรคสหภูมิ
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  11. ประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรีชั่วคราว (รัฐบาลชั่วคราว ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
  12. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
  13. กระทู้ถามที่ ส. ๕/๒๕๐๑ ของนายทองดี อิสราชีวิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยุบเลิกกิจการธนาคารอุตสาหกรรม
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๓ ง หน้า ๔๒, ๗ มกราคม ๒๕๐๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๔๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๒๐ ง หน้า ๔๘๕, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๔
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๙๔ ง หน้า ๒๓๗๗, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๑๔
ก่อนหน้า สุกิจ นิมมานเหมินท์ ถัดไป
เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
(21 กันยายน 2500 – 20 ตุลาคม 2501)
  สุนทร หงส์ลดารมภ์