ประยุทธ จารุมณี
ระวังสับสนกับ ประยุทธ์ จันทร์โอชา
พลเอก ประยุทธ จารุมณี (22 มิถุนายน 2465 - ) เป็นผู้บัญชาการทหารบกลำดับที่ 23 ระหว่าง 26 สิงหาคม พ.ศ. 2524 - 30 กันยายน พ.ศ. 2525
พลเอก ประยุทธ จารุมณี ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. | |
---|---|
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 26 สิงหาคม พ.ศ. 2524 – 30 กันยายน พ.ศ. 2525 | |
ก่อนหน้า | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
ถัดไป | พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2465 (98 ปี) |
บิดา | พันตำรวจตรี หลวงจรชายสมุทร (หิศร์ จารุมณี) |
มารดา | ขอม จารุมณี |
คู่สมรส | หม่อมราชวงศ์ มาลีพันธ์ จารุมณี |
บุตร | พลเอก สุทัศน์ จารุมณี |
ศาสนา | พุทธศาสนา |
การเข้าเป็นทหาร | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | ![]() |
บังคับบัญชา | กองทัพบกไทย |
ประวัติแก้ไข
- พลเอก ประยุทธ จารุมณี เป็นบุตร พันตำรวจตรี หลวงจรชายสมุทร (หิศร์ จารุมณี) และนางขอม ภริยาชื่อ หม่อมราชวงศ์มาลีพันธ์ จารุมณี
การศึกษาแก้ไข
- โรงเรียนสามัญ ที่โรงเรียนมัธยมหอวัง
- พ.ศ. 2483 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (โรงเรียนเทคนิคทหารบก)
- พ.ศ. 2493 โรงเรียนทหารช่างหลักสูตรชั้นนายร้อย
- พ.ศ. 2496 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 32
- พ.ศ. 2498 โรงเรียนนายทหารช่างสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2503 โรงเรียนเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2509 วิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ 7
- พ.ศ. 2513 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ชุดที่ 13
ประวัติรับราชการแก้ไข
- พ.ศ. 2505 ผู้ช่วยทูตทหารบกไทยประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงโตเกียว และเป็นหัวหน้านายทหารติดต่อประจำ บก.สหประชาชาติ กับรักษาราชการผู้ช่วยทูตทหารอากาศไทยประจำสถานเอกอัครราชทูตไทยกรุงโตเกียว
- พ.ศ. 2506 ผู้ช่วยทูตทหารบกไทยประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโซล (โซล) ประเทศเกาหลี
- พ.ศ. 2508 รองเจ้ากรมข่าวทหารบก
- พ.ศ. 2513 ผู้ชำนาญการกองทัพบก และรักษาราชการ รองเจ้ากรมข่าว ทหารบก
- พ.ศ. 2515 เจ้ากรมข่าวทหารบก
- พ.ศ. 2518 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายข่าว
- พ.ศ. 2521 รองเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2522 เสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2524 รองผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ. 2524 ผู้บัญชาการทหารบก
ราชการพิเศษแก้ไข
- พ.ศ. 2502 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
- พ.ศ. 2515 สมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติ
- พ.ศ. 2519 สมาชิกสภาปฏิรูปปกครองแผ่นดิน
- พ.ศ. 2520 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พ.ศ. 2522 นายทหารพิเศษประจำกรมทหารช่างที่ ๓ รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2522 สมาชิกวุฒิสภา
- พ.ศ. 2523 นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2524 สมาชิกวุฒิสภา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
พลเอก ประยุทธ จารุมณี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้
- พ.ศ. 2524 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2520 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2526 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[2]
- พ.ศ. 2506 - เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)
- พ.ศ. 2523 - เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้น 1 (ส.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
ผลงานที่สำคัญแก้ไข
- ดำเนินงานต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ตามนโยบายที่ 66/2523 ที่ประกาศใช้ในสมัย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจในชนบท
- ขยายอัตรากองพันทหารช่างกองทัพขึ้นเป็นระดับกรมทหารช่าง
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 98 ตอนที่ 206ข วันที่ 17 ธันวาคม 2524
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 106 ตอนที่ 84 วันที่ 20 พฤษภาคม 2526