อัมพร จินตกานนท์
พลโท อัมพร จินตกานนท์ (พ.ศ. 2456 - พ.ศ. 2531) เป็น กรรมการเจ้าหน้าที่ควบคุมและตรวจข่าวโฆษณาทางหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ ตามประกาศ คณะบริหารประเทศชั่วคราว ฉบับที่ 4 คณะบริหารประเทศชั่วคราว[1] ในเหตุการณ์ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494 ผู้มีชื่อเสียงในช่วง พ.ศ. 2500-2520 ในฐานะเป็นนักการเมืองคนสำคัญในกลุ่มของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พลโทอัมพร จินตกานนท์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม[2] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เลขาธิการบริหารของนายกรัฐมนตรี[3] และนอกจากนี้พลโทอัมพร ยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งธนาคารทหารไทยด้วย[4]
อัมพร จินตกานนท์ | |
---|---|
เลขาธิการบริหารนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – พ.ศ. 2506 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพลถนอม กิตติขจร |
ถัดไป | สงวน จันทรสาขา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พ.ศ. 2456 |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2531 |
คู่สมรส | คุณหญิงรุจี จินตกานนท์ |
ประวัติ
แก้พลโท อัมพร จินตกานนท์ เป็นบุตรของพระยาอรรถวิรัชวาทเศรณี (ปลั่ง จินตกานนท์) และคุณหญิงจำรัส อรรถวิรัชวาทเศรณี มีพี่น้อง 5 คน คือ
1 พลโท อัมพร จินตกานนท์
2 นางสาว อำพัน จินตกานนท์
3 นาย อำพล จินตกาานนท์
4 นางสาว อัมโพช จินตกานนท์
5 พันเอก อัมพุช จินตกานนท์
และ เป็นพี่ชาย ต่างมารดาของ นาย อนันต์ จินตกานนท์ สมาชิกเสรีไทย และนักการทูตที่มีชื่อเสียง นายเอนก จินตกานนท์ และนางอนงค์ เนตรมาน ที่เกิดกับคุณหญิงพิกุล
พลโท อัมพร สมรสกับ คุณหญิงรุจี จินตกานนท์ (สกุลเดิม สิริวิสูตร) มีบุตร-ธิดา 3 คน ได้แก่
- ร.ท.หญิง รุจิราภรณ์ จุณณานนท์ สมรสกับ บดี จุณณานนท์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
- พล.ต.อมรรัตน์ จินตกานนท์ สมรสกับ 1. นางชดช้อย พงศ์ไพโรจน์ 2. นางหรรษา จินตกานนท์ (บุปผเวส) - (ถึงแก่อนิจกรรมพร้อมภรรยาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์)
- ร.ท.ปภัสสร จินตกานนท์ สมรสกับ พล.ต.หญิง เรวดี จินตกานนท์ (สิทธิเดชะ)
ในปี พ.ศ. 2523 พลโท อัมพร ป่วยด้วยเส้นเลือดในสมองแตก ทำให้ต้องนอนเป็นเจ้าชายนิทรา (มีฟื้นมาบ้างเป็นระยะสั้นๆ) จวบจนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2531 และได้รับพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2532[5]
พลโท อัมพร เป็นชาวจังหวัดตราดที่มีบทบาทในการสนับสนุนด้านการสาธารณสุขของจังหวัดตราด โดยบริจาคทรัพย์ในการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลตราด[6]
สถานที่
แก้- โรงเรียนอัมพรจินตกานนท์ ตำบลหนองบอน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2504 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2510 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2487 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[11]
- พ.ศ. 2506 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[12]
- พ.ศ. 2495 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/D/071/12.PDF
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี
- ↑ ธนาคารทหารไทยยุคเติบใหญ่อย่างก้าวร้าวจากธนาคารซ้ายหันขวาหันมาเป็นมืออาชีพ
- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทอัมพร จินตกานนท์ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว.
- ↑ ประวัติโรงพยาบาลตราด
- ↑ "โรงเรียนอัมพรจินตกานนท์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-04. สืบค้นเมื่อ 2020-08-06.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ ๑๘, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๕๐, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๕๓ ง หน้า ๑๔๔๙, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙๖, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๕