อุดม โปษะกฤษณะ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อุดม โปษะกฤษณะ (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เลขาธิการแพทย์อาสาในสมเด็จพระศรีนครินทรบรมราชชนนี
อุดม โปษะกฤษณะ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ตุลาคม 2516 – 14 กุมภาพันธ์ 2518 | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ |
ถัดไป | คล้าย ละอองมณี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 |
เสียชีวิต | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 (86 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิงมัทนี โปษะกฤษณะ |
ประวัติ
แก้อุดม โปษะกฤษณะ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453[1] เป็นบุตรของพระยาเกษตรรักษา (เจียง โปษะกฤษณะ) กับคุณหญิงแช่ม เกษตรรักษา ได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกฝรั่งเศส จนจบหลักสูตรชั้น 8 เมื่อ พ.ศ. 2470 แล้วจึงศึกษาต่อ ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์[2] ต่อจากนั้นจึงได้เข้าเรียนเตรียมแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน)
การทำงาน
แก้เมื่อ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2488 เข้ารับราชการในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลในตำแหน่งอาจารย์ประจำแผนกศัลยศาสตร์ เป็นศาสตราจารย์ หัวหน้าภาควิชา ตั้งแต่มกราคม พ.ศ. 2499 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2514 เป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2597 ถึง 19 กันยายน พ.ศ. 2510 ครั้งที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2513 ถึง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516[3] และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขระหว่าง พ.ศ. 2516 ถึง พ.ศ. 2518 ในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์[4][5] นอกจากนี้ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นวุฒิสภาไทย ชุดที่ 4[6]เลขาธิการแพทย์อาสาในสมเด็จพระศรีนครินทร์ ๒๕๑๘-๒๕๒๔
ครอบครัว
แก้ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อุดม โปษะกฤษณะ สมรสกับคุณหญิงมัทนี โปษะกฤษณะ
นายแพทย์ อุดม โปษะกฤษณะ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2540
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2512 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2511 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[9]
- พ.ศ. 2510 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[10]
- พ.ศ. 2499 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[11]
เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เยอรมนี :
- พ.ศ. 2516 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นกางเขนมหาเกียรติคุณ
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อุดม โปษะกฤษณะ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-22.
- ↑ นายแพทย์อุดม โปษะกฤษณะ นักเรียนเก่า ที่มีชื่อเสียง โรงเรียนเทพศิรินทร์
- ↑ "รายนามคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-22. สืบค้นเมื่อ 2015-06-22.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 33 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-06-22.
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 34 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2015-06-22.
- ↑ "วุฒิสภาชุดที่ ๔ (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๑๘)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2018-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๙๗ ง หน้า ๒๗๒๘, ๑๐ ตุลาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๕ ง หน้า ๑๒๔, ๘ มกราคม ๒๕๐๐
ก่อนหน้า | อุดม โปษะกฤษณะ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518) |
คล้าย ละอองมณี |