จิตติ นาวีเสถียร
พลเอก จิตติ นาวีเสถียร (19 มีนาคม พ.ศ. 2456 – 3 กันยายน พ.ศ. 2525) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุด, รัฐมนตรีช่วยว่าการหลายกระทรวง และราชองครักษ์เวร
จิตติ นาวีเสถียร | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 13 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2512 | |
ก่อนหน้า | ชื่น ระวิวรรณ |
ถัดไป | มนูญ บริสุทธิ์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
รัฐมนตรีว่าการ | ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ |
ถัดไป | พลเอก กฤษณ์ สีวะรา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 มีนาคม พ.ศ. 2455 อำเภอนางเลิ้ง จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม (ปัจจุบัน เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย) |
เสียชีวิต | 3 กันยายน พ.ศ. 2525 (69 ปี) |
คู่สมรส | จันทร์เพ็ญ วงศ์ลือเกียรติ |
บุตร | 4 คน |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2476 – พ.ศ. 2515 |
ยศ | พลเอก |
ผ่านศึก | กรณีพิพาทอินโดจีน สงครามมหาเอเซียบูรพา |
ประวัติ
แก้ชีวิตส่วนตัว
แก้พลเอก จิตติ นาวีเสถียร[1] เกิดวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2455 (นับแบบปัจจุบันคือปี พ.ศ. 2456) เป็นบุตรของเสวกโท พระยานาวีวราสา (ยืน นาวีเสถียร) และคุณหญิงแดง นาวีวราสา
จิตติ นาวีเสถียร สมรสกับคุณหญิงจันทร์เพ็ญ นาวีเสถียร (สกุลเดิม คือ วงศ์ลือเกียรติ) และบุตรทั้งหมด 4 คน คือ
- พลเอก จิระ นาวีเสถียร
- จวนจันทร์ ศิริถาพร
- พลเอก พัฒนชัย นาวีเสถียร
- พลตรี วีระพัฒน์ นาวีเสถียร
การศึกษา
แก้พลเอก จิตติเป็นนักเรียนนายร้อย เลขประจำตัว 3923 เมื่อปี พ.ศ. 2472 และศึกษาวิชาทหาร ดังนี้[1]
- พ.ศ. 2484 : โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ฝ่ายเสนาธิการ ชุดที่ 25
- พ.ศ. 2501 – พ.ศ. 2502 : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร กรมเสนาธิการกลาโหม ชุดที่ 1
ในปี พ.ศ. 2513 พลเอก จิตติ ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขากสิกรรมสัตวบาล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การทำงาน
แก้ราชการทหาร
แก้- 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 – เสนาธิการ กองพลที่ 1
- 1 ธันวาคม พ.ศ. 2494 – เสนาธิการ กองทัพภาคที่ 1
- 6 ธันวาคม พ.ศ. 2497 – เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบก
- 1 มกราคม พ.ศ. 2503 – เสนาธิการทหารบก
- 11 ตุลาคม พ.ศ. 2506 – รองผู้บัญชาการทหารบก
- 11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ราชการพิเศษ
แก้- 16 มีนาคม พ.ศ. 2503 – นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
- 13 มีนาคม พ.ศ. 2505 – นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- ประธานกรรมการบางกอกสหประกันภัย
- ประธานกรรมการองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
- ประธานกรรมการธนาคารมหานคร
- กรรมการองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป
- กรรมการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- กรรมการธนาคารนครหลวงไทย
- กรรมการธนาคารทหารไทย
- กรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย
- กรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- กรรมการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
- กรรมการวิทยุการบินแห่งประเทศไทย
- กรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทย
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้พลเอก จิตติ นาวีเสถียร ถึงแก่อนิจกรรมดวยโรคตับวายเฉียบพลัน ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2525 เวลา 21:00 น. สิริอายุ 69 ปี 171 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พลเอก จิตติ นาวีเสถียร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2504 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2503 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.)[5]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[6]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[7]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[8]
- พ.ศ. 2504 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[9]
- พ.ศ. 2488 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[10]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 3 (อ.ป.ร.3)[11]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[12]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ลาว :
- พ.ศ. 2499 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาว ชั้นที่ 2[13]
- ไต้หวัน :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องอิสริยาภรณ์ยุนฮุย ชั้นที่ 1[14]
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2505 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา[15][16]
- พ.ศ. 2507 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา (ดวงที่ 2)[17]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 (2525). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก จิตติ นาวีเสถียร ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. 19 ธันวาคม 2525. ธนาคารทหารไทย จำกัด.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รามาธิบดี, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๔๔๕, ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๒๐, ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๔๕, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๑๒๓๒, ๔ กรกฎาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๑๔๗๔, ๒ ตุลาคม ๒๔๘๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๘, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๓๐๔๐, ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๔๗๓, ๒๖ มิถุนายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๑๕๑๖, ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๙๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๒๒๕๒, ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๕
- ↑ AGO 1962-55 — HQDA GENERAL ORDER: AWARDS
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๒๒๓๔, ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๕
- ↑ AGO 1964-07 — HQDA GENERAL ORDER: AWARDS