สุวิทย์ ยอดมณี
สุวิทย์ ยอดมณี (เกิด 25 สิงหาคม พ.ศ. 2485) เป็นนักการเมืองและนักวิชาการชาวไทย กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันพระปกเกล้า[1] กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ[2] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในรัฐบาลของ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์[3] โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
สุวิทย์ ยอดมณี | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | ประชา มาลีนนท์ |
ถัดไป | วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ |
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | มีชัย วีระไวทยะ |
ถัดไป | หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2485 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี |
ประวัติ
แก้สุวิทย์ ยอดมณี เกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2485 เป็นบุตรของนายอุดม กับนางสายสวาท ยอดมณี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2506 ระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2512 จากมหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก (เกียรตินิยม) สาขาการพัฒนาชุมชน จาก สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ในปี พ.ศ. 2515
นอกจากนี้ยังสำเร็จการศึกษาหลักสูตรชั้นนายร้อยทหารราบ รุ่นแรกของศูนย์การทหารราบลพบุรี 1 และหลักสูตรจู่โจม รุ่น 13 จากศูนย์สงครามพิเศษลพบุรี 1
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี นายกสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 (สกุลเดิม กิตติขจร) บุตรสาวของจอมพลถนอม กิตติขจร กับท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ นายสุวงศ์ ยอดมณี[4] ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย และร้อยตรี จักรา ยอดมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์[5]
การทำงาน
แก้เริ่มรับราชการตำแหน่ง อาจารย์เอก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ระหว่างปี พ.ศ. 2510-2512 จากนั้นในปี พ.ศ. 2515 จึงมารับราชการในตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) และเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2521-2523
ในปี พ.ศ. 2531 ในรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้รับตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2533 จากนั้นก็ได้ทำงานในหน่วยงานต่างๆ อาทิ รองอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ผู้อำนวยการโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ผู้อำนวยการบริหารศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาสถาบันพระปกเกล้า
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[9]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/D/057/T_0012.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/133/7.PDF
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ กรมโรงงานฯ จับมือ สกพอ. ประชุมเตรียมความพร้อม MOU ส่งมอบภารกิจการขออนุญาตตั้งโรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC)
- ↑ เช็กมติ ครม. 2 เมษายน 2567 ไฟเขียวแต่งตั้ง-โยกย้าย ครบทุกตำแหน่ง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๙๙, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๙, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๘, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๓๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๙ ตุลาคม ๒๕๓๕
ก่อนหน้า | สุวิทย์ ยอดมณี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
มีชัย วีระไวทยะ | โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533) |
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล |