กฤช ปุณณกันต์

พลเอก กฤช ปุณณกันต์ (12 ธันวาคม พ.ศ. 2455 - 17 เมษายน พ.ศ. 2528) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ในรัฐบาลนายพจน์ สารสิน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร และอดีตผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า

พลเอก
กฤช ปุณณกันต์
ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม – 20 ตุลาคม 2501
นายกรัฐมนตรี จอมพล ถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้า พลเอก หลวงสวัสดิ์กลยุทธ์ (สวัสดิ์ ไกรฤกษ์)
ถัดไป บุณย์ เจริญไชย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน – 26 ธันวาคม 2500
นายกรัฐมนตรี พจน์ สารสิน
ก่อนหน้า พลอากาศโท เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร
ถัดไป ชื่น ระวิวรรณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 12 มีนาคม พ.ศ. 2456
เสียชีวิต 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 (72 ปี)
พรรค สหประชาไทย
คู่สมรส คุณหญิงผุสดี ปุณณกันต์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้  ไทย
สังกัด กองทัพบกไทย
ประจำการ พ.ศ. 2474 - พ.ศ. 2515
ยศ RTA OF-9 (General).svg พลเอก

ประวัติแก้ไข

พล.อ.กฤช เป็นบุตรของร้อยเอก หลวงพลวินัยกิจ (อำไพ ปุณณกันต์) และเป็นพี่ชายของพลเอก พงษ์ ปุณณกันต์ เคยเป็นอดีตผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า

พล.อ.กฤช ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแต่งตั้ง ในปี พ.ศ. 2494 (สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 6)[1] ถึงสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 8[2] พ.ศ. 2500

พล.อ.กฤช ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ในรัฐบาลนายพจน์ สารสิน ในปี พ.ศ. 2500[3] และลาออกพร้อมกันทั้งคณะรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จากนั้นเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร

พล.อ.กฤช เป็นอดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2506 - พ.ศ. 2516[4]

ในปี พ.ศ. 2511 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 3[5] ต่อมาได้เข้าร่วมจัดตั้งและเป็นเป็นกรรมการบริหารพรรคสหประชาไทย ซึ่งมีจอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าพรรค[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-29. สืบค้นเมื่อ 2020-04-07.
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
  4. "รายชื่ออธิบดีกรมประชาสัมพันธ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-12-11. สืบค้นเมื่อ 2020-04-07.
  5. วุฒิสภาไทย ชุดที่ 3
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสหประชาไทย) เล่ม 85 ตอน 117 ง พิเศษ หน้า 3375 10 ธันวาคม พ.ศ. 2511
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๔๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘๓๖, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕๘๘, ๙ ธันวาคม ๒๔๘๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  12. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๗, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๙๒๗, ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๙
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๑๗ ง หน้า ๔๒๙, ๒๖ มีนาคม ๒๔๘๙
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๑๓ ง หน้า ๕๔๘, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗